Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CKD stage 5 with volume overload, พยาธิสภาพ, หมายถึง, Case, Case, Case,…
CKD stage 5 with volume overload
เกิดจากการเสื่อมของไตและการถูกทำลายของหน่วยไต มีผลทำให้การกรองทั้งหมดลดลง และการขับถ่ายของเสียลดลงปริมาณ Creatinine และBUN ในเลือดสูงขึ้นหน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมากผิดปกติ เพื่อกรองของเสียที่มากขึ้นผลที่เกิดขึ้น คือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกต่อเนื่องหน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆทำให้เสียเกลือแร่ออกจากร่างกายเมื่ออัตรากรองของไตน้อยกว่า 10 ถึง 20 มิลลิลิตร/นาที ส่งผลทำให้เกิดการคั่งของยูเรีย ในร่างกายเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุดดังนั้นเมื่อเข้าสู่ระยะดังกล่าว ผู้ป่วยจึงควรรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต
หมายถึงภาวะการเสื่อมหน้าที่ของไตซึ่งก้าวหน้าไปเรื่อยเรื่อยและไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนมาทำหน้าที่เหมือนปกติได้ผลที่เกิดจากการเสื่อมหน้าที่ของไตคือจะมีอัตราการกรองของไตที่ลดลง(GFR)หน้าที่ของ Tubule ลดลง ตายจะเสียหน้าที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงระยะสุดท้าย
สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุทาง Immunologic
สาเหตุจากการติดเชื้อ
สาเหตุจากการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
โรคทาง metabolic เช่น เบาหวาน โรคเก๊า
โรคทางหลอดเลือดเช่นโรคความดันโลหิตสูง Infarction
โรคทางพันธุกรรมและความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น Renal hypoplasia
สารที่เป็นพิษต่อไต
ไตอักเสบจากแสงรังสี (radiation nephritis)
มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukemia
Hypercalcemia
Multiple myeloma
ระยะของไตวายเรื้อรัง
ระยะที่1 มีการทำลายไตเกิดขึ้นแต่อัตราการกรองยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ eGFR >90
ระยะที่2 มีการทำลายไต ร่วมกับอัตราการกรองลดลงเล็กน้อย eGFR 60-89
ระยะที่3 มีการลดลงของอัตราการกรองของไตปานกลาง eGFR 30-59
ระยะที่4 มีการลดลงของอัตราการกรองของไตรุนแรง eGFR15-29
ระยะที่5 มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease: ESRD) eGFR<15
อาการและอาการแสดง
มีอาการเนื่องมาจากของเสียคั่ง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามตัว สะอึก ปลายมือปลายเท้าชา เป็นตะคริวบ่อยๆ
ปริมาณปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน หรือปัสสาวะน้อย แสบขัดเวลาปัสสาวะ หรือมีเศษนิ่วปน
ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีเลือด และมีฟองมาก
บวมรอบตา บวมที่หน้า บวมที่เท้า
ชายไทย วัย75ปี Dx.CKD with volume overload
Hx. 7 ชม.ก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการบวมที่หน้าและเท้า
มีอาการปวดบั้นเอวหรือสีข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือกลางหลัง)
ตรวจพบความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเนื่องจากเสียสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์OD:แรกรับ 08/07/65 BP= 189/93 mmHg
CXR พบ Rt. Pleural effusion Albumin 3.3 g/dL ต่ำกว่าปกติ(3.5-5.2) Calcium 8.3 mg/dL ต่ำกว่าปกติ (8.6-10) Sodium 135 mmol/L ต่ำกว่าปกติ (136-145)
ซีด เพลีย ขาดสมาธิการทำงาน
ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากมีภาวะซีด
OD:ผู้ป่วยมีสีหน้าอ่อนเพลียเล็กน้อย
08/07/2565 (13.36) RBC Count 3.41 10^6 cell/mm3 ต่ำกว่าปกติ (4.5-6.2)
Hb 10.2 g/dL ต่ำกว่าปกติ (14-18)
Hct 31% ต่ำกว่าปกติ (40-54)
11/07/2565 RBC Count 3.37 10^6 cell/ uLต่ำกว่าปกติ(4.5-6.2)
Hb 10.2 g/dL ต่ำกว่าปกติ (14-18)
Hct 30.2% ต่ำกว่าปกติ (40-54)
ผิวแห้ง คัน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
BUN ค่าปกติอยู่ที่ 8-23 mg/dL
08/07/65 BUN 75 mg/dL สูงกว่าปกติ (8-23)
11/07/65 BUN 83 mg/dL สูงกว่าปกติ(8-23)
Cr ค่าปกติอยู่ที่ 0.67-1.17 mg/dL
