Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 62 ปี (C-spine cord compression with mass at C6), 7.…
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 62 ปี
(C-spine cord compression with mass at C6)
ข้อมูลพื้นฐาน
ผู้ป่วยเตียง 8 เพศหญิง อายุ 62 ปี
สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ สถานภาพ โสด
ที่อยู่ 18/82 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
หอผู้ป่วย ชลายุวัฒน์ 3 โรงพยาบาลชลบุรี
วันที่รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล 10 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.30 น
วันที่รับผู้ป่วยไว้ในความดูแล 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30 น
ภาวะสุขภาพ
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล :
Refer มาจาก รพ.สัตหีบ กม.10 เนื่องจากไม่มีแพทย์เฉพาะทาง
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน :
2 สัปดาห์ก่อน เริ่มมีอาการชาแขนทั้งสองข้าง และ 5 วันก่อนมาโรงพยาบาล ชามือและแขนทั้งสองข้าง เริ่มมีอาการขาอ่อนแรง ซื้อยาที่คลินิกรับประทานเองและทำกายภาพบำบัดที่ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุสภากาดชาดไทย อาการไม่ดีขึ้น ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ได้คำแนะนำให้ทำ MRI spine และส่งต่อตามสิทธิการรักษา ที่โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 เนื่องจากโรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 ไม่มีเครื่องมือในการตรวจ MRI spine จึงส่งต่อผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลชลบุรีเพื่อทำ MRI Spine (6/7/2565) ; Severe narrowing C5-6 disk space , Mild narrowing C3-4 disk space , Homogenous enhancing mass at C6 หลังจากนั้นผู้ป่วยกลับมา Bed rest ที่โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 วันนี้แขนขาอ่อนแรงมากขึ้น เดินไม่ได้ Motor power แขนซ้ายและขวา grade 4 , ขาซ้ายและขวา grade 3 เนื่องจากที่โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง จึง refer มาที่โรงพยาบาลชลบุรีเพื่อรักษาต่อ
ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต
โรคประจำตัว :
ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis c virus) , ตับแข็ง (Cirrhosis)
ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis c virus)
เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแล้ว จะเริ่มด้วยภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน (Acute hepatitis) มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ในช่วงตับอักเสบเฉียบพลันผู้ป่วยอาจมีอาการดีซ่าน(Jaundice) และดำเนินโรคจนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis) ตับจะถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนในที่สุดกลายเป็นตับแข็ง (cirrhosis)
อาการและอาการแสดง :
ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง บวม มีน้ำในช่องท้อง ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ตับม้ามโต
ตับแข็ง (Cirrhosis)
เป็นภาวะที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของตับ เมื่อเซลล์ของตับถูกทำลายจะทำให้เกิดพังผืดหรือแผลเป็นในตับ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างตับ และการที่เนื้อตับถูกทำลายมากขึ้น จะทำให้ตับเสียหน้าที่ ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ทำให้ตับไม่สามารถขับน้ำดี ผ่านลงสู่ลำไส้ได้เพียงพอ ทำให้เกิดความผิดปกติของการย่อย และการเผาผลาญสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน
อาการและอาการแสดง :
มีไข้ ปวดท้องด้านขวาบริเวณ upper quadrant คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย มีท้องผูกหรือท้องเดิน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ระยะแรกตับจะโต แต่ในระยะหลังตับจะเหี่ยวเล็กลง และมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ ม้ามโต มีน้ำในช่องท้องหรือท้องมาน ตัวเหลืองเพิ่มมากขึ้น บวม ซีด มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง
ม้ามโต (Spenomegaly)
ภาวะแทรกซ้อนจากม้ามโต เนื่องจากม้ามที่ขยายใหญ่ขึ้นจะกรองเซลล์เม็ดเลือดมากขึ้น เซลล์เม็ดเลือดและเกร็ดเลือดที่ดีในกระแสเลือดจึงลดน้อยลง ส่งผลให้เกิด pancytopenia คือมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โลหิตจางและมีเลือดออกง่ายขึ้น
ผู้ป่วยให้ประวัติว่า ดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลา 10 ปีที่แล้ว ดื่มเฉลี่ย 2 ขวด/วัน โดยจะดื่มทุกวันในช่วงเช้าและเย็น
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว :
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไป :
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี พูดคุยโต้ตอบได้ รูปร่างผอม ผิวเหลืองคล้ำ ถามตอบรูเรื่อง
ตา :
ตาขาวมีสีเหลือง (Icteric sclera) Conjunctiva ซีดทั้งสองข้าง
ผิวหนัง :
ผิวหนังมีสีเหลืองคล้ำ มีจ้ำเลือดที่แขนซ้ายขนาน 1x1 เซนติเมตร
หน้าท้อง :
คลำไม่พบตับและม้ามโต ไม่มีการบวม ไม่มีบาดแผล ความตึงตัวของหน้าท้องปกติ มีความนุ่ม Bowel sound 10 ครั้ง/นาที
ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ :
มีอาการเจ็บตั้งแต่บริเวณสะโพกลงไป แขนขาอ่อนแรง Motor power แขนขวาและซ้าย grade V , ขาขวาและซ้าย grade III
ระบบประสาท :
ระดับความรู้สึกตัวดี E4M5V6 , Pupil 2 mm. RTL both eyes
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วันที่ 10/7/2565
Platelet count :
79.0x103/uL (ค่าปกติ 150-450 x103)
PT :
15 sec (ค่าปกติ 10.4-13.3 sec)
PTT :
30.5 sec (ค่าปกติ 21.4-29.6 sec)
INR :
1.26 (ค่าปกติ 0.9-1.1)
การตรวจพิเศษ
MRI Spine (6/7/2565) ;
Severe narrowing C5-6 disk space , Mild narrowing C3-4 disk space , Homogenous enhancing mass at C6
การวินิจฉัยโรค :
C-spine cord compression with mass at C6
พยาธิสภาพ
C-spine cord compression with mass at C5-C6 :
การกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณเส้นประสาทส่วนคอ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากการกดหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงไขสันหลัง หรืออาจเกิดจากการไหลกลับของเลือดในหลอดเลือดดำและแขนงหลอดเลือดขนาดเล็ก ทั้งสองกลไกลนี้ทำให้เกิดการขาดเลือดของไขสันหลังตามมา
การได้รับบาดเจ็บหรือถูกกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณ C5
ทำให้มีอาการ Tetraplegia คือ ภาวะอ่อนแรงของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง หรืออาจเกิดอัมพาตครึ่งล่าง กล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ยกไหล่และงอข้อศอกได้บางส่วน เสีย Motor and Sensory ใต้ไหล่ลงมา ควบคุมขับถ่ายไม่ได้
5. มีโอกาสเกิดภาวะท้องผูก เนื่องจากสูญเสียกำลังกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
ข้อมูลสนับสนุน
S :
-
O :
MRI spine (6/7/2565) ; Severe narrowing C5-6 dish space , Mild narrowing C3-4 dish space , Homogenous enhancing mass at C6,
Dx. C-spine cord compression with mass at C6
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณเส้นประสาทส่วนคอ C6 นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนนั้นแล้ว อาจส่งผลกับเส้นประสาทไขสันหลังที่อยู่ระดับต่ำกว่านั้น ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้นอกจากจะมีกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงแล้ว มือซ้ายไม่สามารถกำ-แบมือได้สนิท ซึ่งไขสันหลังระดับ C7-8 ควบคุมอยู่ บ่งบอกได้ว่า ระดับไขสันหลังที่อยู่ต่ำกว่าได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งไขสันหลังระดับ C6 ทำหน้าที่ควบคุมการขับถ่าย อาจได้รับผลกระทบไปด้วย ผู้ป่วยรายนี้จึงมีโอกาสเกิดภาวะท้องผูก เนื่องจากสูญเสียกำลังกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะท้องผูก
เกณฑ์การประเมิน
