Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) กรณีศึกษา…
การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem Based Learning)
กรณีศึกษา “นายถุงชา”
1.ข้อมูลของผู้ป่วย และสาเหตุ
ที่สัมพันธ์กับปัญหาเรื่องโรคและการบำบัดรักษา
สาเหตุที่สัมพันธ์กับปัญหาเรื่องโรค
ความผิดปกของสารสื่อประสาทในสมอง
Dopamine
โดปามีน(Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่สร้างจากสารตั้งต้นไทโรซีนและกรดอะมิโนที่ได้จากอาหาร มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในเรื่องแรงจูงใจ ความใส่ใจ ความจำ การเคลื่อนไหว พฤติกรรมการตัดสินใจ การให้เหตุผล และการหยั่งรู้ในตนเองเซลล์ประสาทโดปามีนในสมองมี 3-4 ล้านเซลล์
Serotonin
ซีโรโตนิน(Serotonin) เป็นสารสื่อประสาทกลุ่มอินโดลลามีนที่สำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทสมองอย่างมาก มีความสัมพันธ์กับระบบต่างๆ ของร่างกาย สารตั้งต้น คือ ทริปโทแฟน(Tryptophan) ซึ่งได้รับจากอาหาร ตัวเซลล์ประสาทซีโรโตนินส่วนใหญ่อยู่ในสมองเหนือพอนส์ และสมองส่วนกลาง หน้าที่ของซีโรโตนิน คือ การควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย การนอนหลับ อารมณ์ ความอยากอาหาร การรับรู้ความเจ็บปวด การอาเจียน การปวดศีรษะแบบไมเกรน พฤติกรรมทางเพศ และความก้าวร้าว
จิตใจ
ความวิตกกังวลในระดับสูงเรื้อรังที่ไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลให้เกิดพยาธิสภาพของโรคจิต การใช้กลไกทางจิตป้องกันตนเองมากเกินไป การเผชิญภาวะเครียดแล้วไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อารมณ์เชิงลบที่รุนแรง เช่น ความเครียดหรือความโศกเศร้าสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเห็นภาพหลอนได้ง่าย
พันธุกรรม
หลักฐานจากการศึกษาส่วนใหญ่พบว่า ปัจจัยทางกรรมพันธุ์เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคจิตเภท ถึงร้อยละ 80 (Halter, 2018) ผลการศึกษาพบว่าญาติของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคจิตเภทสูงกว่าประชากรทั่วไป ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดมากยิ่งมีโอกาสสูง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้กรรมพันธุ์จะมีส่วนในการเกิดโรคจิตเภทแต่ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดโรคจิตเภท
การบำบัดรักด้วยยา
1.Benzhexol (5) 1 tab O h.s. : ใช้รักษา Parkinson’s ใช้รักษาอาการข้างเคียงจากการใช้ยา Haloperidol ภาวะ Acute dystonia
2.Lorazepam (2) 1 tab O p.r.n. : ใช้รักษา ลดความวิตกกังวล นอนไม่หลับที่มีสาเหตุจากความวิตกกังวล ระงับอาการชัก และใช้รักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาโรคจิต
3.Haloperidol 5 mg. IM p.r.n. for agitation q 6 hrs. : ใช้รักษา ภาวะสับสนเฉียบพลันหรืออาการเพ้อ (ในผู้สูงอายุ)
4.Haloperidol decanoate 50 mg. IM q 2 hrs. : ใช้รักษา ภาวะสับสนเฉียบพลันหรืออาการเพ้อ (ในผู้สูงอายุ)
5.Depakine CR (500) 1 tab x 2 O เช้า, h.s. : ใช้รักษาลมชักแบบทั้งสมอง
และแบบชักเฉพาะส่วน
6.Chlorpromazine (25) 1 tab O h.s. : ใช้รักษา โรคจิตชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังรวมทั้ง schizophrenia ใช้รักษา tetanus อาการสะอึก แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนในเด็ก
7.Clozapine (100) 1.5 tab O h.s. : ใช้รักษา ผู้ป่วย schizophrenia
ที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล
นายถุงชา อายุ 45 ปี มีอาการป่วยและรับการรักษาโรคทางจิตเวช ตั้งแต่อายุ 25 ปี มีประวัติรับการรักษาไม่ต่อเนื่องบางครั้งหยุดยาเอง หงุดหงิดง่ายทําร้ายร่างกายมารดาเพราะมารดาไม่ให้เงินไปใช้จ่าย ชกต่อยแม่ค้าในตลาดเพราะเห็นแม่ค้าเป็นทหารพม่า บอกว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดินไปเดินมาวุ่นวาย ไม่อาบน้ำ แยกตัว ญาตินำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา อาการดีขึ้นแพทย์จำหน่ายให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดูแลต่อเนื่อง ปัจจุบันอาศัยอยู่กับมารดาเพียงลําพัง แต่อยู่ในชุมชนเดียวกับพี่ชายและพี่สะใภ้
