Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury) - Coggle Diagram
การบาดเจ็บที่ศีรษะ
(Head injury)
หมายถึง
การบาดเจ็บใดๆที่มีต่อหนังศีรษะกะโหลกศีรษะและเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบภายในกะโหลกศีรษะซึ่งอาจทำให้มีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว อุบัติการเกิดหรือสถิติการเกิดบาดเจ็บที่ศีรษะบอกตัวเลขที่ชัดเจนได้ยาก
สาเหตุ
สำหรับสาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ จราจร ตกจากที่สูง ทำร้ายร่างกาย กีฬาและนันทนาการถูกยิง แรงกระแทกอื่นๆ
อาการ
คอแข็ง
วิงเวียนมาก หรือมองเห็นภาพพร่า ปวดตุบๆ ในลูกตา
มีเลือดใสๆ หรือน้ำใสออกจากหูหรือลงคอ หรือออกจากหู
( ถ้ามีไม่ควรพยายามเช็ด หรือสั่งออก )
ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลา
คลื่นไส้มาก อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
ชีพจรเต้นช้ามาก หรือมีไข้สูง
กำลังของแขนและขาลดน้อยลงกว่าเดิม
กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุก
ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือไม่รู้สึกตัว หมดสติ
การรักษา
ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวทุกราย ต้องทำ neckimmobilization ไว้จนกว่าจะตรวจสอบดูแล้วว่าไม่มีภาวะบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงแก่อัมพาตหรือเสียชีวิตได้ถ้าไม่ระมัดระวัง
การตรวจประเมินทางประสาทวิทยา (neurologicalevaluation) โดยเฉพาะการตรวจว่ามีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงซึ่งต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไข
ภาวะบาดเจ็บร่วมอื่น ๆ ที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต เช่น tension pneumothorax, cardiac temponade , hypovolemic shock ต้องพยายามวินิจฉัยให้ได้ให้การรักษาอย่างทันท่วงที
การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำ (hypotension - systolic blood pressure < 90 mmHg) ต้องหลีกเลี่ยงภาวะ Hypoxia และ Hypercarbia และแก้ไขภาวะดังกล่าวถ้าเกิดขึ้นอย่างทันที
การดูแลระบบทางเดินหายใจ (Airway and respiratorysupport) ผู้ป่วยที่มี GCS < 8 ทุกรายต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ และช่วยหายใจ (intubated and assisted ventilation)
Glasgow Coma Scale (GCS)
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย
(Mild or minor head injury) GCS = 13-15 คะแนน
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลาง
(Moderatehead injury) GCS = 9-12 คะแนน
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง
(Severe headinjury) GCS <8 คะแนน