การขับถ่ายอุจจาระเป็นปกติ ไม่เป็นก้อนแข็ง
ผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระ 2-3 ครั้ง/วัน
ผู้ป่วยไม่บ่นแน่นท้อง หรือกดท้องแล้วนิ่ม
Bowel Sound 6-12 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผู้ป่วย จากการซักประวัติการขับถ่ายอุจจาระของผู้ป่วยเกี่ยวกับ แบบแผนการขับถ่ายอุจจาระ ลักษณะของอุจจาระ ประวัติการแก้ไขปัญหาท้องผูก เช่น การใช้ยาระบาย เป็นต้น
ประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound) วันละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น เพื่อติดตามอาการท้องผูกที่อาจเกิดขึ้น
ประเมินเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ผู้ป่วยได้รับ 3 วันที่ผ่านมา
ดูแลส่งเสริมให้ผู้ป่วยขับถ่าย
โดยการใส่แพมเพิสให้และแนะนำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกั้นอุจจาระ เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
ดูแลจัดอาหารให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่มีกากใย ผักและผลไม้
ดูแลกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำน้ำมากๆ 2000-3000 ml/day
ประเมินความเสี่ยงของภาวะท้องผูกหลังจากให้การพยาบาล และติดตามอย่างสม่ำเสมอ
ประเมินผล
วันที่ 12/07/2565 (10.00 น.)
ผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระปกติ ไม่เป็นก้อนแข็ง
ขับถ่ายอุจจาระ 2 ครั้ง/วัน
ผู้ป่วยไม่บ่นแน่นท้อง กดท้องแล้วท้องนิ่ม
Bowel Sound 10 ครั้ง/นาที
6. มีโอกาสเกิดภาวะปัสสาวะลำบาก เนื่องจากสูญเสียกำลังกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
ข้อมูลสนับสนุน
S :
-
O :
MRI spine (6/7/2565) ; Severe narrowing C5-6 dish space , Mild narrowing C3-4 dish space , Homogenous enhancing mass at C6,
Dx. C-spine cord compression with mass at C6
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณเส้นประสาทส่วนคอ C6 นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนนั้นแล้ว อาจส่งผลกับเส้นประสาทไขสันหลังที่อยู่ระดับต่ำกว่านั้น ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้นอกจากจะมีกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงแล้ว มือซ้ายไม่สามารถกำ-แบมือได้สนิท ซึ่งไขสันหลังระดับ C7-8 ควบคุมอยู่ บ่งบอกได้ว่า ระดับไขสันหลังที่อยู่ต่ำกว่าได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งไขสันหลังระดับ C6 ทำหน้าที่ควบคุมการขับถ่าย อาจได้รับผลกระทบไปด้วย ผู้ป่วยรายนี้จึงมีโอกาสเกิดภาวะปัสสาวะลำบาก เนื่องจากสูญเสียกำลังกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะลำบาก
เกณฑ์การประเมิน
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นปกติ ไม่มีปัสสาวะลำบากหรือต้องออกแรงเบ่งมากกว่าปกติ
ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะ 6-8 ครั้ง/วัน
ผู้ป่วยไม่บ่นแน่นท้อง กดหน้าท้องบริเวณเหนือหัวเหน่าแล้วไม่โป่งตึง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผู้ป่วย จากการซักประวัติการขับถ่ายปัสสาวะเกี่ยวกับ แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ลักษณะของปัสสาวะ ประวัติการแก้ไขปัญหาปัสสาวะลำบาก เช่น การใช้ยาระบาย เป็นต้น
ประเมินกระเพาะปัสสาวะด้วยการคลำหน้าท้องบริเวณเหนือหัวเหน่า ถ้าโปงตึง แสดงถึงว่ามีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมาก
ดูแลส่งเสริมให้ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะ โดยการใส่แพมเพิสให้และแนะนำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกั้นปัสสาวะ
ดูแลให้ได้รับประทานยาขับปัสสาวะ Lasix(L) 40 mg tab และติดตามอาการข้างเคียง ได้แก่ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เป็นต้น
ดูแลกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำน้ำมากๆ 2000-3000 ml/day
ประเมินความเสี่ยงของภาวะปัสสาวะลำบากหลังจากให้การพยาบาล และติดตามอย่างสม่ำเสมอ
ประเมินผล
วันที่ 12/07/2565 (10.00 น.)
