Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน - Coggle Diagram
การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน
ความหมายของค่าแรงงาน
ค่าแรงทางตรง
เป็นค่าแรงที่กิจการจ่ายให้คนงานที่ทำหน้าที่ในการผลิตสินค้า
ค่าแรงทางอ้อม
เป็นค่าเเรงที่จ่ายให้คนงาน หรือพนักงานที่อยู่ในแผนกอื่นๆที่ไม่ได้ทำการผลิตโดยตรง
การควบคุมเกี่ยวกับค่าแรงงาน
แผนกบุคลากร (Personal Department) มีหน้าที่จัดหาแรงงานต่างๆ เข้ามาในโรงงาน หน้าที่โดยสรุปของแผนกนี้ คือ
1.1 กำหนดมาตรฐานแรงาน 1.2 การว่าจ้าง 1.3 การฝึกอบรม 1.4 สวัสดิการ
แผนกวางแผนการผลิต (production Planning Department) มีหน้าที่ในการกำหนดแผนการผลิตว่าจะใช้แรงงานประเภทใด แผนกใด เป็นจำนวนเท่าใด
แผนกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง (Payroll Accounting Department) มีหน้าที่เก็บเวลาทำงานของคนงาน คำนวณค่าแรง วิเคราะห์ค่าแรงเข้างาน และจ่ายค่าแรงให้คนงาน โดยอาจแบ่งเป็น 3 แผนกย่อยๆ คือ
ก) แผนกควบคุมเวลาทำงาน ข) แผนกค่าแรง ค) แผนกบัญชีต้นทุน
เอกสารที่ใช้ประกอบกระบวนการเกี่ยวกับค่าแรง ได้เเก่
บัตรลงเวลา (Clock Card) หรือบัตรนาฬิกา เป็นบัตรที่จัดทำสำหรับคนงานแต่ละคนในแต่ละงวดค่าเเรงเพื่อให้คนงานบันทึกเวลาเข้า-ออกในโรงงาน โดยสอดบัตรเข้าไปในนาฬิกาเพื่อประทับเวลา ซึ่งเรียกว่า การตอกบัตร
บัตรบันทึกเวลาทำงาน (Time Ticket) คือ บัตรที่ใช้บันทึกเวลาที่พนักงานใช้ไปในการผลิตในลักษณะต่างๆ เพื่อแสดงให้ทราบว่าพนักงานทำงานประเภทใด ที่ไหน ใช้เวลาเท่าใด โดยผู้รักษาเวลา จะเป็นผู้รวบรวมบัตรบันทึกเวลาทำงานจากหัวหน้าแผนกต่างๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับบัตรลงเวลา
ทะเบียนค่าเเรง (Payroll Record) เป็นหน้าที่ของแผนกค่าเเรงที่จะจัดทำทะเบียนค่าเเรงขึ้น เพื่อใช้บันทึกค่าเเรงของพนักงานทุกคน ที่คำนวณได้จากบัตรบันทึกเวลาทำงาน โดยแสดงรายละเอียดที่ต้องหัก เพื่อหาค่าเเรงสุทธิที่จะต้องจ่าย
4.ใบสรุปต้นทุนค่าเเรง (Labor Cost Summary) เป็นเอกสารที่ใช้บันทึกค่าเเรงงานที่ได้วิเคราะห์และแยกประเภทแล้วว่าเป็นค่าแรงงานทางคตรง หรือค่าแรงงานทางอ้อม
การคำนวณต้นทุนเกี่ยวกับค่าแรงงาน
การคำนวณค่าเเรงเบื้องต้น (Gross Payrolls)
การคำนวณค่าแรงปกติ
ค่าแรงปกติ = จำนวนชั่วโมงในการทำงาน*อัตราค่าเเรงรายชั่วโมง
ค่าแรงปกติ = จำนวนหน่วยที่ผลิตได้*อัตราค่าแรงรายชิ้น
การคำนวณค่าแรงล่วงเวลา
2.1อัตราค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ หมายถึง ถ้าคนงานทำงานนอกเวลาปกติ หรือเกินชั่วโมงการทำงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าเเรงให้ลูกจ้างในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของค่าเเรง
2.2 อัตราล่วงเวลาในวันหยุด ถ้าคนงานหรือพนักงานลูกจ้างทำงานในวันหยุด นายข้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของค่าเเรงปกติ
การคำนวณค่าแรงสุทธิ (Net Payroll or Net Earning)
ค่าแรงงานสุทธิ = ค่าแรงงานเบื้องต้น-รายการหักต่างๆ
การวิเคราะห์และจำแนกประเภทของค่าแรงงาน
การจ่ายค่าแรง
การจ่ายค่าแรงให้แก่คนงานหรือพนักงาน อาจจ่ายให้ตามรายชิ้นของผลงานที่ทำได้หรืออาจจ่ายเป็นรายชั่วโมงที่ทำงาน ค่าเเรงและเงินเดือนดังกล่าวอาจจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คก็ได้ โดยทั่วไปกิจการขนาดเล็กมักจ่ายเป็นเงินสด แต่ถ้าเป็นกิจการขนาดใหญ่มักจะให้คนงานหรือพนักงานทุกคนเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารที่ธนาคารและสาขาที่กิจการมีเงินฝากและโอนเข้าบัญชีเงินฝากของพนักงานแต่ละคน ส่วนผู้บริหารระดับสูงมักจะจ่ายเป็นเช็คให้แต่ละคน
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน
การบันค่าเเรง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1.บันทึกค่าแรงเบื้องต้น รายการหักต่างๆ และค่าแรงสุทธิ
บันทึกค่าแรงเป็นต้นทุนการผลิต
บันทึกการจ่ายค่าแรงแก่คนงาน
เงินพิเศษต่างๆ และสวัสดิการ
ค่าล่วงเวลา
ค่าล่วงเวลา หมายถึง ค่าเเรงที่จ่ายให้พนักงานหรือคนงานในช่วงเวลานอกเวลาปกติ ซึ่งตามกฎหมายแรงงาน นายจ้าฃจะต้องจ่ายค่าแรงชนิดนี้ในอัตราที่สูงกว่าค่าแรงปกติ ค่าล่วงเวลาของคนงาน ซึ่งไม่ได้ทำการผลิตสินค้าโดยตรง ถือเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต
เงินรางวัลพนักงาน (Bonus)
เป็นผลตอบแทนที่กิจการจ่ายไปเพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พนักงานนอกเหนือจากค่าจเาฃหรือเงินเดือน
การคิดว่าตอบเเทนประเภทนี้เป็นต้นทุนการผลิต ถ้าจ่ายให้คนงานที่ทำงานทางตรงถือเป็นต้นทุนค่าแรงงานทางตรง แต่ถ้าจ่ายให้คนที่มำงานทางอ้อมถือว่าเป็นต้นทุนค่าเเรงทางอ้อม
เงินบำนาญ (Employee Pension Cost)
หมายถึง เงินที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ กิจการบางแห่งเป็นผู้จ่ายเงินบำนาญให้ลูกจ้างฝ่ายเดียว บางกิจการหักจากเงินได้ของลูกจ้างส่วนหนึ่งปละกิจการสมทบอีกส่วนหนึ่ง
ค่าเข้ากะ (Shift Premium)
เป็นเงินพิเศษที่กิจการจ่ายให้ลูกจ้างกรณีทำงานนอกเวลาปกติ ซึ่งเป็นการจ่ายให้กรณีพิเศษชดเชยกับลูกจ้างในตอนกลางคืน กิจการที่มีการทำงานลักษณะนี้จะมีการเเบ่งเวลาการทำงานในเเต่ละวันเป็น 2 หรือ 3 กะ กะละ 8 ชั่วโมง ผู้ที่ทำงานกะกลางคืน จะได้เงินพิเศษเพิ่มเรียกว่า ค่าเข้ากะ
เงินชดเมื่อออกจากงาน
เป็นเงินที่บริษัทจ่ายให้พนักงานในกรณีที่ให้พนักงานออกจากงานโดยไม่มีความผิด ตามกฎหมายแรงงานได้บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังกล่าว
เงินสวัสดิการอื่นๆ
นอกจากค่าแรงล่วงเวลา โบนัส และผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว กิจการบางแห่งก็ยังได้จัดสวัสดิการด้านต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล การจัดรถรับส่งพนักงาน การเลี้ยงอาหารกลางวันแก่พนักงาน การจัดฝึกอบรมให้พนักงาน เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการ