Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.Pancreatitis ตับอ่อนอักเสบ - Coggle Diagram
4.Pancreatitis ตับอ่อนอักเสบ
สาเหตุ
นิ่วในถุงน้ําดีและท่อน้ำดีคือ
เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
3.ไวรัสคางทูม ไวรัสตับอักเสบ
การใช้ยาบางชนิด เช่น ไทอาไซด์เตตระซัยคลิน ซัลโฟนาไมด์และกลูโคคอร์ติคอร์ด
5.เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เช่นถูกกระแทกอย่างแรงที่บริเวณหน้าท้องด้านบน
6.ความผิดปกติของเมทาบอริซึม เช่นภาวะแคลเซียมในเลือดสูงและภาวะไขมันในเลือดสูง
หลังผ่าตัดบริเวณใกล้เคียงตับอ่อนถูกกระทบกระเทือนหรือจากการส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน
อาการ
ปวดท้องอย่างรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด
ปวดบริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงด้านซ้าย
ปวดร้าวไปบริเวณด้านหลัง
ปวดมากในท่านอนหงายและลดลงเมื่อผู้ป่วยในท่างอตัวหรือนั่งก้มหน้ามาด้านหน้า
มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
การรักษาพยาบาลขั้นต้น
มีความเจ็บปวด เนื่องจากการอักเสบของตับอ่อนมีการกระตุ้นปลายประสาท และมีการอุดตันท่อตับอ่อน
บันทึกสัญญาณชีพ ความรุนแรงของความเจ็บปวด ถ้าผู้ป่วยบ่นถึงการปวดร้าวไปที่ไหล่ซ้าย แสดงว่าการอักเสบบริเวณหางของตับ อ่อน (Tail of the pancreas)
จัดท่าในท่าที่สบาย เช่น นอนตะแคง นอนท่าเข่าชิดอก (Knee chest position) โดยใช้หมอนประคองบริเวณท้อง หรือนั่งงอตัวบนเตียง
ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด เพื่อให้ผู้ป่วยทรมานน้อยลง
แนะนำวิธีเบนความสนใจเพื่อบรรเทาอาการปวดวิธีอื่นๆ เช่น สมาธิ การจินตนาการ การหายใจลึกๆ (Deep breathing) และเทคนิค การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxation) เพื่อลดความกังวล ซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทวากัส (Vagus Nerve) ทำให้ตับอ่อนหลั่ง เอ็นไซม์ออกมากขึ้น
อธิบายถึงการตรวจการรักษา เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวถามข้อสงสัยให้แสดงความรู้สึก ความกลัวหรือความกังวล
ปริมาณของนํ้าและเกลือแร่ในร่างกายลดลง เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน การใส่สายยางจากจมูกสู่กระเพาะอาหาร และต่อเครื่องดูด และการเสียนํ้าเข้าไปในช่องท้อง
สวนคาสายสวนปัสสาวะ บันทึกและติดตามจำนวนปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง และคงไว้ให้ปัสสาวะออกไม่น้อยกว่า 30 ลูกบาศก์มิลลิลิตร/ ชั่วโมง ป้องกันภาวะไตวายเฉียบพลัน
ติดตามอาการของผู้ป่วยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสารนํ้า ความดันของน้ำส่วนกลาง
ติดตามและบันทึกจำนวนนํ้าที่ได้รับและเสียไป
ให้เลือดหรือพลาสม่า เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาการเสียเลือด เช่น ผลของ ฮีมาโตคริท ลดลง
บันทึกสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ ความดันโลหิต
ติดตามผลของห้องปฏิบัติการ พิจารณาให้เกลือแร่ เช่น โซเดียม โปตัสเซียม และคลอไรด์ เมื่อค่าสารเหล่านี้ตํ่า
ประเมินภาวะนํ้าตาลในเลือดและในปัสสาวะสูง ให้อินซูลิน เพื่อควบคุมการหลั่งของกลูคากอน (Glucagon) ที่มากเกินไปชั่วคราว
สังเกตและบันทึก และรายงานอาการของแคลเซี่ยมในเลือดตํ่า (Hypocalcemia)
ติดตามค่าอะมัยเลสในเลือดและในปัสสาวะ