08/07/65 Creatinine 6.45 mg/dL สูงกว่าปกติ (0.67-1.17)
11/07/65 Creatinine 7.21 mg/dL สูงกว่าปกติ(0.67-1.17)
eGFR >90 ml/min
08/07/65 eGFR 7.7 ml/min/1.73 m2 (CKD-EPI)
11/07/65 eGFR 6.73ml/min/1.73 m2 (CKD-EPI)
การตรวจพิเศษ
การตรวจชิ้นเนื้อไต (kidney biopsy)
ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ (protienuria)
การตรวจทางรังสีเช่น CT scan หรือ Ultrasound
การหลีกเลี่ยงและป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงอาหารเค็มโดยไม่ควรรับประทานเกลือ เกินวันละ 6 กรัม
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาทีโดยออกกำลังกายให้หนักปานกลาง เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไตวาย ได้แก่ ความดันโลหิตน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
หลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านการอักเสบ เช่น ibuprofen ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัวอย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือด ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นและทำให้การทำงานของไตหนักขึ้นหรือทำให้ไตเสื่อมสภาพลง
กลไกการเกิด
ความไม่สมดุลของสารน้ำ ในระยะแรก nephron ถูกทำลายไปพลาสม่ากรองผ่าน glomerulus ออกมาได้น้อย ปัสสาวะจึงออกมาน้อยลง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำปัสสาวะ
มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่
SD: ผู้ป่วยบอกว่า “หายใจไม่สะดวก 7 hr. ก่อนมารพ”
OD: ผู้ป่วยหายใจแบบ Abdominal breathing
บวมที่ใบหน้า และขา +1
08/07/65 (13.36 น.)
BUN 75 mg/dL สูงกว่าปกติ (8-23)
Creatinine 6.45 mg/dL สูงกว่าปกติ (0.67-1.17)
eGFR 7.7 ml/min/1.73 m2 (CKD-EPI)
11/07/65 (01.13 น.)
BUN 83 mg/dL สูงกว่าปกติ(8-23)
Creatinine 7.21 mg/dL สูงกว่าปกติ(0.67-1.17)
eGFR 6.73ml/min/1.73 m2 (CKD-EPI)
CXR พบ Rt. Pleural effusion
ความไม่สมดุลของโซเดียม เนื่องจากnephron ถูกทำลายทำให้เกิดปัสสาวะออกได้น้อยลงและจะทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมในเลือด
ความไม่สมดุลของโพแทสเซียม ผู้ป่วยอาจจะเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง อาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงรับประทานยาบางชนิดที่มีส่วนผสมของโพแทสเซียมภาวะติดเชื้อซึ่งทำให้เกิด catabolic
ความไม่สมดุลของกรดด่างในร่างกาย ผู้ป่วยอาจเกิด metabolic acidosis เนื่องจาก ไตไม่สามารถขับไฮโดรเจนอิออนได้เพียงพอ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะกรดเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังร่างกายจะพยายามแก้ไขภาวะกรดโดยการดึงเอาแคลเซี่ยมออกจากกระดูกและจะเกิดความผิดปกติของกระดูกขึ้นซึ่งเรียกว่า renal osteodystrophy
ความไม่สมดุลของแมกนีเซียม แมกนีเซียมจะมีค่าสูงขึ้นซึ่งอาจจะทำให้เกิด cardiacและ respiratory arrestได้
ความไม่สมดุลของฟอสเฟตและแคลเซียม เมื่อไตถูกทำลายมากขึ้น ไตจะกำจัดฟอสเฟตออกได้น้อยลงระดับฟอสเฟต ในเลือดจะสูงขึ้นมีผลทำให้ระดับของแคลเซียมต่ำลง เกิดการกระตุ้นของต่อมพาราไทรอยด์หลั่งพาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการสลายตัวของแคลเซียมจากกระดูก
มีการคั่งของของเสียในเลือด ผู้ป่วยจะมีระดับของ BUNและCr สูงขึ้น
Carbohydrate intolerance ผู้ป่วยจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากอินซูลินทำงานผิดปกติหรือตับเก็บกลูโคสได้น้อยลง
การรักษา
การรักษาสาเหตุที่ทำให้ ไตทำหน้าที่ผิดปกติสืบหาเหตุผลและแก้ไขปัญหาสาเหตุนั้นเท่าที่ทำได้
การรักษาแบบประคับประคองรักษาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยไตเรื้อรังหรือไตเสียหายเฉียบพลันต้องดูแลควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกายความเป็นกรดด่างความสมดุล ของเกลือแร่ที่อยู่ในภาวะที่เหมาะสม รวมทั้งดูแลอาหารและโภชนาการให้ครบถ้วนเพื่อไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตบ่อยที่สุด
การรักษาตามอาการแบบประคับประคองโดยใช้ยา
lasix250 mg v drip in30 hr q6hr.
