Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
tsctngay26thang5-01_loez+
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle…
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ละเมิดคือ การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เขา (ผู้ถูกกระทำ)เสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีกฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น (มาตรา 420)
-
-
-
ตัวอย่างเช่น นายกัก ขับรถยนต์ไปในถนนที่มีคนเดินจอแจด้วยความเร็วและไม่ได้ให้สัญญาณแตรแล้วเฉี่ยวชนถูกคนเดินถนนได้รับบาดเจ็บดังนี้ถือว่า นายกักกระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ
3) ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
โดยปกติผู้กระทำต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตนแต่อย่างไรก็ดีในเรื่องละเมิดถ้าได้มีการกระทำละเมิดร่วมกันหรือแม้มิได้ร่วมแต่เป็นผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิดดังนี้บุคคลเหล่านี้จะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้น (มาตรา 432)
ในบางกรณีแม้จะไม่ได้ร่วมกระทำละเมิดหรือยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิดแต่กฎหมายบัญญัติให้ต้องร่วมผิดกับผู้ละเมิดได้แก่กรณีต่อไปนี้
1)นายจ้างจะต้องรับผิดชอบกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่นายจ้างนั้น (มาตรา 432)
เรื่องนายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำในทางการที่จ้างนี้มีกรณีที่ผู้เสียหายพึงต้องระมัดระวังคือ อย่าตัดสินใจประนีประนอมยอมความกับลูกจ้างเพราะถ้าประนีประนอมยอมความกับลูกจ้างไปแล้วหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดก็ระงับสิ้นไปเพราะสัญญาประนีประนอมยอมความเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาอันเป็นเหตุให้นายจ้างพ้นจากความรับผิดผู้เสียหายจะต้องฟ้องนายจ้างให้ร่วมรับผิดในมูลหนี้ละเมิดก็ไม่ได้เพราะหนี้ละเมิดระงับไปแล้วจะฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประนีประนอมก็ไม่ได้ เพราะนายจ้างมิได้เป็นคู่สัญญาถ้าลูกจ้างไม่มีทรัพย์สินจะชำระหนี้ ผู้เสียหายก็สูญเปล่าจึงเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งทางแก้ในเรื่องนี้ต้องให้นายจ้างตกลงเป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความร่วมกับลูกจ้างโดยมีบุคคลค้ำประกันการปฎิบัติตามสัญญาด้วย
-
3)บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วกลจริตจะต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตกระทำเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว (มาตรา 429 )
4)ครูอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราวจะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร (มาตรา 430)
5)เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายอันเกิดจากสัตว์ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น (มาตรา 433)
อนึ่งการกระทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายนี้ มีหลักในการวินิจฉัยความรับผิดว่าให้พิจารณาว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดกฎหมายหรือไม่และความเสียหายเกิดจากการกระทำผิดนั้นหรือไม่ถ้าบุคคลนั้นทำผิดกฎหมายและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายบุคคลนั้นก็ต้องรับผิดจากฐานละเมิด
ตัวอย่างเช่นจำเลยแจ้งให้กำนันจับรถยนต์บรรทุกของโจทย์ยึดไว้ 39 วันโดยจำเลยหาว่านางเน้ยเป็นคนร้ายลักข้าวที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ของโจทย์ทั้งๆที่คนรถของโจทย์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วว่ารถคันนี้เป็นของโจทย์เพียงแต่มารับจ้างไม่เกี่ยวข้องกับข้าวเปลือกที่จำเลยกับนายเน้ยโต้เถียงสิทธิกันขออย่ายึดรถไว้ จำเลยไม่ยอมกลับแจ้งให้กำนันยึดรถของโจทย์ไว้ ศาล
ความรับผิดเพื่อการกระทำของตนเอง ผู้ใดก่อความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ย่อมต้องรับผิดชอบเยียวยาให้ผู้เสียหายได้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยวิธีการที่เหมาะสม การกระทำละเมิดต้องมีลักษณะดังนี้
ก) จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ฉะนั้นถ้าเป็นการกระทำที่ละเมิดระวังเต็มที่แล้ว ย่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นอีก ก็ไม่ต้องรับผิด เช่น พนักงานเสิรฟ์อาหารในภัตราคารกำลังยกอาหารร้อนจัดไปให้ลูกค้า ด้วยความระมัดระวังเต็มที่ ขณะนั้นลูกค้าคนหนึ่งรีบเดินเข้ามาไม่ทันเห็น จึงชนชามซุปหกลาดบนขาของตนเอง ได้รับบาดเจ็บ กรณีเช่นนี้ผู้ได้รับบาดเจ็บเรียกร้องฐานละเมิดไม่ได้
ข) ผิดกฏหมาย โดยปกติกฏหมายได้คุ้มครองชีวิตร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของบุคคลไว้อยู่แล้ว การกระทำต่อสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีอำนาจถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย
ค) กระทำต่อสิ่งที่กฏหมายคุ้มครอง คือ ชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรรัพย์สินหือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ถ้ากระทำต่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
ง) เกิดความเสียหาย ละเมิดนั้นต้องการเยียวยาความเสียหานที่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีความเสียหายก็ไม่มีอะไรต้องเยียวยา เช่น คนขี่รถจักรยานประมาทเลินเล่อ พุ่งเข้าชนรถบรรทุก รถจักยานพัง และผู้ขี่ได้ รับบาดเจ็บ รถบรรทุกไม่เสียหายใด ๆ ลักษณะเช่นนี้ เจ้าของรถบรรทุกไม่มีสิทธิฟ้องฐานละเมิด เพราะตนเองไม่มีความเสียหายใด ๆ จากการประมาทเลินเล่อของผู้อื่น
จ) มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ความเสียหายที่เกิดนั้นต้องสามารถคาดเห็นได้ ความเสียหายอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กฏหมายไม่รับรองที่จะเยียวยาได้
-