Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ข้อแพลง ข้อเคลื่อน กระดูกหัก, shutterstock…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ข้อแพลง ข้อเคลื่อน กระดูกหัก
กระดูกหัก (Fracture)
ความหมาย
ภาวะที่มีการแตกหรือหักของกระดูก บริเวณที่หักอาจจะแตกเป็นรอย จะเคลื่อนออกจากกันหรือไม่ก็ได้ บางครั้งแตกเป็นหลายชิ้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการบาดเจ็บและความรุนแรงของอุบัติเหตุกระดูกหักอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความพิการ หรือในบางรายอาจทำให้เสียชีวิตได้
ประเภท
1.กระดูกหักชนิดไม่มีแผล (Closed Fracture ) คือ กระดูกหัก แต่ผิวหนังไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ
2.กระดูกหักชนิดมีแผล (Opened Fracture) คือ กระดูกที่ทิ่มผิวหนังออกมาหรือได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเปิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง
อาการ
1.ปวด บวม ร้อนบริเวณที่หัก
2.ถ้าจับกระดูกนั้นโยกหรือบิดเล็กน้อยมีเสียงดังกรอบแกร็บ
3.เคลื่อนไหวผิดปกติ
รูปร่างกระดูกผิดปกติ
5.อาจมีบาดแผลและพบปลายกระดูกโผล่ออกมาให้เห็นได้
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยกระดูกหักจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
การปฐมพยาบาลสำหรับประชาชนทั่วไป
โทรเรียกรถพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ประคบน้ำแข็งบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ และยกอวัยวะดังกล่าวให้สูง เพื่อลดอาการบวม
ล้างแผลด้วยสบู่และน้ำเปล่าสะอาดเบา ๆ เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียเข้าแผลปิดแผลให้เรียบร้อยด้วยผ้าพันแผล
ในกรณีที่เข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่แขนหรือขา ควรนำหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารมา ม้วนห่อแขนหรือขาเพื่อช่วยดามไว้ เพื่อช่วยไม่ให้แขนหรือขาที่ได้รับบาดเจ็บขยับ รวมทั้งช่วย ให้กระดูกไม่เคลื่อน
ผู้ป่วยที่เกิดกระดูกหักตรงขาส่วนบน กระดูกสันหลัง อุ้งเชิงกราน หรือสะโพก ไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกาย ให้รอจนกว่ารถพยาบาลจะมา เนื่องจากการเคลื่อนไหวจะท้าให้บริเวณดังกล่าวบาดเจ็บมากกว่าเดิม
งดให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำหรืออาหารจนกว่าจะพบแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจต้อง ได้รับการผ่าตัด
การปฐมพยาบาลสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม
ในกรณีที่เข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเปิดออกและมีอุปกรณ์การแพทย์ไม่ เพียงพอ ควรรินน้ำสะอาดล้างแผลและปิดแผลด้วยผ้าสะอาดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ไม่ควรเป่าแผลหรือถูขยี้แผลแรง
ดามกระดูกบริเวณที่หัก โดยดามทั้งด้านบนและด้านล่างของบริเวณดังกล่าว
ประคบเย็นและยกอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บให้สูง เพื่อลดอาการปวดบวม
ควรให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกขาให้ขึ้นสูงกว่าศีรษะประมาณ 30 เซนติเมตร และห่มด้วยผ้าห่ม เพื่อป้องกันผู้ป่วยเกิดอาการช็อค อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ คอ หรือหลังไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเด็ดขาด
ห้ามเลือดผู้ป่วยโดยใช้ผ้าขนหนูแห้งสะอาดวางปิดแผล หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้กดห้าม เลือดไปตรงบริเวณที่เลือดไหลออกมา
ประเมินการไหลเวียนเลือดของผู้ป่วย โดยกดเบา ๆ เหนือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผู้ป่วย เกิดกระดูกหักที่ขา ควรกดที่เท้าเพื่อดูการไหลเวียนเลือดเมื่อกดลงไป บริเวณดังกล่าวจะขาว ซีดและค่อย ๆ แดงเลือดฝาดขึ้นมา ทั้งนี้หากเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไม่พอ ผู้ป่วยจะตัวซีด เขียว เกิดอาการชาและสัญญาณชีพอ่อนลง ควรจัดแขนและขาผู้ป่วยให้อยู่ในท่าพักที่สบาย เพื่อลดอาการบวม ปวด และเนื้อเยื่อตายจากการขาดเลือด
ตรวจดูว่าผู้ป่วยหายใจอยู่หรือไม่ โทรเรียกรถพยาบาลและปฐมพยาบาลด้วยวิธีซีพีอาร์ (Cardiopulmonary Resuscitation: CPR) รวมทั้งพยายามทำให้ผู้ป่วยมีสติ
ดูแลตัวเองหลังได้รับการรักษากระดูกหัก
เลี่ยงยกของหนักและขับรถจนกว่าอาการกระดูกหักจะหายดี
ควรเลี่ยงอยู่ใกล้ของร้อนหรือมีอุณหภูมิสูง เพื่อป้องกันปูนที่ใช้ทำเฝือกละลาย รวมทั้งควรนำถุงพลาสติกมาหุ้มเฝือกและปิดให้สนิทเมื่อต้องอาบน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณดังกล่าวเปียกน้ำ
หากเกิดอาการบวม เขียวซีด ขยับนิ้วหรือเท้าไม่ได้ เกิดอาการชา หรือปวดมากขึ้นควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ไม่ควรใช้แขนมากเกินไป
ควรใช้ที่เป่าผมเป่าบริเวณใส่เฝือกเมื่อเกิดอาการคัน
ข้อแพลง (ankle sprain)
ความหมาย
เป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยคนปกติทั่วไป ซึ่งพยาธิสภาพของโรคจะอยู่ที่เอ็นและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเท้า ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดหรือบวมที่เท้า หรือมีความลำบากในการสวมรองเท้า ซึ่งโดยปกติเมื่อมีข้อเท้าพลิกซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพลิกเข้าด้านใน จะทำให้เอ็นข้อเท้าทางด้านนอกได้รับบาดเจ็บ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเท้าเคล็ดได้บ่อย คือ เคยมีประวัติข้อเท้าเคล็ดมาก่อน รองเท้าไม่เหมาะสม น้ำหนักตัวมาก เดินหรือวิ่งบนพื้นที่ขรุขระ กล้ามเนื้อรอบข้อเท้าไม่แข็งแรง ถ้าเอ็กซเรย์ข้อเท้า โดยส่วนใหญ่มักจะไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่ในบางรายที่มีอาการมาก อาจพบมีกระดูกหัก หรือ ถ้าเส้นเอ็นขาดหลายเส้น และมีระดับความรุนแรงมาก ก็จะพบว่ามีช่องว่างของข้อเท้ากว้างมากขึ้น
ระดับความรุนแรง
ระดับที่ 2 จะมีการฉีกขาดของเอ็นเพียงบางส่วน (โดยปกติจะไม่เกินร้อยละ 50) ในกลุ่มนี้จะปวดและบวมค่อนข้างมากจนอาจจะทำให้เดินลงน้ำหนักไม่ค่อยได้ มักจะหายใน 4 - 6 อาทิตย์
ระดับที่ 3 ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด จะมีการฉีกขาดของเอ็นทั้งหมด มักจะพบว่าไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ และส่วนใหญ่จะพบว่ามีความหลวมของข้อ อาจต้องใช้เวลาในการรักษา 6 - 10 เดือนจึงจะหายสนิท แล้วถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างสูงมาก
ระดับที่ 1 มีการยืดหรือขาดของเอ็นเพียงเล็กน้อย อาจจะพบเพียงบวมและกดเจ็บบริเวณเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บยังสามารถเดินลงน้ำหนักได้ตามปกติ มักจะหายภายใน 2 อาทิตย์
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ตามหลัก R.I.C.E
R – Rest นั่งพักเพื่อสังเกตอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
I – ICE ใช้ความเย็นประคบส่วนที่เจ็บ หรือส่วนที่บวม เพื่อลดความเจ็บปวดและจะช่วยทำให้เลือดออกน้อยลง ระยะ 24 - 48 ชั่วโมงแรก ควรประคบถุงเย็นประมาณ 15 นาที ทุก 2 ชั่วโมง
C – Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวมและพยายามไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำเป็น เพราะจะทำให้ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
E – Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดความเจ็บปวดและลดอาการบวม ยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
รักษาข้อเท้าแพลงเมื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว
1.โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษา 6 – 8 สัปดาห์ แต่ภาวะข้อเท้าบวมจะหายก่อน
2.พักเท้าให้มากที่สุด อาจจะใส่เฝือกหรือใช้ผ้าพัน และอาจจะใช้ไม้เท้าช่วยพยุงน้ำหนัก
3.การประคบน้ำแข็งให้กระทำทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบได้มาก
4.ใช้ผ้าพันหรือใส่เฝือกเพื่อลดอาการบวม
5.ยกเท้าสูงเพื่อลดอาการบวม
ข้อเคลื่อน (Dislocation)
ความหมาย
ข้อเคลื่อน (Dislocation) คือ การหลุดของข้อออกจากตำแหน่งปกติ ทำให้เยื่อหุ้มข้อนั้นมีการฉีกขาดหรือมีการยึดของกล้ามเนื้อ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ใช้วัสดุที่หาได้หนุนหรือประคองข้อให้บวิเวณที่บาดเจ็บนั้นอยู่นิ่ง ๆ และอยู่ในท่าที่สบาย ด้วยการใช้ผ้าพยุงหรือดามไว้ด้วยเฝือกชั่วคราวให้อยู่ในท่าพัก
4.ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยความเย็น เช่น ผ้าหรือถุงใส่น้ำแข็ง ฯลฯ
2.หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรใช้วิธีตัดตามตะเข็บ
5.การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากสถานที่มีอันตรายไปสู่ที่ปลอดภัยหรือโรงพยาบาล การเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธีจะช่วยลดความพิการและอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
อย่าพยายามดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตนเอง
รีบนำส่งโรงพยาบาล เพราะการทิ้งไว้นานจะทำให้การดึงเข้าที่ลำบาก และถ้านานเกินไปอาจต้องทำการผ่าตัด
ประเภท
มีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มข้อเป็นช่องเล็กมาก แต่กระดูกที่ดันผ่านช่องเล็กนั้นออกมาอยู่ข้างนอก ทำให้เกิดเป็นลักษณะคล้ายๆกับการกลัดกระดุม
3.การที่ข้อที่หลุดยังอยู่ในเยื่อหุ้มข้อ
1.เยื่อหุ้มข้อฉีกขาด แล้วมีปลายกระดูก อันหนึ่งหลุดออกมาข้างนอก
อาการ
การเคลื่อนไหวข้อทำไม่ได้ หรือทำได้น้อยมาก ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ
มีการหดสั้นของอวัยวะ เช่น แขน หรือขา
ข้อมีรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม สีของบริเวณข้อที่ได้รับบาดเจ็บเปลี่ยนไปจากเดิม
อาจคลำพบปลายหรือหัวกระดูกที่เคลื่อนออกมา
บวม ปวด กดเจ็บบริเวณข้อ
อาจคลำพบปลายหรือหัวกระดูกที่เคลื่อนออกมา