วันนี้พยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ออกไปเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการรักษา ภายหลังจากผู้ป่วยได้รับการจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
3.สมมติฐาน ที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตในโจทย์สถานการณ์(Scenario)
สาเหตุของปัญหา
1.คาดว่าเกิดจากพันธุกรรมเนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีบิดาป่วยเป็นโรคจิตเภท ซึ่งโรคจิตเภทส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมถึงร้อยละ 80
การที่ผู้ป่วยไม่ไปรับยาต่อเนื่อง รับประทานยาไม่สม่ำเสมอจึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอนและอาการหลงผิดกำเริบ
2 สัปดาห์ ก่อนมาโรงพยาบาล ญาติให้ประวัติว่าผู้ป่วยดื่มสุราทุกวัน ไม่ใช้สารเสพติดชนิดอื่น ๆ เดินไป เดินมาวุ่นวาย ไม่อาบน้ำ แยกตัว บอกว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
บุคคที่มีความเกี่ยวข้อง
มารดา อายุ 70 ปี เนื่องจากผู้ป่วยอาศัยอยู่กับมารดา มักจะทะเลาะกับมารดาอยู่เสมอ และทำร้ายร่างกายมารดาด้วยการชกต่อยโดยอ้างว่าหงุดหงิดเพราะมารดาไม่ให้เงินใช้จ่าย
แม่ค้าและคนในตลาด เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการหลงผิดและประสาทหลอนทำให้เห็นแม่ค้าเป็นทหารพม่า แคะคิดว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทำร้ายร่างกายแม่ค้าและใช้ขวานทำร้ายคนในตลาด
แพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยท้าตีท้าต่อยกับแพทย์ จะไปขอใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ป่วยทางจิตเวช
5.การวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยจิตเภทที่มีความผิดปกติของความคิดและการรับรู้
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากมีอาการหลงผิดและประสาทหลอน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 สัมพันธภาพระหว่างบุคคลในครอบครัวและผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากมีการแยกตัวจากสังคม
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 พร่องการดูแลตนเองด้านกิจวัตรประจำวันเนื่องจากเป็นผลมาจากการดำเนินของโรค
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 ขาดความร่วมมือในการบำบัดรักษาด้วยยาเนื่องจากไม่ยอมรับว่าตนเองป่วยทางจิต
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 5 มีการส่งเสริมที่ทำให้เกิดอาการกำเริบของโรคเนื่องจากการดื่มสุรา
6.วางแผนการพยาบาลโดยระบุการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิต จากกรณีศึกษา
เนื่องจากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการกำเริบหรือการป่วยใหม่ ดังนั้นผู้ป่วย และครอบครับ
จึงควรติดต่อรับยาที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ ควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
ที่จะไปลด หรือเพิ่ม หรือหยุดยากินเอง
ถ้าผู้ป่วยไม่ยอมกินยา ครอบครัวควรชักจูง โน้มน้าวให้ผู้ป่วยกินยา ถ้าไม่ได้ผลให้ปรึกษาแพทย์
ซึ่งแพทย์อาจ ให้ยาฉีดรักษาโรคจิตชนิดออกฤทธิ์ยาว (นาน 2-4 สัปดาห์) แทน
ครอบครัวควรกระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วยให้ทำงานตามกำลังและความสามารถที่มีอยู่ เพื่อฟื้นฟูความสามารถ ของผู้ป่วยให้กลับมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรให้ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ หรือมีเวลาว่างมากเกินไป
ควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยเหมือนคนปกติทั่วไป โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุย ระบายปัญหา เพื่อให้ผู้ป่วยและครอลครัวจะได้เข้าใจ
และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ครอบครัวควรสนับสนุนและให้กำลังใจผู้ป่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยการรับฟังปัญหาของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ และให้คําปรึกษาแนะนำ
ในกรณีที่ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมผิดปกติ (เช่น พูดคนเดียว เกิดอาการหลงผิด) ครอบครัวไม่ควรตกใจหรือกลัว ควรพยายามชักจูงให้ผู้ป่วยหันไปสนใจสิ่งอื่น ไม่ควรตำหนิติเตียนผู้ป่วย โดยเฉพาะถ้าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้รบกวนผู้ป่วย ควรเข้าใจว่าพฤติกรรมและอาการที่ผิดปกตินั้นเกิดจากโรค ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจทำและไม่สามารถหยุดการกระทำได้โดยง่าย
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเข้าสังคมกับคนทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจาก การพูดคุยกับคนในบ้านก่อน
ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยแยกตัวหรือเก็บตัวอยู่คนเดียว
ครอบครัวช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยอาบน้ำดูแลร่างกายของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยไม่ชอบอาบน้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพอนามัยที่ดี
ครอบครัวช่วยจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด มีแสงสว่างส่องเข้าถึง เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
ครอบครัวควรจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถใช้เป็นอาวุธให้มิดชิด
2.ระบุอาการความผิดปกติ/ปัญหาทางจิตของกรณีศึกษา
กลุ่มอาการด้านบวก
ความผิดปกติด้านความคิด
Grandiose delusions อาการหลงผิดคิดว่าตนมีอำนาจ ความสามารถ หรือความสำคัญ : ผู้ป่วยบอกว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ความผิดปกด้านการรับรู้
Visual hallucination เห็นภาพหลอน : ผู้ป่วยเห็นแม่ค้าในตลาดเป็นทหารพม่า
ความผิดปกติด้านพฤติกรรม
Social behavior การแสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม : ผู้ป่วยเดินแก้ผ้าในค่ายทหาร
Aggressive behavioral ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว ทั้งทางพฤติกรรมหรือทางการพูด อาจจะเป็นแบบเสียดสี การด่าว่า ไม่ไว้วางใจ ไม่ให้ความร่วมมือ หรือการทำร้ายร่างกาย : ผู้ป่วยหงุดหงิด โมโหง่าย มีอาการก้าวร้าว ท้าตีท้าต่อยกับแพทย์ ทำร้ายร่างกายมารดาและผู้อื่น
กลุ่มอาการด้านลบ
Asociality ด้านพฤติกรรม ผู้ป่วยจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง : ผู้ป่วยแยกตัว เก็บตัวอยู่
คนเดียว
กลุ่มอาการด้านการรู้คิด
Poor insight สูญเสียการรู้จักตนเอง : บางครั้งผู้ป่วยจำชื่อตัวเองไม่ได้, ผู้ป่วยจะขอใบรับรองแพทย์ว่าตนไม่ได้ป่วยทางจิตเวช และผู้ป่วยปฏิเสธหูแว่วภาพหลอน
กลุ่มอาการด้านพฤติกรรม
ผู้ป่วยเดินร้องเพลงคนเดียว พูดเรื่อยเปื่อย และไม่อาบน้ำ
7.วิเคราะห์ปัญหาการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิต จากกรณีศึกษา และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
1.ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาโดยรับยาไม่ต่อเนื่อง ทานยาไม่สม่ำเสมอ และหยุดยาเอง
ให้ความรู้ กับผู้ป่วยและครอบครัว ถึงความสำคัญของการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หากมีข้อสงสัยหรือไม่มั่นใจ สามารถสอบถามจากแพทย์ที่รักษาได้ ครอบครัวควรคอยเช็คตลอดเวลาว่าผู้ป่วยรับประทานยาหรือไม่ หากไม่รับประทานก็จัดเตรียมให้ หรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาเอง ต่อปรึกษาแพทย์เสมอ
