Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางและข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศให้แก่นักศึกษาจ…
แนวทางและข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษาไทย
ในฐานะภาษาต่างประเทศให้แก่นักศึกษาจีน
อย่างมีประสิทธิผล
การรู้จักผู้เรียน
การรู้จักผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญประการแรกสุดที่ผู้สอนควรคำนึงถึงเพราะการรู้จักผู้เรียนจะเข้าใจพื้นฐานของผู้เรียนและช่วยอํานวยความสะดวกให้ผู้สอนเตรียมบทเรียนได้อย่างเหมาะสมผู้สอนควรสอบถาม ทำความรู้จักกับผู้เรียนในประเด็นต่อไปนี้
สังเกตความสนใจของผู้เรียน จากการสังเกตของผู้เขียนพบว่านักศึกษาจีนมีความสนใจและตั้งใจเรียนสูงมาก มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาบทเรียนล่วงหน้า
กำหนดระยะเวลาในการสอน นับเป็นปัจจัยที่กําหนดการสร้างแบบเรียน เนื้อหากิจกรรม ระยะเวลาในการสอนมีทั้งหลักสูตรระยะสั้น เช่น 30 ชั่วโมง 45 ชั่วโมง และหลักสูตรระยะยาว เช่น 1-2 ปีระยะเวลาเรียนที่สั้นอาจทำให้การเรียนการสอนมีข้อจํากัด เช่น การสอนอ่าน-เขียนผู้เรียนอาจมีความเข้าใจเพียงระดับต้น
สอบถามความต้องการหรือเป้าหมายของผู้เรียน เพื่อให้สร้างแบบเรียนได้ตรงตาม ความต้องการของผู้เรียนและมีประโยชน์ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่านักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยมีเป้าหมายที่หลากหลาย
วัดระดับความรู้ของผู้เรียน เพราะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้สอนทราบพื้นฐานด้านภาษาไทยของผู้เรียนว่าอยู่ในระดับใด ผู้เรียนอาจมีความรู้ภาษาไทยบ้างเล็กน้อยหรืออาจไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้การทดสอบความรู้จะทำให้ผู้สอนแบ่งกลุ่มที่เรียนได้อย่างเหมาะสม
ในปัจจุบันชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนนิยมเรียนภาษาไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลสำคัญในการมาเรียนภาษาไทยเนื่องด้วยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ต้องการประกอบอาชีพในประเทศไทย เช่น อาจารย์สอนภาษาจีน มัคคุเทศก์ทำธุรกิจกับคนไทย ฯลฯ รวมถึงยังมีชาวจีนที่แต่งงานและย้ายตามครอบครัวมาอยู่ที่ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
การสร้างแบบเรียน
แบบเรียนควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนจดจําง่าย ในแต่ละคาบของการเรียนไม่ควรสอนคำศัพท์ที่มากเกินความจําเป็น ใช้รูปประโยคสั้นๆที่มีความหมาย มุ่งสอนประโยคที่จําเป็นและสามารถนําไปสื่อสารทั้งในและนอห้องเรียน
แบบเรียนควรมีแบบฝึกหัด เพื่อทดสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาในแบบเรียนมากน้อยเพียงใด การทำแบบฝึกหัดจะช่วยทบทวนเนื้อหาที่เรียนแต่ควรสร้างแบบฝึกหัดให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
แบบเรียนควรมีการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ได้แก่การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนกับวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ
การจัดการเรียนการสอน
การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ห้องเรียนที่ดีควรมีอุปกรณ์การสอนที่จําเป็นต่อการเรียน เช่น หนังสือเรียน หนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไทย หนังสือเกี่ยวกับบุคคลสำคัญของไทย แผนที่ประเทศไทย แผนผังแสดงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์วีดิทัศน์ต่างๆ ฯลฯ
การใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย จะช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้มากกว่าการใช้เพียงหนังสือหรือตําราเท่านั้น สื่อการสอนอาจใช้สิ่งที่หาหรือทำขึ้นเองอย่างง่ายๆ เช่น บทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์หรือวารสาร บัตรคําที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ฝึกออกเสียง รูปภาพเพื่อกระตุ้นความคิดและจินตนาการของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้นการจัดการเรียนที่เหมาะสมมีแนวทางและข้อควรปฏิบัติที่ผู้สอนควรตระหนักและให้ความสำคัญดังนี้
การจัดกิจกรรม ถือเป็นกลวิธีอีกประเภทหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมแบ่งได้ 2 ประเภท
3.1 การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน อาจทำได้หลายวิธีเช่น การสร้างบทบาทสมมติโดยมอบหมายให้ผู้เรียนแสดงบทบาทตามสถานการณ์ที่กําหนดให้เช่น กำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนไปซื้อของและโต้ตอบกันระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย
3.2 การจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียน อาจทำได้หลายวิธีเช่น การทัศนศึกษานอกสถานที่ นับเป็นการเรียนรู้ภาษา สังคมและวัฒนธรรมในสถานการณ์จริง ทั้งนี้ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการใช้ภาษากับบุคคลอื่น เช่น การสั่งอาหาร การถามทาง ฯลฯ
กลวิธีการสอน นับเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน การใช้สื่อที่หลากหลาย การจัดกิจกรรม ผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
4.1 การสอนสัทอักษร จําเป็นอย่างยิ่งในการสอนภาษาไทยระดับต้นเพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลักษณะของหน่วยเสียงอันจะช่วยให้ผู้เรียนออกเสียงได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากที่สุดและออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
4.2 การสอนอ่าน-เขียน โดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่การสอนอ่าน- เขียนระดับต้น
การสอนอ่าน- เขียนระดับกลางและการสอนอ่าน- เขียนระดับสูงซึ่งแต่ละระดับย่อมมีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน แบบเรียนการสอนอ่าน- เขียนระดับต้นมักจะสอนคำศัพท์ที่ผู้เรียนควรรู้ทั่วๆไป ใช้ภาษาง่ายๆ ใช้ภาษาพูดในชีวิตประจำวัน
4.3 การสอนฟัง-พูด สามารถแบ่งวิธีการสอนได้ 3 ลักษณะตามแนวทางการฝึกของสมพงศ์วิทยศักดิ์พันธุ์ (2548: 249-250) ที่อธิบายถึงการสอนฟัง-พูดที่มีประสิทธิภาพไว้ดังนี้
ก การสอนฟังแบบ Bottom-Up เป็นการฟังรายละเอียดว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เช่น การฟังแล้วแยกความแตกต่างของเสียง ฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ฟังรายงานอากาศ การฟังในระดับกลางอาจให้ผู้เรียนฟังคําและวงกลมคําที่ได้ยิน ฟังและให้เดาความหมายรวมทั้งให้เติมคําในช่องว่าง)ปป
ข) การสอนฟังแบบ Top-Down เป็นการสอนให้เข้าใจความหมาย จุดประสงค์สถานการณ์เช่น บอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดได้เล่าเรื่องเป็นภาษาไทยได้วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ฟังได้จับใจความสำคัญและสามารถพูดเล่าเรื่องได้
ค) การสอนฟังและให้ทำแบบฝึกหัด Interactive Exercises เป็นการฟังข้อความและพูดเติมข้อความที่ขาดหายไปได้สรุปความคิดสำคัญและประเมินค่าได้วิจารณ์ข้อดีข้อผิดพลาดของสิ่งที่ฟังได้เมื่อฟังเรื่องแล้วสามารถเติมข้อมูลหรือเรื่องราวต่อไปได้
ข้อควรปฏิบัติของผู้สอน
สอดแทรกวัฒนธรรม ประเพณีวิถีปฏิบัติและความเชื่อของคนในสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรมอันจะช่วยลดอคติความแปลกแยกที่เกิดจากความไม่เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมลงได้และจะช่วยก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
สร้างบรรยากาศให้น่าเรียน โดยแสดงความเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใสเพื่อทeให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น กล้าที่จะซักถามปัญหาและแสดงความคิดเห็น การสอนควรเป็นไปอย่างสนุกสนานสอดแทรกกิจกรรมที่ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมได้ผู้สอนควรบูรณาการทักษะทั้ง 4 ได้อย่างเหมาะสมและไม่เครียด เช่น บูรณาการทักษะการฟัง-พูดไว้ด้วยกัน
มีจิตวิทยาและเข้าใจกระบวนการสอนภาษาให้นักศึกษาต่างชาติควรกระตุ้นผู้เรียนด้วยเทคนิคหรือกลวิธีที่น่าสนใจและหลากหลาย ควรชมผู้เรียนอย่างจริงใจเมื่อผู้เรียนปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ควรหาวิธีการพูดที่มีวาทศิลป์ในการชี้แจงข้อบกพร่องจากการตรวจงานของผู้เรียน หากเนื้อหาในบทเรียนยากเกินไปอาจหาวิธีการผ่อนคลายให้ผู้เรียนโดยพูดคุยเรื่องอื่นๆ
มีความรู้ในการใช้ภาษาไทยอย่างแท้จริง เพราะผู้สอนจะสามารถตอบคําถามในเรื่องต่างๆ ได้อย่างลุ่มลึก นอกจากนี้หากผู้สอนมีทักษะในการสื่อสารภาษาอื่นๆ ร่วมด้วย
เปิดโอกาสให้ซักถามในประเด็นที่สงสัยได้ตลอดเวลา ผู้สอนควรให้เวลานอกห้องเรียนแก่ผู้เรียนเพื่อปรึกษาปัญหาด้านการเรียนได้ด้วยรวมถึงต้องมอบหมายแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนและเป็นการฝึกฝนทักษะการเรียนในด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
บทสรุป
การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางทั้ง 3 ประการ ได้แก่การรู้จักผู้เรียนโดยทดสอบความรู้ของผู้เรียน สอบถามความต้องการหรือเป้าหมายของผู้เรียน สังเกตความสนใจของผู้เรียนและกำหนดระยะเวลาในการเรียนการสอนเพื่อนําไปสร้างแบบเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน แบบเรียนที่ดีต้องบูรณาการทักษะทั้ง 4 กับวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด มีวิธีการนําเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนจำง่ายและมีแบบฝึกหัดเพื่อช่วยในการทบทวนเนื้อหาที่เรียนทุกครั้ง