Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงข้อหมุนไม้ - Coggle Diagram
โครงข้อหมุนไม้
บทนำ
โครงข้อหมุนหรอโครงถัก (Truss) ประกอบขึ้นจากท่อนหรอแท่ง (Bars) ของวัสดุก่อสร้าง ต่อยึดติดกันเป็นโครงย่อยรูปสามเหลี่ยมหลายๆรูป ส่วนใหญ่ใช้ในงานสะพานและอาคาร จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ประเภทโครงชัน (Pitched truss หรือ Triangular truss)
- ประเภทแบน (Flat truss หรือ Parallel chord truss)
- ประเภทโค้ง (Bowstring truss)
โครงหลังคา
ประเภทโครงชัน (Pitched truss หรือ Triangular truss) ระยะระหว่างจุดต่อ 1.5 - 3.0 เมตร เมื่อใช้ไม้หนา 2'' - 4'' อัตราส่วนความสูงต่อความยาวคือ 1:5 ถึง 1:6 สามารถใช้ความยาวได้ตั้งแต่ 6 - 25 เมตร
ประเภทแบน (Flat truss หรือ Parallel chord truss) ระยะระหว่างจุดต่อ 1.5 - 3.0 เมตร เมื่อใช้ไม้หนา 2'' - 4'' อัตราส่วนความสูงต่อความยาวคือ 1:7 ถึง 1:10 ความลาดเอียงควรมีค่ามากกว่า 15 องศา ป้องกันการไหลย้อนและการรั่วซึมของน้ำฝน ใช้ความยาวได้ตั้งแต่ 12 - 45 เมตร
ประเภทโค้ง (Bowstring truss) ระยะระหว่างจุดต่อ 2.0 - 3.5 เมตร อัตราส่วนความสูงต่อความยาวคือ 1:5 ถึง 1:6 รัศมีของคอร์ดบนมีค่าเท่ากับช่วงความยาว สามารถใช้ความยาวได้ตั้งแต่ 10 - 65 เมตร
ขั้นตอนการออกแบบ
หาน้ำหนักบรรทุกใช้งาน หน่วยเป็น กก./ม.^2 ในแนวราบ ประกอบด้วยน้ำหนักบรรทุกคงที่ และน้ำหนักบรรทุกจรต่อพื้นที่ในแนวราบ รวมถึงถึงแรงลม
PDL = ระยะระหว่างโครงไม้ x ช่วงย่อย x น้ำหนักต่อตารางเมตรในแนวราบ
การหาน้ำหนักของโครงไม้ หน่วยเป็น กก./ม.^2 ในแนวราบ จากสูตร Howard J. Hansen
โครงชัน : w = 1.025L กก./ม.^2
โครงแบน : w = 0.689L + 8.545 กก./ม.^2
โครงโค้ง : w = 0.609L + 2.930 กก./ม.^2
-
-
-
ออกแบบรอยต่อที่จุดต่อช่วง และการต่อไม้ พิจารณาจากแรงภายในสูงสุดและมีแนวแรงกระทำเป็นมุมกับเสี้ยนไม้มากที่สุด แล้วจัดตำแหน่งของตัวยึดไม้
การโก่งตัว (Deflection)
การแอ่นหรือโก่งตัวเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกคงที่ เนื่องจากน้ำหนักบรรทุกจร และเนื่องจากแรงลม นำมารวมเพื่อหาค่าสูงสุดที่เกิดขึ้น และนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่ยอมให้
-
-