2.ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดและประสาทหลอน เห็นแม่ค้าในตลาดเป็นทหารพม่า และคิดว่าตนเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยอยู่กับปัจจุบันและความเป็นจริง โดยไม่ขัดแย้งต่อความรู้สึกของผู้ป่วย ไม่ตำหนิ แต่ก็ไม่แสดงท่าทีที่เห็นด้วยกับผู้ป่วย แนะนำการจัดเมื่อเห็นภาพหลอนของผู้ป่วย เช่น เพิกเฉยไม่สนใจสิ่งที่เห็น เบี่ยงเบนความสนใจไปสนใจสิ่งอื่นแทน
3.ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด โมโหง่าย ทำร้ายร่างกายมารดาและผู้อื่น
วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง หงุดหงิด โมโหง่าย ทั้งทางชีวภาพ ทางด้านจิตใจ และทางด้านสังคม ไม่กระทำในสิ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว และพูดคุยกับผู้ป่วยด้วยความใจเย็น
4.ผู้ป่วยแยกตัวออกจากสังคม และเก็บตัวอยู่คนเดียว
มุ่งเน้นและพัฒนาให้ผู้ป่วยมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีและมีความมั่นใจในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น และผู้อื่นควรเข้าใจและสสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย ไม่ไปพูดทำร้ายจิตใจหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยอาการกำเริบ
5.ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรส่วนตัวและการดูแลตนเอง เนื่องจากไม่อาบน้ำ และมีน้ำลายไหล
แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพร่างกายตนเอง อาบน้ำ แต่งตัวให้ดูสะอาดเรียบร้อย หากผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตาม แนะนำให้ญาติคอยกระตุ้นและดูแล
6.ผู้ป่วยไม่ยอมรับว่าตนเองป่วยทางจิต
แนะนำให้มีการซักถามถึงรายละเอียดของโรคที่เป็นและวิธีรักษา แต่ในบางรายอาจเฉยๆ และแสดงความไม่สนใจ ปล่อยให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของแพทย์และครอบครัวในเรื่องการรักษา หากผู้ป่วยรับรู้และเข้าใจถึงอาการป่วยของตน ควรให้การพยาบาลด้วยความเข้าใจ และใส่ใจ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต่อต้าน
4.ระบุอาการผิดปกติของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของพฤติกรรม ความคิด และการรับรู้ จากกรณีศึกษา โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎี/เกณฑ์การวินิจฉัยโรค ICD-10 หรือ DSM-5
ระบุอาการผิดปกติของผู้ป่วยเปรียบเทียบกับทฤษฎี
กลุ่มอาการด้านบวก
ความผิดปกติด้านความคิด
Grandiose delusions อาการหลงผิดคิดว่าตนมีอำนาจ ความสามารถ หรือความสำคัญ : ผู้ป่วยบอกว่าตนเองเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ความผิดปกด้านการรับรู้
Visual hallucination เห็นภาพหลอน : ผู้ป่วยเห็นแม่ค้าในตลาดเป็นทหารพม่า
ความผิดปกติด้านพฤติกรรม
Social behavior การแสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม : ผู้ป่วยเดินแก้ผ้าในค่ายทหาร
Aggressive behavioral ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร ก้าวร้าว ทั้งทางพฤติกรรมหรือทางการพูด อาจจะเป็นแบบเสียดสี การด่าว่า ไม่ไว้วางใจ ไม่ให้ความร่วมมือ หรือการทำร้ายร่างกาย : ผู้ป่วยหงุดหงิด โมโหง่าย มีอาการก้าวร้าว ท้าตีท้าต่อยกับแพทย์ ทำร้ายร่างกายมารดาและผู้อื่น
กลุ่มอาการด้านลบ
Asociality ด้านพฤติกรรม ผู้ป่วยจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง : ผู้ป่วยแยกตัว เก็บตัวอยู่
คนเดียว
กลุ่มอาการด้านการรู้คิด
Poor insight สูญเสียการรู้จักตนเอง : บางครั้งผู้ป่วยจำชื่อตัวเองไม่ได้, ผู้ป่วยจะขอใบรับรองแพทย์ว่าตนไม่ได้ป่วยทางจิตเวช และผู้ป่วยปฏิเสธหูแว่วภาพหลอน
กลุ่มอาการด้านพฤติกรรม
ผู้ป่วยเดินร้องเพลงคนเดียว พูดเรื่อยเปื่อย และไม่อาบน้ำ
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค DSM-5
A : ผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อย่าง โดยมีอาการเป็นเวลานาน 1 เดือน (ระยะเวลาอาจน้อยกว่า 1 เดือนถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษา) และอาการอย่างน้อย 1 อย่าง ต้องเป็นอาการในข้อ 1, 2 และ 3
3.มีความผิดปกติของรูปแบบคำพูด
4.มีความผิดปกติของพฤติกรรม