ยาขับปัสสาวะ รักษาอาการน้ำเกิน
atorvastatin40 mg oral1x1 pc
ยาลดไขมันในหลอดเลือด
sodamint 300 mg oral1x3 pc
ยารักษาเลือดเป็นกรด
ismo 20 mg oral 1x2 pc
ยาลดความดันโลหิต
madiplot 20 mg oral 1x1 pc
ยาลดความดันโลหิต
doxazosin 4 mg oral 1x2 pc
ยาลดความดันโลหิต
Caco3 620 mg oral 1x3 pc
ลดปริมาณ ฟอสเฟตในเลือด
metoprolol 100 mg oral 1/4x1 pc
ยาลดความดันโลหิต
Clopidogel 75mg oral 1x1 pc
ยาต้านเกล็ดเลือด
การรักษาโดยวิธีการบำบัดทดแทนการทำงานของไตซึ่งมี3 วิธีได้แก่
การปลูกถ่ายไต(kidney transplantation)
การผ่าตัดเอาไตของผู้อื่นมาใส่ไว้ในร่างกายผู้ป่วยเพื่อทดแทนไตเดิมที่ไม่สามารถทำงานได้แล้วโดยใหม่นั้นอาจจะได้จากผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตายหรือผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่และมีไตเข้ากับผู้ป่วยได้
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
การนำของเสียและน้ำออกจากเลือดโดยเลือดจะออกจากตัวผู้ป่วยแล้วผ่านตัวกรองเพื่อกำจัดของเสียใช้เวลาประมาณ3ถึง 4 ชั่วโมงต้องทำอย่างน้อย2ถึง3ครั้งต่อสัปดาห์
เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายเนื่องจากผู้ป่วย on double lumen catheter
OD:ข้อมูลจากการสังเกต ผู้ป่วย on double lumen catheter บริเวณไหล่ขวา
การล้างไตทางหน้าท้อง (peritoneal dialysis)
การใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องผ่านทางสายยางที่คาไว้ที่ช่องท้องของผู้ป่วยเพื่อกรองของเสียในร่างกายออกวิธีนี้จำเป็นต้องทำทุกวัน
การดูแลสุขภาพ
อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะที่5 จำกัดและควบคุมอาหารมากขึ้นต้องระมัดระวังเรื่องฟอสเฟต โพแทสเซียม และโปรตีน
อาหารสำหรับผู้ป่วยหลังจากล้างไตหรือทำการฟอกเลือดผู้ป่วยจะได้รับอาหารตามใจผู้ป่วยบ้าง แต่ต้องไม่มากเพราะจำเป็นต้องควบคุมอาหารต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าทำการล้างไตแล้วก็ตามแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำให้การทำงานของไตกลับมาเป็นเช่นเดิมได้ทั้งหมด
: ยาและสมุนไพรที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต
สมุนไพรเช่น สารสกัดจาก ใบแปะก๊วย โสม กระเทียม ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด
ยาแก้ปวดลดอักเสบ
ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาที่ต้องละลายน้ำ หรือวิตามินอื่น
ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง
ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม
ยาระบายหรือยาสวนทวาร
อาหารเสริมต่างๆที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมแมกนีเซียมจะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้
พยาธิสภาพ
หมายถึง
Case
Case
Case
Case
Case
Case
Case
Case
Case
Case
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต