Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง - Coggle Diagram
ความผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง
ลักษณะทั่วไปของความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
ความหมายของการกระทำ
ผู้ใด หมายถึงมนุษย์แล้ว จึงรวมถึงบุคคลทุกชนิด ไม่ว่าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต ตามมาตรา429 วางหลักไว้ว่า บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนกระทำละเมิด
การที่จะถือว่าผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตว่ามีการกระทำหรือไม่ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ว่ามีความเคลื่อนไหวโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวหรือไม่ ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนเองก็ย่อมไม่ถือว่ามีการกระทำ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ถือว่าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตที่ว่านั้นได้กระทำละเมิดอันจะต้องรับผิดตามมาตรา420,429 แต่ประการใด
การงดเว้นไม่กระทำ
1.หน้าที่ตามกฎหมาย
สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลทออุปการะเลี้ยงดูกัน(ม.1461) บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา (1563) บิดามารดาต้องต้องเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้(1564) ถ้าไม่อุปการะเลี้ยงดูตามที่สมควรรับการเลี้ยงดูจนทำให้เกิดความเสียหาย ย่อมเป็นการละเมิดซึงเกิดจากการงดเว้นการกระทำของผู้มีหน้าที่
ฎ.881/2495 จำเลยเป็นนายอำเภอ ไม่จดทะเบียนการซื้อขายที่ดินให้ตามที่โจทย์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ร้องขอ ย่อมเป็นการละเมิด
ตามผฎีกานี้ การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเป็นหน้าที่ของนายอำเภอตามกฎหมายกรณีจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนให้โจทย์ จึงเป็นการการงดเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายบังคับจึงเป็นละเมิด
2.หน้าที่ตามสัญญา
คือหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหทายระหว่างคู่สัญญา
เช่น มีสัญญาจ้างแพทย์รักษาโรค แต่แพทย์ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันเกิดจากสัญญาคือไม่ยอมรัษา เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเขา ย่อมเป็นการงดเว้น จึงเป็นทั้งการผิดสัญญาและละเมิด
3.หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจิงซึงผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
ที่ว่าหน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายได้แก่กรณีบุคคลที่อยู่ในฐานะอันสามารถควบคุมสิ่งของหรือบุคคลใดเพื่อความปลอดภัยของบุคคลอื่นย่อมมีหน้าที่ต้องทำการตามสมควรเพื่อความปลอดภัยของบุคคลอื่น
เช่น แขกผู้คุ้นเคยมาเยี่ยม เจ้าของบ้านก็ต้องจัดเก้าอี้ที่แขกจะนั่งให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ชำรุดเพื่อต้อนับแขก
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
1.จงใจ
หมายถึงกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน
เช่น ฎ.1053/2521 จำเลยซึ่งเป้นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าร้านค้าของโจทย์เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินในร้าน โจทย์นำสืบไม่ได้ว่าเจ้าหนี้จงใจทำให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นละเมิด
2.ประมาทเลินเล่อ
หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามที่สมควรใช้รวมถีงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วย
เช่น ฎ.1443/2519 รถยนต์ที่ออกจากถนนที่มีป้ายจราจรให้หยุดปักอยู่ก่อนจะออกรถไป ต้องดูว่าเป็นการปลอดภัยเสียก่อน เมื่อขับออกไปโดยไม่ดูให้ปลอดภัยก่อนและชนกับรถที่ขับมาช้าๆเหมาะสมกับเหตุการณ์ รถคันแรกประมาทฝ่ายเดียว
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
โดยผิดกฎหมายนั้น ถ้ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง กรณีที่เห็นได้ชัดก็คือ กฎหมายอาญาบัญญัติว่าการกระทำอันใดเป็นความผิด ดั้งนี้ ก็ย่อมเป็นการกระทกำผิดกฎหมายอย่างไม่มีปัญหา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 วางหลักไว้ว่า ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือมาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ฉะนั้นการที่บุคคลใดกระทำการดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยกฎหมาย
1.การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เมื่อมีสิทธิแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะใช้อย่างไรก็ได้ตามใจชอบ การใช้สิทะฺอาจถือว่าเป็นการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
มาตรา421 การใช้สิะิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ถือว่าเป็นการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
ฎ.116-1170/2509 การที่รถยนต์จำเลยแล่นเข้าไปชนรถยนต์โจทก์ทางด้านขวาของถนน เบื้องต้นศาลสันนิษฐานว่ารถยนต์จำเลยเป็นผู้ผิด จำเลยมีหน้าที่ต้องจำสืบหักล้างว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้ผิด
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ
ความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ย่อมหมายถีงความเสียหายแก่สิทธิของบุคคลทั้งสิ้น เพราะบุคคลย่อมมีสิทธิในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ และทัพย์สิน ฉะนั้นที่ว่าทำต่อบุคคล นั้น หมายความว่าทำต่อสิทธิของบุคคล
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิ คือ ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
ตัวอย่าง สิทธิที่จะใช้ทางสาธารณะ ผู้ใดมากีดขวางย่อมเป็นละเมิด (ฎ.1095/2500,1138-1139/2501,427/2508,949/2509,640/2510
ขุดลำรางชิดกับคันนาร่วมโดยไม่เว้นที่ว่างไว้ แม้คันนาร่วมจะไม่พังทะลายลง ก็เป็นละเมิดสิธิของโจทก์ที่มีอยู่ในคันนาร่วมในฐานะที่เป็นเขตที่ดินตามมาตรา (ฎ.544/2516)
ผู้ให้เช่าปิดกั้นมิให้คนเข้าร้านที่โจทก์เช่าสถานที่ทำเป็นร้านค้า ทำให้โจทก์เสียหายเป็นละเมิด (ฎ.194/2518)
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหาอันเป็นมูลความรับผิดทาละเมิดนั้น อาจเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หรือไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ เราต้องระวังให้ดีว่าจะต้องไม่นำไปปะปนกับกรณีที่มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องเยียวยาค่าสินไหมทดแทนกันภายหลัง
ตัวอย่าง ก.ชกต่อย ข. แต่ไม่บาดเจ็บ ไม่จำเป็นที่ ข. ต้องรักษา เป็นความเสียหายที่อันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
ก. จับ ข. เอาไปกักขังอันเป็นการกระทำต่อเขาทำให้เสียหายในเสรีภาพ ย่อมเป็นความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน แต่ถ้า ข. หนีออกมา ต้องเสียค่าพาหนะในการหลบหนีกลับมาบ้าน ย่อมเป็นความเสียหายที่เป็นตัวเงินได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
1.ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถือว่าหากปรากฎว่าถ้าไม่มีการกระทำดังกล่าวหาแล้ว ผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้นจะไม่มีความเสีหายที่กล่าวอ้าง ผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ถูกกล่าวหาผลอันใดอันหนึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากเหตูหลายประการ
ตัวอย่าง ก. ทำร้ายร่างกาย ข. โดยเตะที่ท้องเบาๆปรากฎว่า ข. มีโรคประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง ข.อาจตายได้ แต่ ก. ไม่ทราบมาก่อน ข.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ความตายของ ข. เป็นผลมาจากการกระทำของ ก. แม้ ก. จะไม่รู้ว่า ข. เป็นโรคดังว่านั้น คิดแต่เพียงว่า ข. อาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น แต่ ก. ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข.
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ในแง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดๆแล้ว เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
ฎ.1898/2518 ลูกจ้างจำเลยขับรถชนโจทก์ ยางที่โจทก์รับจ้างขับรถรบรรทุกมาในรถ ถูกคนลักไป เป็นผลโดยตรง จำเลยต้องรับผิด
หมิ่นประมาททางแพ่ง การพิพากษาคดี และการร่วมกันกระทำละเมิด
1.หมิ่นประมาททางแพ่ง
มตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
มาตรานี้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของตนเองอีกลักษณะหนึ่ง ที่จริงเป็นการกระทำต่อบุคคลอื่นให้เขาเสียหายในสิทธินั่นเอง คือสิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ ดังมาตรา420
ตัวอย่าง ฎ. 939/2478 ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกัน จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนคำหนึ่งประกาศทางหนังสือพิมพ์ว่าเลิกกันแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเสียหาย จำเลยต้องรับผิดตามมาตรา423
2.การพิพากษาคดี
มาตรา424 ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่
มาตรา 424 นี้หมายความว่า บุคคลที่ถูกฟ้องทั้งคดีส่วนแพ่งและอาญาในเรื่องเดียวกัน การพิพากษาคดีส่วนแพ่งนั้น ศาสลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46) และคู่ความที่จะผูกพันโดยข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยแล้วนั้น ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วย
มาตรานี้รับกันกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่
ตัวอย่าง ฎ. 1229/2498 ศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญา เพราะจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดิน ไม่ได้ชี้ว่าเป็นที่ดินของใคร โจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้ศาลวินิจฉัยแสดงกรรมสิทธิ์มิให้จำเลยเกี่ยวข้องได้
3.การร่วมกันกระทำละเมิด
มาตรา432 ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น
ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
การร่วมกันทำละเมิดต้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกัน และจะต้องมีการกระทำร่วมกันเพื่อความมุ่งหมายร่วมกันด้วย คือ ต้องมีทั้งเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและการกระทำร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างมีเจตนา หรือความมุ่งหมายของตัวเองหรือต่างคนต่างทำเท่านั้น
ตัวอย่าง ฎ.767/2478 ผู้ที่ยักยอกทรัพย์ของโจทย์ไปขายกับผู้ที่รัยซื้อทรัพย์ของโจทก์ไว้ ต้องร่วมกันรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์
ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกันกระทำละเมิด
กรณีที่บุคคลหลายคนได้ร่วมกันกระทำละเมิดกฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทำมิได้ดูผลแห่งความเสียหายว่าแยกกันได้หรือไม่ แม้หากจะไม่รู้ว่าผู้ร่วมกันทำละเมิดนั้น ผู้ใดทำอะไรลงไปบ้าง หรือผู้ใดทำให้เสียหายมากน้อยเพียงใด ทุกๆคนต้องรับผิดร่วมกัน ในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนความเสียหาย