Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน - Coggle Diagram
การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน
ความหมายของค่าเเรงงาน
ค่าเเรงตรง
เป็นค่าเเรงที่กิจการจ่ายให้คนงานที่ผลิตสินค้าโดยตรง คือ เป็นผู้ทำการแปรสภาพวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น ค่าแรงของพนักงานแผนกผลิต ค่าเเรงผู้ควบคุมเครื่องจักร (Operator)ค่าเเรงนี้จะคิดเข้าเป็นต้นทุนของชิ้นงานที่ผลิตโดยตรง
ค่าแรงทางอ้อม
เป็นค่าเเรงที่จ่ายให้คนงาน หรือพนักงานที่อยู่แผนกอื่นๆ ในโรงานที่ไม่ได้ทำการผลิตโดยตรง เช่น ค่าแรงของผู้ควบคุมพัสดุ เงินเดือนยาม เงินเดือนผู้จัดการโรงงาน
แรงงานดังกล่าวต้องเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าโดยตรง
สามารถคำนวณค่าแรงเข้าเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าหนึ่งหน่วยได้โดยง่ายเมื่อพิจารณาเงินเดือนผู้ควบคุมงานหรือหัวหน้าคนงาน
การควบคุมเกี่ยวกับค่าเเรง
แผนกบุคลากร
มีหน้าที่จัดหางานต่างๆ เข้ามาในโรงงาน
การกำหนดมาตรฐานแรงงาน เป็นการแบ่งประเภทงานกำหนดลักษณะงานในหน้าที่ต่างๆ ประเมินผลงาน
การว่าจ้าง เกี่ยวข้องกับการรับสมัคร การสัมภาษณ์ การทดสอบและการบรรจุเข้าทำงานตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของบุคคลนั้น
การฝึกอบรม เกี่ยวข้องกับการอบรมฝึกฝน เพื่อให้พนักงานได้มีความชำนาญเพิ่มขึ้น หรือเพื่อเตรียมคนให้พร้อมที่จะได้รับการเลื่อนขั้น
สวัสดิการ เป็นเรื่องของการดูแลรักษาความปลอดภัยของคนงาน
แผนกวางแผนการผลิต
มีหน้าที่ในการกำหนดแผนการผลิตว่าจะใช้แรงงานประเภทใด แผนกใด เป็นจำนวนเท่าใด
แผนกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง
แผนกควบคุมเวลางาน
แผนกค่าแรง
แผนกบัญชีต้นทุน
บัตรตรงเวลา
บัตรบันทึกเวลาทำงาน
ใบสรุปต้นทุนค่าแรง
การคำนวณต้นทุนค่าแรง
การคำนวณค่าเบื้องต้น
การคำนวณค่าเเรงปกติ
การคำนวณค่าเเรงล้วงหน้า
การวิเคราะห์และจำแนกประเภทค่าแรง
การจ่ายค่าแรง
การจ่ายค่าแรงให้กับคนงานหรือพนักงาน อาจจ่ายให้ตามรายชิ้นของผลงานที่ทำได้หรืออาจจ่ายเป็นชั่วโมง บางประเภทจ่ายเป็นเงินเดือนประจำการจ่ายค่าแรงเเละเงินเดือนอาจจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คก็ได้ แต่โดยทั่วไปกิจการขนาดเล็กมักจ่ายเป็นเงินสด แต่ถ้าขนาดใหญ่หรือมีพนักงานหลายคน มักจะให้พนักงานทุกคนเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง
บันทึกค่าเเรงเบื้องต้น รายการหักต่างๆและค่าเเรงสุทธิ
บันทึกค่าแรงเป็นต้นทุนการผลิต
บันทึกการจ่ายค่าแรงแก่คนงาน
เงินพิเศษต่างๆและค้าสวัสดิการ
ค่าล่วงเวลา
ค่าแรงที่จ่ายให้พนักงานงานหรือคนงานในช่วงนอกเวลางานปกติ
ค่าล่วงเวลาของคนงาน ซึ่งไม่ได้ทำการผลิตสินค้าโดยตรง ถือเป็นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต
ค่าล่วงเวลาของคนงาน ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าโดยตรง
ถ้าทำงานล่วงเวลาเกิดขึ้นการการรับงานลูกค้า การที่ทำงานนั้นให้เสร็จตามกำหนดได้ ต้องมีการทำล่วงเวลา กรณีเช่นนี้จะถือว่าค่าล่วงเวลานั้นเป็นค่าแรงทางตรง
การทำงานล่วงเวลาเกิดขึ้นการการที่กิจการรับงานไว้เกินกำลังที่จะผลิตได้ทันในเวลาปกติ เช่น ช่วงที่ยอดสูงกว่าปกติ หรือเครื่องจักรชำรุด วัตถุดิบขาดแคลน กรณีเช่นนี้ถือว่าค่าล่วงเวลาที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากอัตราปกติเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตส่วนที่จ่ายในอัตราปกติถือเป็นต้นทุนค่าเเรงทางตรง
เงินรางวัลพนักงาน
เป็นผลตอบแทนที่พนักงานงานจ่ายไปเพื่อเพิ่มขวัญเเละกำลังใจแก่พนักงานนอกเหนือจากค่าจ้างหรือเงินเดือน รายจ่ายเงินประเภทนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายแต่บะกิจการว่าจะจ่ายเมื่อใด ในกรณีใด เช่น ทำงานโดยไม่ลาหรือมาสายในเวลาที่กำหนด ปรกตินิยมจ่ายเป็นรางวัลพนักงานในสิ้นปี เป็นต้น
ค่าเข้ากะ
เป็นเงินพิเศษที่กิจการจ่ายให้ลูกจ้างกรณีทำงานนอกเวลาปกติเป็นเป็นการจ่ายกรณีพิเศษเพื่อชดเชยกับการที่ลูกจ้างทำงานในตอนกลางคืน เป็นต้น
เงินชดเชยเมื่อออกงาน
กรณีให้พนักงานออกจากงานโดยไม่มีความผิดอาจเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี กิจการต้องปลดคนงานหรือพนักงานออกไปหรือไม่มีงานให้ทำ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังกล่าว