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นปกติ ไม่มีปัสสาวะลำบาก ออกแรงเบ่งปกติ
ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะ 5-6 ครั้ง/วัน
ผู้ป่วยไม่แน่นท้อง กดหน้าท้องบริเวณหัวเหน่าแล้วไม่มีโป่งตึง
การได้รับบาดเจ็บหรือถูกกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณ C6
ทำให้มีอาการ Tetraplegia บางส่วน กล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง หายใจเอง ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ไอไม่มีประสิทธิภาพ สูญเสีย sensation ยกเว้นแขนและนิ้วหัวแม่มือ
อาการและอาการแสดง
อาการปวด
เป็นอาการนำที่สำคัญ ก่อนจะมีอาการอื่นราว 2-4 เดือน ลักษณะการปวดมักเป็นแบบ sharp-shooting, burning stabbing หรือจะเป็น dull aching ก็ได้ อาการปวดไม่สามารถทุเลาลง หรืออาจมีการเพิ่มขึ้นของความปวดในเวลาไอ จาม หรืองอตัว
2. ไม่สุขสบาย เนื่องจากปวด
ข้อมูลสนับสนุน
S :
ผู้ป่วยบอกว่า “ปวดมาก นอนไม่ได้ทั้งคืน แค่ขยับนิดเดียวก็ปวด”
O :
ปวดตั้งแต่บริเวณสะโพกลงไปจนถึงเท้า Pain score = 10 คะแนน, สีหน้าไม่สดชื่น หน้างิ้วคิ้วขมวด และบ่นว่าปวดตลอด
Dx. C-spine cord compression with mass at C6
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณเส้นประสาทส่วนคอ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากการกดหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงไขสันหลัง หรืออาจเกิดจากการไหลกลับของเลือดในหลอดเลือดดำและแขนงหลอดเลือดขนาดเล็ก ทั้งสองกลไกลนี้ทำให้เกิดการขาดเลือดของไขสันหลังตามมา ซึ่งอาการและอาการแสดง คือ อาการปวด เป็นอาการนำที่สำคัญ ก่อนจะมีอาการอื่นราว 2-4 เดือน ลักษณะการปวดมักเป็นแบบ sharp-shooting, burning stabbing หรือจะเป็น dull aching ก็ได้ อาการปวดไม่สามารถทุเลาลง หรืออาจมีการเพิ่มขึ้นของความปวดในเวลาไอ จาม หรืองอตัว
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปวดลดลง
เกณฑ์การประเมิน
มีระดับความปวด (Pain score) ลดลง อย่างน้อย 1-3 คะแนน
ผู้ป่วยบอกว่า รู้สึกปวดลดลง
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นขึ้น นอนหลับพักผ่อนได้
V/S PR = 60-100 bpm, RR = 16-20 bpm, BP = 140-90/90-60 mmHg
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความปวดnทุก 6-8 ชั่วโมง โดยใช้แบบประเมิน Pain score เพื่อวางแผนการจัดการความปวด
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อติดตามอาการปวดของผู้ป่วย
ให้ยาระงับปวด Morphine 4 mg IV prn q 6 hr เพื่อบรรเทาอาการปวด ตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงหลังจากได้รับยา ได้แก่
การหายใจของผู้ป่วยเนื่องจาก ยามีฤทธิ์กดการหายใจ
แนะนำวิธีการบรรเทาความปวดเช่น การเบี่ยงเบนความสนใจ โดยการประเมินความชอบของผู้ป่วย ผู้ป่วยบอกว่า ชอบ ฟังเพลง จึงแนะนำให้ผู้ป่วย ฟังเพลง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ, การหายใจเพื่อบรรเทาความปวด โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ นับจังหวะการหายใจ
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน เพื่อไม่เป็นการกระตุ้นให้เกิดความปวดเพิ่มขึ้น
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบปราศจากเสียงรบกวน เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ให้กำลังใจผู้ป่วย และคอยช่วยเหลือให้ระบายความรู้สึก เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและสามารถเผชิญความปวดได้อย่างเหมาะสม
ประเมินผล
วันที่ 12/07/2565 (15.40 น.)
หลังจากได้รับยา Pain score=5 คะแนน
ผู้ป่วยบอกว่าปวดลดลง
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นขึ้น
V/S : PR=82 bpm, RR=20 bpm, BP=120/76 mmHg
อาการอ่อนแรง
ตรวจพบ motor weakness เป็นอาการนำรองลงมา ผู้ป่วยจะไม่สามารถเดินได้ โดยส่วนใหญ่เป็น paraparesis มากกว่า paraplegia และอาจมี sensory deficit เป็นลักษณะของการสูญเสียความรู้สึกจากปลายนิ้วเท้าไล่ขึ้นมาเหมือนการสวมถุงน่อง
3. เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เนื่องจากแขนขาอ่อนแรง
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O :
MRI spine (6/7/2565) ; Severe narrowing C5-6 dish space , Mild narrowing C3-4 dish space , Homogenous enhancing mass at C6 ,
Motor power แขนขวาและซ้าย grade V , ขาขวาและซ้าย grade III
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณเส้นประสาทส่วนคอ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อไขสันหลัง ซึ่งนอกจากอาการนำที่เป็นอาการปวดแล้ว ยังมีอาการอ่อนแรง ตรวจพบ motor weakness เป็นอาการนำรองลงมา ผู้ป่วยจะไม่สามารถเดินได้ โดยส่วนใหญ่เป็น paraparesis มากกว่า paraplegia และอาจมี sensory deficit เป็นลักษณะของการสูญเสียความรู้สึกจากปลายนิ้วเท้าไล่ขึ้นมาเหมือนการสวมถุงน่อง ผู้ป่วยจึงมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจากอาการอ่อนแรง
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
เกณฑ์การประเมิน
ไม่เกิดอุบัติเหตุหกล้มกับผู้ป่วย และไม่มีบาดแผลเกิดขึ้นตามร่างกาย
แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม (Fall risk assessment Score) = 0 คะแนน คือ ไม่มีความเสี่ยงต่อการลื่น/ตก/ล้ม
ผู้ป่วยและสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน และสามารถตอบคำได้ถูกต้อง 4 ข้อ จาก 5 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยทุก 8 ชั่วโมง โดยใช้แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม (Fall risk assessment Score) และให้การพยาบาล ดูแลผู้ป่วยตาม Fall score ดังนี้
(1.1) กรณีผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี ประเมินเป็น low risk ให้ปฏิบัติตาม Standard fall precaution ดังนี้
ตรวจสอบสัญญาณเรียกขอความช่วยเหลือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
ปรับเตียงให้อยู่ระดับต่ำสุดและล็อคล้อเตียงทุกครั้ง
ยกราวกั้นเตียงขึ้นทุกด้าน
แขวนป้ายสัญลักษณ์สีเหลือง “ระวังพลัดตกหกล้ม”
ผู้ป่วยและญาติได้รับคำแนะนำการป้องกันพลัดตกหกล้ม
จัดวางสิ่งของให้ใกล้มือ หยิบใช้ได้ง่าย
ดูแลห้องพัก ห้องน้ำให้มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มีสิ่งของกีดขวางทางเดิน และไม่สวมรองเท้าพื้นลื่น
(1.2) กรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาการทรงตัวบกพร่อง ประเมินเป็น High risk ให้ปฏิบัติตาม Strict fall precaution โดยเพิ่มเติมจาก Standard fall precaution ดังนี้
จัดอุปกรณ์สำหรับขับถ่ายไว้ในที่ที่หยิบใช้ได้ง่าย
จัดเจ้าหน้าที่ตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วยทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อสอบถามความต้องการดื่มน้ำ การเข้าห้องน้ำ และความช่วยเหลืออื่นๆทุกครั้ง เช่น ช่วยหยิบของเป็นต้น
แขวนป้ายสัญลักษณ์สีแดง “ระวังพลัดตกหกล้ม”
อธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติเข้าใจถึงเหตุผลของการเฝ้าระวัง การพลัด ตก หกล้ม และอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากเฝ้าระวังไม่เพียงพอ
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม เมื่ออยู่ที่บ้าน ดังนี้
หากต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ญาติควรระมัดระวัง ให้ใช้รถเข็นหรือแปลตัก เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
แนะนำให้ญาติดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยต้องการ
ฝึกการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า ที่มีขนาดพอดีและเป็นรองเท้าหุ้มเส้น
พื้นและทางเดินไม่ให้มีสิ่งของระเกะระกะ กีดขวาง
ใช้เตียงที่มีความสูง ระดับข้อพับเข่า
มีแสงสว่างเพียงพอ ภายในบ้านและบริเวณบ้าน
ห้องน้ำมีราวจับ พื้นไม่ลื่น ใช้โถส้วมแบบชักโครก
ประเมินผล
วันที่ 12/07/2565 (14.00 น.)
แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม (Fall risk assessment Score) = 6 คะแนน มีความเสี่ยงสูงต่อการพลัดตกหกล้ม ให้การพยาบาลโดยปฏิบัติตาม Strict fall precaution
ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุหกล้มกับผู้ป่วย และไม่มีบาดแผลเกิดขึ้นตามร่างกาย
ผู้ป่วยและสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านได้ 100%
4. วิตกกังวล เนื่องจากภาวะของโรค
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
ผู้ป่วยบอกว่า “กลัวว่าจะได้ผ่าตัดแล้วทำให้ ตัวเองจะเดินไม่ได้”
O :
Dx. C-spine cord compression with mass at C6
ผู้ป่วยร้องไห้ขณะพูดคุย
แบบประเมินความเครียด (ST-5) ได้ 5 คะแนน แปลผล มีความเครียดปานกลาง (11/07/2565)
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ความวิตกกังวลคือ ภาวะที่รู้สึกไม่สุขสบายหรือหวาดหวั่น วิตก ตึงเครียด ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ หรือคาดการณ์ถึง อันตราย หรือความไม่แน่นอนของสิ่งที่มาคุกคามต่อความจำเป็นในการดำรงชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจ ในผู้ป่วยรายนี้มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะโรค พร้อมกับบอกว่า “กลัวว่าจะได้ผ่าตัดแล้วทำให้ ตัวเองจะเดินไม่ได้” และทำแบบประเมินความเครียด ST5 ได้ 5 คะแนน แปลผล มีความเครียดปานกลาง จึงควรให้พยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลลง
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
เกณฑ์การประเมิน
สีหน้าแจ่มใส พูดคุยยิ้มแย้มมากขึ้น
แบบประเมินความเครียด (ST-5) อยู่ในระดับ 0 - 4 คะแนน แปลผลความเครียดระดับน้อย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความวิตกกังวลโดยใช้แบบประเมินความเครียด (ST-5) เพื่อนำมาใช้พิจารณาวางแผนให้การพยาบาลที่เหมาะสม
พูดคุยสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
อธิบายถึงพยาธิสภาพและแผนการรักษา การดูแลตนเองที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจมากขึ้น
เปิดโอกาสให้พูดคุยระบายความรู้สึก รับฟัง ด้วยความตั้งใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียด
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หรือปรับเปลี่ยนแบบแผนในการดูแลตนเอง
แนะนำวิธีการผ่อนคลายความเครียด โดยให้หาวิธีหรือกิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบทำ เช่น การดูทีวีฟัง เพลง การสวดมนต์ เพื่อผ่อนคลายความเครียด
ประเมินผล
วันที่ 12/07/2565 (14.00 น.)
แบบแบบประเมินความเครียด (ST-5) = 3 คะแนน แปลผล ความเครียดระดับน้อย
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นแจ่มใสขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O :
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วันที่ 10/07/2565
Platelet count = 79x103/uL (ต่ำกว่าปกติ)
PT = 15 sec (สูงกว่าปกติ)
PTT = 30.5 sec (สูงกว่าปกติ)
INR = 1.26 (สูงกว่าปกติ)
U/D; Hepatitis C Virus and Cirrhosis
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นไวรัสตับอักเสบซี เมื่อผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแล้ว จะเริ่มด้วยภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน (Acute hepatitis) มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ในช่วงตับอักเสบเฉียบพลันผู้ป่วยอาจมีอาการดีซ่าน(Jaundice) และดำเนินโรคจนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis) ตับจะถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนในที่สุดกลายเป็นตับแข็ง (cirrhosis) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน คือ ม้ามโต (Spenomegaly) เนื่องจากม้ามที่ขยายใหญ่ขึ้นจะกรองเซลล์เม็ดเลือดมากขึ้น เซลล์เม็ดเลือดและเกร็ดเลือดที่ดีในกระแสเลือดจึงลดน้อยลง ส่งผลให้เกิด pancytopenia คือมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โลหิตจางและเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่ายหยุดยาก
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกง่าย
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน จุดจ้ำเลือด/ฟกช้ำตามตัว อาเจียน/ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายสีดำ เป็นต้น
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ Platelet count = 150-450x103 /uL, PT =10.4-13.3, PTT= 21.4-29.6 sec, INR=0.9-1.1
สัญญาณทางระบบประสาทปกติหรือไม่เลวลงกว่าเดิม ได้แก่ GCS=E4M6V5, Pupil 2-3 mm. , RTL both eye ขนาดต่างกันไม่เกิน 1 mm
V/S T= 36.5-37.4 C, PR = 60-100 bpm, RR = 16-20 bpm, BP = 140-90/90-60 mmHg
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการเลือดออกตามบริเวณต่างๆ ได้แก่ จ้ำเลือดใต้ผิวหนัง ตามตัว เลือดออกตามไรฟัน เยื่อจมูก อาการเลือดออกที่อาจจะออกมากับอาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระ เพื่อประเมินอาการเลือดออกง่ายและให้การรักษาอย่างทันถ่วงที
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออกง่ายทุก 4 ชั่วโมง ได้แก่ ซึม ปวดศีรษะรุนแรง ชัก ตามัว เป็นต้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต เพื่อติดตามอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ประเมินอาการทางสมอง และใช้แบบประเมิน Glass grow coma score ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล เบามือ ระมัดระวังการพยาบาลที่อาจเกิดอันตรายและเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก เช่น การเจาะเลือด หรือถ้าจำเป็นต้องใช้เข็มที่คม ให้กดบริเวณที่แทงเข็มอย่างน้อยนาน 5 นาที
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับเลือด Platelet count 10 unit ตามแผนการรักษา และติดตามอาการหลังจากได้รับเลือด ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง (Bed rest) และงดกิจกรรมทุกชนิด
แนะนำผู้ป่วยให้ใช้น้ำเกลือบ้วนปากแทนทำความสะอาดโดยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟัน ไม่ควรใช้น้ำยาบ้านปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เยื่อบุช่องปากระคายเคือง แห้งและเป็นแผล
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภัยอันตรายต่างๆหรืออุบัติเหตุ ได้แก่ การตกเตียง การกระทบกระแทก การถูกของมีคม ซึ่งทำให้เกิดบาดแผลได้ และยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งให้การพยาบาลเสร็จหรือไม่ได้อยู่ที่เตียง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ Platelet count หากยังมีค่าต่ำกว่าปกติ รายงานให้แพทย์ทราบเพื่อวางแผนการรักษาแก่ผู้ป่วย
ประเมินผล
วันที่ 12/07/2565 (14.00 น.)
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน จุดจ้ำเลือด/ฟกช้ำตามตัว อาเจียน/ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายสีดำ เป็นต้น
V/S : T=36.6 C, PR=82 bpm, RR=20 bpm, BP=120/76 mmHg
GCS=15 คะแนน
Pupil 2 mm RTL both eye ขนานเท่ากัน
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง ไม่มีอาการสับสน กระสับกระส่าย รับรู้วัน เวลา สถานที่
ผลแลปยังไม่ออก
7. พร่องความรู้ในการดูแลตนเองที่บ้าน
ข้อมูลสนับสนุน
S :
ผู้ป่วยบอกว่า “ไม่รู้เลยว่ากลับไปบ้านต้องดูแลตัวเองยังไงบ้าง ต้องระวังอะไรบ้างก็ไม่รู้”
O :
-
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ และสามารถปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่องที่บ้านได้ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในการปฏิบัติตัวและดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้านได้ถูกต้อง 8 ใน 10 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้จากการสอบถาม เกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ให้ความรู้กับผู้ป่วยโดยใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย (D-METHOD) ดังนี้
D=Diagnosis :
C-spine cord compression with mass at C5-C6
การกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณเส้นประสาทส่วนคอ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากการกดหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงไขสันหลัง หรืออาจเกิดจากการไหลกลับของเลือดในหลอดเลือดดำและแขนงหลอดเลือดขนาดเล็ก ทั้งสองกลไกลนี้ทำให้เกิดการขาดเลือดของไขสันหลังตามมา, การได้รับบาดเจ็บหรือถูกกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณ C5 ทำให้มีอาการ Tetraplegia คือ ภาวะอ่อนแรงของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง หรืออาจเกิดอัมพาตครึ่งล่าง กล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ยกไหล่และงอข้อศอกได้บางส่วน เสีย Motor and Sensory ใต้ไหล่ลงมา ควบคุมขับถ่ายไม่ได้, การได้รับบาดเจ็บหรือถูกกดเบียดจากก้อนเนื้อบริเวณ C6 ทำให้มีอาการ Tetraplegia บางส่วน กล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง หายใจเอง ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ไอไม่มีประสิทธิภาพ สูญเสีย sensation ยกเว้นแขนและนิ้วหัวแม่มือ,
อาการและอาการแสดง
อาการปวด เป็นอาการนำที่สำคัญ ก่อนจะมีอาการอื่นราว 2-4 เดือน ลักษณะการปวดมักเป็นแบบ sharp-shooting, burning stabbing หรือจะเป็น dull aching ก็ได้ อาการปวดไม่สามารถทุเลาลง หรืออาจมีการเพิ่มขึ้นของความปวดในเวลาไอ จาม หรืองอตัว, อาการอ่อนแรง ตรวจพบ motor weakness เป็นอาการนำรองลงมา ผู้ป่วยจะไม่สามารถเดินได้ โดยส่วนใหญ่เป็น paraparesis มากกว่า paraplegia และอาจมี sensory deficit เป็นลักษณะของการสูญเสียความรู้สึกจากปลายนิ้วเท้าไล่ขึ้นมาเหมือนการสวมถุงน่อง
M=Medicine :
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามคำแนะนำของเภสัช รวมทั้งศึกษาสรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ตลอดจนสังเกตภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งข้อห้ามในการใช้ยาด้วย
E=Environment :
การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม ในการเคลื่อนย้ายแต่ละครั้งควรมีคนดูแล หรือใช้รถเข็น จัดสิ่งของไม่ให้เกะกะทางเดิน ภายในห้องให้มีแสงสว่างเข้าถึง อากาศถ่ายเท
T=Treatment
แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการของตนเอง เช่น หากมีอาการปวดมากขึ้น ความรู้สึกบริเวณแขนและขาลดน้อยลง หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
H=Health :
แนะนำให้ผู้ป่วยระมัดระวังในเรื่องของเลือดออกง่ายหยุดยาก หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์มีคม หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดบาดแผลมีเลือดออก อีกทั้งแนะนำในเรื่องของการพลัดตกหกล้ม การเคลื่อนย้ายต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ต้องมีคนดูแลตลอดเวลา จัดพื้นที่ให้อยู่ในสายตาของผู้ดูแลหรือญาติ
O=Out patient :
แนะนำให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด และหากเกิดภาวะฉุกเฉินให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
D=Diet :
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำวันละ 2000-3000 ml/day
ประเมินผล
ผู้ป่วยตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในการปฏิบัติตัวและดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้านได้ถูกต้อง 100%