Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละเมิดลักษณะทั่วไปความรับผิดของบุคคลในการกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle…
ละเมิดลักษณะทั่วไปความรับผิดของบุคคลในการกระทำละเมิดด้วยตนเอง
11.1.1 ความหมายของการกระทำ
1.ผู้ใด
มีความหมายเป็นเบื้องแรกว่าที่จะถือว่าเป็นการกระทำละเมิดได้นั้นต้องเป็นการกระทำของมนุษย์หาใช่ของสัตว์ไม่ เพราะสัตว์ไม่ใช่มนุษย์มิใช่บุคคล
2.มีการกระทำ
การกระทำในทางเคลื่อนไหวอิริยาบถ
3.การงดเว้นไม่กระทำ
เป็นการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำ หรือที่เกิดจากกฎหมายก็ได้หรือเกิดจากสัญญา หรือความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายก็ได้
แยกพิจารณาได้ดังนี้
1.หน้าที่ตามกฏหมาย
สามีภรรยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูบุตร บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
2.หน้าที่ตามสัญญา
ความจริงหรือหน้าที่ตามสัญญาคือหน้าที่ตามกฏหมายเพราะสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา
3.หน้าที่ที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
11.1.2 การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
1.จงใจ
รู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน
2.ประมาทเลินเล่อ
ไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วยที่ว่าหมายถึงไม่จงใจถ้าหากเป็นกรณีที่เป็นการจงใจก็ย่อมบังคับกันในลักษณะที่เป็นการจงใจอยู่แล้ว
3.กระทำต่อผู้อื่น
มาตรา 420 ไม่ได้หมายความแต่เพียงการกระทำในทางเคลื่อนไหวอิริยาบถเท่านั้นยังหมายถึงการงดเว้นไม่กระทำอีกด้วยแต่ต้องเป็นการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำในการที่มีหน้าที่ที่ต้องทำ
4.การใช้สิทธิ์ซึ่งมีแต่จะก่อ คสห.แก่ผู้อื่น (ม.421 )
การใช้สิทธิ์นั้นอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมายได้เพราะสิทธิต่างๆได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายบางอย่างบางประการโดยเฉพาะ
11.1.3 การกระทำโดยผิดกฎหมาย
ถ้ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งกรณีที่เห็นได้ชัดคือกฎหมายอาญาบัญญัติว่าการกระทำอันใดเป็นความผิดดังนั้นก็ย่อมเป็นการกระทำผิดกฏหมายอย่างไม่มีปัญหา
1.การใช้สิทธิ์ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล
เมื่อมีสิทธิ์แล้วมิได้หมายความว่าจะใช้อย่างไรก็ได้ตามใจชอบการใช้สิทธิ์อาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมายได้ ตามมาตรา 421 บัญญัติว่าการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฏหมาย
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย มาตรา 422บัญญัติว่าถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้อง บุคคลอื่นๆผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้นท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
11.1.4 การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ
ที่จะถือว่ามีความเสียหายนั้นอาจไม่ตรงกับความคิดเห็นของบุคคลธรรมดาบางคนนัก การทำร้ายร่างกายหรือลักทรัพย์สินกันย่อมถือเป็นความเสียหายแน่นอน
2ลักษณะแห่งสิทธิ
ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
3 ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วเพราะค่าสินไหมทดแทนนั้นย่อมรวมทั้งการคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคารวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ ตามมาตรตรา 438วรรคสอง
11.1.5 ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
มาตรา 420 ไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องรับผิดในผลอย่างไรแต่ผลบางอย่างอันสืบเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อความเสียหายนั้นอาจอยู่นอกขอบเขตที่เขาควรจะต้องรับผิดทฤษฎีที่ถือว่าสำคัญมีอยู่ 2 ทฤษฎีคือ
1.ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม