ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทาง ช่องท้องอย่างต่อเนื่องมีโอกาสเกิดการติดเชื้อจากการสอดใส่ท่อล้างไตเข้าไปในช่องท้อง และต้องคาตลอดเวลา ทำให้เสี่ยงต่อเชื้อโรค ภายนอกเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยต่อระหว่าง ผิวหนังกับท่อล้างไต การปนเปื้อนขณะเปลี่ยน ถุงนํ้ายาล้างไต โอกาสติดเชื้อจากเชื้อประจํา ถิ่นในร่างกาย ผู้ป่วยเองผ่านทางอวัยวะภายใน ช่องท้อง ทางกระแสเลือด หรือแม้แต่ทาง อวัยวะภายในสตรี เชื้อที่เป็นสาเหตุมากที่สุด คือ เชื้อแบคทีเรียแกรมบวก คือ S.aureus, S.Epidermidis vs Streptococcus sp. ส่วนเชื้อที่เป็นสาเหตุการติดเชื้อ รุนแรง คือ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ E.coli, Klebsiella , Serratia, Enterobacter, Proteus, Acinebacter a Citrobacter ข้อบ่งชี้ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ คือ น้ำล้าง ไตขุ่นจากการที่ไฟบริโนไลซินทำลายไฟบริน ลดลงทำให้พบโปรตีนจำนวนมากในช่องท้อง และในน้ำยาล้างไตพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 100 cell/cu.m ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง เล็กน้อยจนถึงมากที่สุดและมีไข้ต่ำๆถึงไข้สูง