Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
8.Leptospirosis โรคฉี่หนู - Coggle Diagram
8.Leptospirosis โรคฉี่หนู
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรียชนิดเกลียวที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนูมีชื่อว่า เล็ปโตสไปรา (Leptospira)
มักพบการติดเชื้อชนิดนี้ได้ในสุนัขหรือสัตว์ตามฟาร์ม เช่น สุกร โค กระบือ รวมถึงสัตว์จำพวกหนู
เชื้อที่มากับปัสสาวะสัตว์ติดเชื้อที่ปนเปื้อนมากับน้ำ ดินที่เปียก หรือพืชผักต่าง ๆ
อาการ
ระบบกล้ามเนื้อ
ปวดกล้ามเนื้อที่รุนแรงอาจพบระดับเอ็นไซม์ที่บ่งถึงการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ระบบทางเดินอาหาร
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การกดเจ็บที่ท้อง
มีอาการเหลือง ในช่วงวันที่ 4-7 ของการดำเนินโรค
ระบบทางเดินปัสสาวะและไต
มีไข่ขาวในปัสสาวะ หรือพบเม็ดเลือดขาว หรือเม็ดเลือดแดง
ระดับยูเรียในเลือด (BUN) พบเพิ่มสูงกว่า
ระดับครีอะตินิน (creatinine) ที่สูงเกินปกติมากกว่า 2 เท่า
ระบบทางเดินหายใจ
ไอเสมหะเล็กน้อยซึ่งมักเริ่มเป็นตั้งแต่วันที่ 1- 4 ของโรคและเป็นอยู่นาน 3- 4 วัน อาจมีอาการเจ็บหน้าอก
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผิดปรกติ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis)
ระบบอื่น ๆ
ตาแดง (conjunctival suffusion)
จุดเลือดออก(petichial hemorrhage)
การรักษาพยาบาลขั้นต้น
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
เช็ดตัวลดไข้ กระตุ้นให้ดื่มน้ำ และวัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายให้พลังงานสูงถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน ดูแลให้ได้รับยาแก้อาเจียนก่อนอาหารตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากกว่า 2,000 มิลลิลิตร/วัน ถ้าไม่มีข้อจำกัด
บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก ประเมินภาวะขาดน้ำ และภาวะน้ำเกิน
ให้ความรู้และความกระจ่างเรื่องโรค แผนการรักษา การดำเนินของโรคและการป้องกันโรค
การป้องกันโรค
สวมรองเท้าบูทยาวทุกครั้ง เมื่อต้องลุยน้ำขัง
หลีกเลี่ยงการเดินที่มีน้ำขัง
ล้างมือล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง
ควรขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระลงในโถส้วมทุกครั้ง
ในผู้ป่วยโรคฉี่หนูควรใส่น้ำยาฆ่าเชื้อลงในภาชนะที่ขับถ่ายร่วมด้วย
ปิดฝาถังขยะ หมั่นกำจัดขยะโดยเฉพาะเศษอาหารทุกวัน ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
รักษาความสะอาดบ้านเรือน ไม่ให้มีแอ่งน้ำ