Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครไทย, image, ละคร เรื่องคาวี, image, สถานที่แสดง, image, ละคร…
ละครไทย
ละครรำ ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง และบทขับร้องเพื่อดำเนินเรื่อง ละครรำมีผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แต่งองค์ทรงเครื่องตามบท งดงามระยับตา ท่ารำตามบทร้องประสานทำนองดนตรีที่บรรเลงจังหวะช้า เร็ว เร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน หรือเศร้าโศก ตัวละครสื่อความหมายบอกกล่าวตามอารมณ์ด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย วาดลีลาตามคำร้อง จังหวะและเสียงดนตรี
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ละครรำแบบมาตรฐานดั้งเดิม
มี 3 ชนิด
ละครชาตรี
เป็นละครที่มีมาแต่สมัยโบราณ และมีอายุเก่าแก่กว่าละครชนิดอื่น ๆ มีลักษณะเป็นละครเร่คล้ายของอินเดียที่เรียกว่า “ ยาตรี ” หรือ “ ยาตรา ” ซึ่งแปลว่าเดินทางท่องเที่ยว ละครยาตรานี้คือละครพื้นเมืองของชาวเบงคลีในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นละครเร่ นิยมเล่นเรื่อง “ คีตโควินท์ ” เป็นเรื่องอวตารของพระวิษณุ ตัวละครมีเพียง ๓ ตัว คือ พระกฤษณะ นางราธะ และนางโคปี ละครยาตราเกิดขึ้นในอินเดียนานแล้ว ส่วนละครรำของไทยเพิ่งจะเริ่มเล่นในสมัยตอนต้นกรุงศรีอยุธยา จึงอาจเป็นได้ที่ละครไทยอาจได้แบบอย่างจากละครอินเดีย เนื่องจากศิลปวัฒนธรรมของอินเดียแพร่หลายมายังประเทศต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีน เช่น พม่า มาเลเซีย เขมร และไทย จึงทำให้ประเทศเหล่านี้มีบางสิ่งบางอย่างคล้ายกันอยู่มาก โดยส่วนใหญ่นิยมเล่นเรื่อง มโนห์รา
ละครนอก
มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นละครที่แสดงกันนอกราชธานี แต่เดิมคงมาจากการละเล่นพื้นเมือง และร้องแก้กัน แล้วต่อมาภายหลังจับเป็นเรื่องเป็นตอนขึ้น เป็นละครที่ดัดแปลงวิวัฒนาการมาจากละคร “ โนห์รา ” หรือ “ ชาตรี ” โดยปรับปรุงวิธีแสดงต่างๆ ตลอดจนเพลงร้อง และดนตรีประกอบให้แปลกออกไป นิยมเล่นเรื่อง ไกรทอง โคบุตร ไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง เป็นต้น
ละครใน
เป็นละครที่เกิดขึ้นในพระราชฐานจึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน สุภาพ ละครในมีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ ๓ ประการ คือรักษาศิลปะของการรำอันสวยงาม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด รักษาความสุภาพทั้งบทร้องและเจรจา สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นิยมเล่นเรื่อง รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท
ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
มี 3 ชนิด
ละครดึกดำบรรพ์
เป็นละครรำอีกแบบหนึ่งที่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้ดัดแปลงมาจากโอเปร่าของฝรั่ง โดยใช้เรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ของไทย ทำเป็นแบบละครรำ แต่ดำเนินเรื่องให้รวดเร็ว และจัดฉากประกอบเรื่องให้ดูสมจริง. ละครดึกดำบรรพ์เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้รวบรวมผู้มีความรู้ดีในด้านการจัดบท คิดท่ารำ คัดเพลงร้อง และดำเนินการฝึกซ้อม มาร่วมกันจัด โดยดัดแปลงมาจากการเล่นคอนเสิร์ตเรื่อง คือร้องเพลงที่ต่อกันเป็นเรื่อง ต่อมาจึงจัดผู้แสดงตามบทออกมาร่ายรำ เสริมบทเจรจา และตัดบทอธิบายกิริยาท่าทางออก ทำให้การแสดงกระชับรวดเร็วกลายเป็นละคร ที่เรียกว่าละครดึกดำบรรพ์นั้นมาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ละครที่แสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์จึงได้ชื่อว่า ละครดึกดำบรรพ์
ละครพันทาง
คือ การนำเอาลีลาท่าทีของชนต่างชาติเข้ามาปรับปรุงกับท่ารำแบบไทย ๆ การแสดงละครชนิดนี้แต่เดิมเป็นการริเริ่มของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เป็นผู้คิดค้นนำเอาเรื่องของพงศาวดารของชาติต่าง ๆ มาแต่งเป็นบทละครสำหรับแสดง
ละครเสภา
คือละครที่มีลักษณะการแสดงคล้ายละครนอก รวมทั้งเพลงร้องนำ ทำนองดนตรี และการแต่งกายของตัวละครแต่มีข้อบังคับอยู่อย่างหนึ่งคือต้องมีขับเสภาแทรกอยู่ด้วยจึงจะเป็นละครเสภา
ละครร้อง ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจาทวนบทร้องที่ร้องจบไป ตัวละครแต่งกาย และใช้อากัปกิริยาตามสภาพของบุคคลในเรื่อง
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ละครร้องล้วน ๆ
-
-
-
การแสดง ตัวละครขับร้องโต้ตอบกัน และเล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูด ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงล้วนๆ ไม่มีบทพูดแทรก มีเพลงหน้าพาทย์ประกอบอิริยาบถของตัวละคร จัดฉากประกอบตามท้องเรื่อง ใช้เทคนิคอุปกรณ์แสงสีเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศให้สมจริง
-
-
-
ละครร้องสลับพูด
-
-
-
การแสดง มีทั้งบทร้องและบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด
-
-
-
ละครพูด ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ดำเนินเรื่องด้วยบทพูด ไม่มีบทร้อง ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ตัวละครอาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉาก และแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ละครพูดล้วน ๆ
ผู้แสดง ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้
-
เรื่องที่แสดง เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรือง"โพงพาง" เมื่อ พ.ศ. 2463 เรื่องต่อมาคือ "เจ้าข้าสารวัด" ทั้งสองเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การแสดง การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของละครชนิดนี้คือ ในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจ มักจะใช้วิธีป้องปากพูดกับผู้ดุ ถึงแม้จะมีตัวละครอื่นๆ อยู่ใกล้ๆ ก็สมมติว่าไม่ได้ยิน
-
-
ละครพูดสลับลำ
-
-
เรื่องที่แสดง ได้แก่ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่ ซึ่งเป็นของนายบัว ทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องแทรก โดยใช้พระนามแฝงว่า "ศรีอยุธยา" และทรงแสดงเป็นหลวงเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. 2449
การแสดง ยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว บทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความ ย้ำความ
ดนตรี บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆ แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่อง ถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-