Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกหักและเนื้อเยื่อ…
บทที่ 4 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกหักและเนื้อเยื่อได้รับอันตราย
การรักษา
1.เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในกรณีกระดูกหักจะได้รับการรักษาโดย Reduction คือได้รับการจัดกระดูกให้เข้าที่
Retention หรือ Immobilization คือการให้กระดูกที่ถูกจัดเข้าที่แล้วอยู่นิ่งๆ รอจนกว่าจะมีการติดกันของกระดูกเกิดขึ้นจนแข็งแรงดีพอ splint Istrap
Rehabilitation
ภาวะแทรกซ้อน
เช่น อาการปวด การไม่สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้อาจเกิดกล้ามเนื้อลีบ ข้อติดยึด หรือแผลกดทับตามมาได้ การไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ บางรายอาจมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า
ปัญหาที่ 1 ไม่สุขสบาย : ปวดเกี่ยวเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเป็นผลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือมีกระดูกหักและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
เป้าหมาย -- เพื่อให้อาการปวดบรรเทาลงหรือหายไปหลังจากได้รับการพยาบาล
1.1 ประเมินลักษณะ ตำแหน่ง ระยะเวลาและความรุนแรงของอาการปวด
1.2 ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล รวดเร็ว และจัด/ยกอวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้สูง
1.3 ประคบความเย็นบริเวณที่ปวด ใน 24-48 ชั่วโมงแรกที่ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ
1.4 ให้ยาแก้ปวด เช่น Morphine หรือ Paracetamo ทุก 4-6 ชั่วโมง เวลาปวด
ปัญหาที่ 2 ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่าง
กาย/อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ
เป้าหมาย : เพื่อให้กล้ามเนื้อและช้อส่วนที่ได้รับบาดเจ็บสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติใกล้เคียง
ปกติมากที่สุด และสามารถเคลื่อนไหวได้หลังจากได้รับการรักษาและกระดูกติดดีแล้ว
การพยาบาล
2.1 ประเมินบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บว่ามีเลือดออก บวม ซีด ชา ปวดหรือทำหน้าที่ได้หรือไม่
2.2 จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สุขสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้
อาจต้องเปลี่ยนท่าทุก 1-2 ชั่วโมง
ปัญหาที่ 3 มีโอกาสเกิดแผลกดทับเกี่ยว
เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหว
ร่างกายหรือการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
เป้าหมาย :-เพื่อประเมินและป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนาน
การพยาบาล
3.1 ดูแลและช่วยพลิกตะแคงตัวให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
3.2 ทำความสะอาดร่างกาย และดูแลผิวหนังให้แห้งอยู่เสมอ
3.3 ดูแลผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้าให้สะอาดและเรียบตึงอยู่เสมอ
ปัญหาที่ 4 มีการติดเชื้อที่แผล
(กรณีที่มีกระดูกหักชนิดมีแผลเปิด
จะมีโอกาสในการติดเชื้อสูงมาก)
เป้าหมาย - เพื่อให้การติดเชื้อลดลงหรือหมดไปหลังจากได้รับการพยาบาล
การพยาบาล
4.1 ทำแผลด้วยเทคนิคปลอดเชื้อตามแผนการรักษา อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะการติดเชื้อให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ปัญหาที่ 5 มีโอกาสเกิดภาวะ Compartment syndrome เกี่ยวเนื่องจากเส้นเลือด/เส้นประสาทได้รับ
อันตรายหรือจากผลการรักษา เช่น การใส่เฝือก
การพันผ้ายืด เป็นต้น
เป้าหมาย : เพื่อประเมินและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ compartment syndrome ขึ้นกับผู้ป่วยหลังจากได้รับการพยาบาล
การพยาบาล
5.1 ประเมินสภาพแขน-ขา ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดหรือเส้นประสาทที่บริเวณนั้น ๆ หรือไม่โดยดูว่าผู้ป่วยมีอาการปวด (pain) ซีด (pallor) ชา (paresthesia) คลำชีพจรไม่ได้ (pulselessness) หรือเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนนั้นไม่ได้ (paralysis) หรือไม่
5.2 หมั่นสังเกตดูว่าเฝือกหรือผ้าที่พัน แน่นเกินไปหรือไม่ ถ้าพบให้คลายออกเพื่อป้องกันการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะส่วนปลายดังกล่าวอันเป็นผลให้เกิดภาวะนี้ขึ้น
ปัญหาที่ 6 มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อลีบและข้อติดยึด
เกี่ยวเนื่องจากอวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บไม่ได้ถูกใช้งานหรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหวเพื่อผลทางการรักษา
เป้าหมาย :- เพื่อได้รับการประเมินและป้องกันไม่ให้เกิดกล้ามเนื้อลีบ
และข้อติดยึดหลังจากได้รับการพยาบาล ตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาล
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยหมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อแบบ isometric หรือ isotonic exercise ถ้าสามารถทำได้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ และข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดี
ปัญหาที่ 7 ขาดความรู้ในการปฏิบัติการดูแลตนเอง
เกี่ยวเนื่องจากไม่คาดมาก่อนว่าจะได้รับ
บาดเจ็บ/มีกระดูกหัก
เป้าหมาย :- เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพยาธิสภาพที่ตนเป็นและสามารถปฏิบัติการ ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องหลังจากได้รับการพยาบาล
การพยาบาล
7.1 อธิบายถึงพยาธิสภาพของโรคที่ผู้ป่วยประสบว่าจะเกิดปัญหาใด และควรต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น กรณีกระดูกสันหลังหัก กระดูกต้นขาหัก เป็นต้น
7.2แนะนำและสอนให้ผู้ป่วย/ญาติเข้าใจถึงวิธีการใช้กายอุปกรณ์/เครื่องช่วยเดินต่าง ๆ ทั้งในขณะเมื่ออยู่ในโรงพยาบาลและเมื่อกลับไปบ้าน