ผู้ป่วย : หงุดหงิดง่าย มีอาการก้าวร้าว ทำร้ายร่างกายมารดาและผู้อื่น
2.อาการประสาทหลอน
ผู้ป่วย : เห็นแม่ค้าในตลาดเป็นทหารพม่า
5.มีอาการด้านลบ
ผู้ป่วย : แยกตัว เก็บตัวคนเดียว
1.อาการหลงผิด
ผู้ป่วย : คิดว่าตนเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
B : อาการดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านสังคม อาชีพการงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นหรือดูแลตัวเอง
ด้านสังคม : ผู้ป่วยจะแยกตัว และเก็บตัวคนเดียว
ด้านอาชีพการงาน : รู้สึกไม่อยากกลับไปทำงาน ทำให้รายได้ไม่แน่นอน แต่ไม่ได้เป็นปัญหา เพราะยังขอเงินมารดาใช้ได้บางครั้ง
ด้านสัมพันธภาพ : ผู้ป่วยมักจะทำร้ายร่างกายมารดาและผู้อื่นในตลาด
ด้านการดูแลตนเอง : ผู้ป่วยไม่อาบน้ำ
C : ผู้ป่วยมีอาการไม่สบายติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน (รวมเกณฑ์การวินิจฉัยโรคในข้อ A กับอาการนำ)
ผู้ป่วยมีอาการหลงผิด (Delusion) และมีความผิดปกติของพฤติกรรม (Disorganized behavior) ติดต่อกันเป็นเวลา 20 ปี มีอาการประสาทหลอน (Hallucination) ติดต่อกันเป็นเวลา 14 ปี มีอาการทาง
ด้านลบ (Negative symptoms) ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน
E : อาการไม่ได้เกิดจากการใช้ยาหรือสารเสพติด หรือโรคทางกาย
ผู้ป่วย : ไม่เคยใช้ยาหรือสารเสพติด และไม่มีโรคประจำตัว
F : หากผู้ป่วยมีประวัติของโรค Autism spectrum disorder หรือ Communication disorder ที่เป็นในวัยเด็ก จะวินิจฉัยโรคจิตเภทร่วมด้วยได้ก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนเป็นอาการเด่นเพิ่มจากอาการในข้อ A นานอย่างน้อย 1 เดือน (อาจน้อยกว่า 1 เดือน หากรักษาได้ผลดี)
ผู้ป่วย : ไม่มีประวัติการเป็นโรค Autism spectrum disorder หรือ Communication disorder ในวัยเด็ก
D : ผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคจิตชนิดอื่น
ผู้ป่วย : ไม่มีอาการของโรคจิตชนิดอื่น
จากกรอบแนวคิดปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพและความแตกต่างทางสุขภาพ (Social Determinants of Health and the Health Divide)
แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของนายถุงชา จากการที่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน 1,000 – 3,000 บาท/เดือน
แนวคิดทฤษฎีทางชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical model) อธิบายสาเหตุของความเจ็บป่วยทางจิตจากปัจจัยที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายโดยมีแนวคิดหลัก คือ
ความผิดปกติของโครงสร้าง และการทำงานของสมอง
นายถุงชาอาจมีสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ผิดปกติไปส่งผลกระทบให้นายถุงชามีการนึกคิด การรับรู้ อารมณ์ และพฤติกรรม ที่ผิดปกติ เช่น หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ไม่อายน้ำ เก็บตัวอยู่คนเดียว พูดมาก มีพฤติกรรมก้าวร้าว เห็นภาพหลอน ไม่นอน คิดว่าตนเองเป็นทหารของสมเด็จพระนเรศวร
ภาวะเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง
จากการที่มีระดับ Dopamine ที่สูงขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับโรคจิตเวช จึงทำให้นายถุงชามีการควบคุมการเคลื่อนไหว อารมณ์ ความคิดและการตัดสินใจผิดปกติ เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย พูดมาก วุ่นวาย เดินไปทั่ว ก้าวร้าว คิดว่าตนเองเป็นทหารของสมเด็จพระนเรศวร
จากการที่สาร Serotonin ทำงานผิดปกติ จึงทำให้นายถุงชามีอาการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการนอนหลับ อารมณ์แปรปรวน เช่น ไม่นอน หงุดหงิด โมโหง่าย
พันธุกรรม
มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิตซึ่งเป็นปัจจัยแฝง จากการที่บิดาของนายถุงชาเป็นโรคจิตเภทจึงทำให้นายถุงชามีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคจิตเภทมากกว่าคนทั่วไป
ระบบภูมิคุ้มกัน