Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (peritoneum) - Coggle Diagram
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
(peritoneum)
อาการ
ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว
ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม
ปัสสาวะน้อยลง และปัสสาวะสีเข้ม
คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำและเบื่ออาหาร
มีไข้สูงหนาวสั่น ไข้สูงกว่า 38C (100.4F)
อาการปวดจะขึ้นกับชนิดของ Peritonitis หาก
เป็นชนิด secondary จะมีอาการปวดท้องมาก
ส่วน primary จะมีอาการท้องอืด หรือปวดดื้อๆ
อาการปวดท้อง หรือท้องอืดจะเป็นอาการที่เด่น
หมายถึง
เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เป็นเยื่อ 2 ชั้นที่คลุมอยู่โดยรอบช่องท้อง ซึ่งปกคลุมกระเพาะอาหารลำไส้และอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้องการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องเป็นภาวะร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที่ อาจเป็นอันตรายถึงตายได้มักเป็นภาวะแทรกช้อนจากโรคต่างๆภายในช่องท้อง
สาเหตุ
เยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อของ ของเหลวที่สะสมอยู่ในช่องท้อง ซึ่งของเหลวนี้จะมีมากในโรคตับระยะท้ายหรือในโรคไตและยังทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นอันตรายต่อลำไส้ได้ด้วย
เยื่อบุช่องท้องอักเสบจากสาเหตุอื่น เกิดจากภาวะอื่นๆของร่างกาย เช่น มีการติดเชื้อที่แพร่กระจายจากระบบทางเดินอาหาร ตัวอย่างเช่น จากไส้ติ่งแตก แผลในกระเพาะอาหาร ถุงผนังลำไส้อักเสบ หรือลำไส้ใหญ่รั่ว
การรักษา
การรักษา ได้แก่ การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับ
การติดเชื้อและไม่ให้การติดเชื้อแพร่กระจาย อาจ
ทำการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก รักษาสาเหตุของการติดเชื้อและป้องกันเชื้อแพร่กระจายส่วนการรักษาอื่นๆ เช่น ยาระงับปวด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจน และการให้เลือดอาจทำในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล หากล้างไตทางหน้าท้องอยู่จำเป็นต้องล้างไตด้วยวิธีอื่นจนกว่าการติดเชื้อจะหายไป หากเยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นนานหรือกลับมาเป็นช้ำจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีล้างไตเป็นวิธีอื่นอย่างถาวร
การวินิจฉัย
ตรวจวิเคราะห์น้ำในช่องท้องทำได้โดยใช้เข็มเล็กๆ
เก็บตัวอย่างน้ำในช่องท้อง หากเม็ดเลือดขาวในน้ำใน
ช่องท้องสูงขึ้น บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อหรือมีการอักเสบและการเพาะเชื้อจากน้ำในช่องท้องจะบ่งบอกว่าติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่
ตรวจเลือด จะช่วยบอกได้หากมีเม็ดเลือดขาวสูงขึ้นและการเพาะเชื้อจากเลือดจะบอกได้ว่ามีแบคที่เรียในเลือดหรือไม่
การถ่ายภาพรังสี เช่น เอ็กซเรย์ อัลตราชาวน์หรือเอ็กชเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) สามารถตรวจหาน้ำ ลมก้อน หรือฝีในช่องท้องได้และหารอยรั่วของระบบทางเดินอาหารได้