Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนและนโยบาย 4 ทันสมัย, ผู้จัดทำ 1.นาย ธนบัตร…
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนและนโยบาย 4 ทันสมัย
การปฏิวัติของจีนครั้งแรก ปี ค.ศ. 1911 :
ความสำเร็จในการปฏิวัติ
ดร.ซุน ยัตเซน ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มราชวงศ์เช็งทำให้จักรพรรดิปูยี (Pu-Yi) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ต้องสละราชสมบัติในปีถัดมา
ความสำคัญ
:<3:
การปฏิวัติจีนครั้งแรก เกิดในปี ค.ศ. 1911 เป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์เช็ง ซึ่งชาวแมนจู โดยการนำของ ดร.ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊ก มิน ตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด
สาเหตุการปฏิวัติ
(1) การคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตกแลญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู
(2) ความอ่อนแอของราชวงศ์เช็ง จักรพรรดิแมนจูปกครองจนเป็นเวลา 268 ปี (ค.ศ. 1644 – 1912) ส่วนใหญ่ขาดความเข้มแข็งในการปกครอง มีการแย่งชิอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์
(3) ความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ราษฎรส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากแผ่นดินจีน
อุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า “ลัทธิไตรราษฎร์” มีดังนี้
(1) ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
(2) ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน
(3) สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร
ความล้มเหลวของระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย
โดย “ยวน ซีไข” ผู้นำทางทหารได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เนื่องด้วยเป็นผู้ไม่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยคิดจะสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ จึงเกิดความแตกแกภายในประเทศ และประสบปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจตามมา
การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949
ความสำคัญการปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง :<3:
ปี ค.ศ. 1949 โดยการนำของ “หมา เจ๋อตุง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์
สาเหตุการปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง
(1) ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน
ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
(2) การเผยแพร่อุดมการคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน
ความสำเร็จของการปฏิวัติของจีนปี ค.ศ. 1949
(1) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เหมา เจ๋อตุง” รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือระบบคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ชาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน
(2) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาดหรือทุนนิยม โดยมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม2นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มี ประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่ - ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีน - ระบอบประชาธิปไตยและทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า
ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง
(1) การปฏิวัติของ “เหมา เจ๋อตง” เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการ
คอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง
(2) การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” โดยมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นคัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ
Four Modernization: สี่ทันสมัย
เป็นของท่านเติ้ง เสี่ยว ผิง แห่งประเทศจีน เป้าหมายของนโยบาย 4 ทันสมัยคือการพัฒนาจีนให้เป็นประเทศสังคมนิยมที่ทันสมัย
นโยบาย “สี่ทันสมัยใหม่” (1978) ได้แก่
(ก) อุตสาหกรรมทันสมัย เข้าร่วมระบบเศรษฐกิจโลก นโยบายเปิดประตูสำหรับนักลงทุนภายนอกโดยเฉพาะสหรัฐและยุโรป การเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการส่งออก สร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ ลดบทบาทของรัฐวิสาหกิจ เพิ่มความสำคัญแก่ตลาดและวิสาหกิจ ที่ไม่ใช่ของรัฐ สร้างวิสาหกิจในระดับหมู่บ้านและเมือง
(ข) การเกษตรทันสมัยเลิกระบบคอมมูน สร้างระบบครอบครัว รับผิดชอบ ใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย เปิดให้เกษตรกรสามารถเช่าที่ดินระยะยาว 50 ปี
(ค)วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทันสมัย การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้วยประการต่างๆ ออกกฎหมายสิทธิบัตร ตั้งเป้าให้จีนมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทียบเท่าระดับโลก
(ง) การทหารทันสมัย ทำให้การทหารเป็นเชิงอาชีพ ไม่ใช่ทหารแดงแบบเดิม เพิ่มค่าตอบแทนแก่ทหารให้ใกล้เคียงกับพลเรือน ปรับการจัดตั้งและการบังคับบัญชาใหม่ให้เป็นเอกภาพ และบูรณาการเข้าด้วยกัน
ผู้จัดทำ
1.นาย ธนบัตร กังวานไกร ม.5/6 เลขที่8
2.นาย สุรชานนท์ ทองเกลี้ย ลี้ ง ม.5/6 เลขที่9