Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้ว, นางสาวณัฐนรี สวนจันทร์ เลขที่2 116312201003-1 …
โรคอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้ว
ความหมาย
บุคคลที่มีความผิดปกติทางอารมณ์อย่างเห็นได้ชัด โดยแสดงออกถึงอารมณ์เศร้ามากผิดมากปกติซึ่งพยาธิสภาพทางอารมณ์นี้ส่งผลถึงพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ทำให้มีพฤติกรรมแปลกๆ
เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์เกิดขึ้นสองแบบ มีลักษณะตรงข้ามกันเป็นคนละขั้ว โดยช่วงที่มีอาการแสดงออกแบบร่าเริงจะเป็นตัวบ่งชี้ในการวินิจฉัยโรคนี้
กลุ่มโรคทางจิตที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ผิดปกติเป็นอาการสำคัญ อาการนั้นมีมากจนทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลต่อความคิด การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้อื่นอาจจะมีอาการด้านเดียวหรือสองด้านก็ได้
การบำบัดรักษา
ด้านชีวภาพ
ระยะเฉียบพลัน รักษาด้วยยา และรักษาด้วยไฟฟ้า
การป้องกันระยะยาว เป็นการรักษาที่มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจโรค ยอมรับความเจ็บป่วย และให้ความร่วมมือในการรักษา
ด้านจิตสังคม
การบำบัดการรู้คิด มุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
การบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เน้นการช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักและแก้ไขกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
การให้สุขภาพจิตศึกษา การให้ความรู้กับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวบกับโรค รวมไปถึงการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
ครอบครัวบำบัด ส่งผลช่วยให้ผู้ป่วยคงอยู่ในระยะฟื้นฟูนานขึ้นและช่วยเพิ่มความรวมมือในการรักษามากขึ้นด้วย
สาเหตุ
ทางพันธุศาสตร์ พบว่าถ้าบิดามารดาคนใดคนหนึ่งป่วย บุตรจะมีโอกาสป่วย ร้อยละ 27 แต่ถ้าบิดามาดาป่วยทั้งสองคน บุตรมีโอกาสป่วยร้อยละ 50-70 และญาติสายตรงมีความเสี่ยง
ทางจิตวิทยาและสังคม ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดอารมณ์เศร้า ปัจจัยทางความคิดละการรับรู้ มักมีกระบวนการคิดที่บิดเบือน ประเมินค่าตนเองต่ำ
ทางชีววิทยา ความผิดปกติของสารสื่อประสาทโดยเฉพาะกลุ่มโมโนเอมีน ความผิดปกติของระบบประสาทต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท ระบบวิทยาภูมิคุ้มกันของโครงสร้างและการทำงานของสมองโดยเฉพาะ
อุบัติการณ์
ในคนไทยประชากรอายุ 15-59 ปี จำนวน 17,140 คน พบว่า Bipolar affective disorder, current episode mixed เป็นร้อยละ 34.7 ประมาณหนึ่งในสามของภาวะ bipolar disorder ทั้งหมด
กระบวนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัย
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีพฤติกรรมควบคุมผู้อื่น
กระบวนการคิดแปรปรวนเนื่องจากเชื่อว่าตนมีความสามารถพิเศษ
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีกิจกรรมมากกว่าปกติ
การวางแผน
การนอนหลับเป็นปกติ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
กระบวนการคิดปกติและรับรู้ความสามารถของตนตามความเป็นจริง
ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามปกติ
มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเหมาะสม
สนใจดูแลสุขอนามัยและการแต่งกายของตน
การประเมินภาวะสุขภาพ
แบบแผนการรับรู้ตนเองอัตมโนทัศน์และสภาพอารมณ์ ในรายซึมเศร้าจะรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ในเมเนียจะรู้สึกว่าคุณค่าในตนสูงขึ้น
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ มีการแสดงบทบาทไม่เหมาะสม
แบบแผนการรู้คิด การรับรู้และการสื่อสาร ควรสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกจากภาษาท่าทาง
แบบแผนการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ในรายที่มีอาการซึมเศร้ามักจะอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
แบบแผนการพักผ่อนและนอนหลับ ในรายซึมเศร้าจะนอนเยอะ ในเมเนียจะนอนน้อย
แบบแผนทางเพศและการเจริญพันธ์ ในรายซึมเศร้าขาดความสนใจกิจกรรมทางเพศ ในเมเนียบางรายขาดความยับยั่งชั่งใจในเรื่องเพศ
แบบแผนการขับถ่าย พบว่าท้องผูกพบบ่อยในผู้ป่วยเคลื่อนไหวช้า ท้องเสียพบในผู้ป่วยที่มีอาการกระสับกระส่าย
แบบแผนความเครียด ความทนต่อความเครียดและการจัดการความเครียดในรายซึมเศร้าจะหันความรู้สึกเขาหาตน ในเมเนียจะใช้การแสดงออก อาจก้าวร้าวรุนแรงได้
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร มักมีน้ำหนักข้ึนหรือลดอย่างมีนัยสำคัญ
แบบแผนคุณค่า ความเชื่อและสุขภาวะทางจิตวิญญาณ จะมีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ ส่วนมากไม่รู้ถึงความผิดปกติของตน
การปฏิบัติการพยาบาล
สนทนาเพื่อการบำบัด ค้นหาสาเหตุ
ประเมินภาวะระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก้าวร้าว
การจัดสิ่งแวดล้อม ลดการกระตุ้นอาการของโรค
การให้ความรู้ ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค
การทำกลุ่มจิตบำบัด เช่น การปรับพฤติกรรมและความคิด จิตบำบัดครอบครัว จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล กลุ่มสุขภาพจิตศึกษา
การดูแลเรื่องการรับประทานยา
การติดตามเยี่ยมในชุมชน ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อผู้ป่วยกลับไปที่บ้าน
การประเมินผล
การนอนหลับปกติ
ไม่มีภาวะซึมเศร้า
สนใจและดูแลสุขอนามัยของตน
รับรู้ความสามารถของตนเองตามความเป็นจริง
มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเหมาะสม
บทบาทของพยาบาล
การปรับความคิดและพฤติกรรมบำบัด Cognitive therapy, Behavior therapy
การบำบัดรักาาทางเลือก เป็นการใช้การรักษาโดยธรรมชาติ เช่น การออกกำลังกาย โยคะ การนวด
การบำบัดรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญมาก ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสประสบความสำเร็จจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการยอมรับนับถือตนเอง ทำให้เชื่อมั่นในตนเองและเห็นคุณค่าในตนเอง
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-5
ระยะไฮโปแมเนีย มีอากาเหมือนกับระยะเมเนีย แต่เป็นนานอย่างน้อย 4 วัน โดยที่มีอาการเปลี่ยนไปจากลักษณะเดิมของบุคคลอย่างชัดเจน แต่อาการไม่รุนแรงจนถึงกับมีผลกระทบให้เกิดความบกพร่องของการทำหน้าที่ต่างๆ
ระยะซึมเศร้า มีอาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือมีอารมณ์เศร้า สนใจในกิจกรรมที่เคยทำปกติลดลง เป็นต่อเนื่อง อย่างน้อย 2 week มีอย่างน้อย 3-4 อาการ
รู้สึกผิดมากเกินควร รู้สึกไร้ค่าในตนเองเกือบทุกวัน
อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง
ไม่มีสมาธิ ความสามารถในการคิดและตัดสินใจลดลง
มีความคิดอยากตายอยู่ซ้ำ พยายามฆ่าตัวตาย
เชื่องช้าลง กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง
นอนไม่หลับหรือหลับมากเกือบเกือบทุกวัน
น้ำหนักตัวลดหรือเพิ่มโดยไม่ได้ตั้งใจควบคุม เปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5
ระยะเมเนีย ผู้ป่วยจะมีอารมณ์สนุกสนาน มีพลังเรี่ยวแรงมากขึ้น มีอาการเกือบทั้งวัน นาน 1 week ต้องมีอาการอย่างน้อย 3-4 ข้อ
ความต้องการการนอนลดลง
พูดมากกว่าปกติ พูดไม่หยุด
มีความคิดว่าตนเองเป็นคนสำคัญเป็นใหญ่เป็นโต
รู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว เปลี่ยนเรื่องเร็ว
เปลี่ยนความสนใจไปตามสิ่งเร้าภายนอกอย่างรวดเร็ว วอกแวกง่าย
ทำกิจกรรมมากขึ้นกว่าที่เคย
ทำกิจกรรมที่ทำให้ตนเองเพลิดเพลินมากเกินไปทั้งที่มีความเสี่ยง ผลเสียตามมา ซึ่งแสดงถึงการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม
นางสาวณัฐนรี สวนจันทร์ เลขที่2 116312201003-1