Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 67 ปี - Coggle Diagram
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 67 ปี
ข้อมูลทั่วไป
Dx. Severe Head Injury SAH with SDH with multiple rib fractures with bilateral hemothorax with CFx Rt Distal end radius
Admit: 29 มิ.ย. 65
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล ซ้อน MC ชนกับรถเก๋ง และถูก MC ชนซ้ำอีก ผู้ป่วยสลบ หมดสติ ไม่รู้ตัว ข้อมือขวาผิดรูป
อาการปัจจุบัน
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วย ซ้อน MC ชนกับรถเก๋ง และถูก MC ชนซ้ำอีก ผู้ป่วยสลบ หมดสติ ไม่รู้ตัว ข้อมือขวาผิดรูป ญาติแจ้งรถฉุกเฉิน นำส่งโรงพยาบาลเปาโลรังสิต E1 V2 M4 ทางโรงพยาบาลเปาโล on ETT NO 7.5 Mark 19 ให้ CXR พบ rib fractures with bilateral hemothorax on ICD ให้ทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 2 ขวด CT brain พบ SAH with SDH
6 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล โรงพยาบาลเปาโล ส่งตัวผู้ป่วยไปตามสิทธิผู้ป่วยที่ รพ.ประชาธิปัตย์
3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ทาง รพ.ประชาธิปัตย์ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ จึงส่งตัวผู้ป่วยมา รพ. ปทุมธานี เพื่อผ่าตัด Decompressive craniectomy
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาที่กินเป็นประจำ ไม่เคยผ่าตัดมาก่อน
ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
ปฎิเสธประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครอบ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน
Nicardipine (1 : 5) IV 10 cc/hr.
Omeprazole 40 mg IV q 12 hr.
Sodium valproate 400 mg IV q 8 hr.
Tazocin 4.5 gm IV q 6 hr.
Amlodipine 10 mg 1 tab oral OD pc.
EKCl 30 ml oral q 3 hr. x 2 dose
Phosphate solution 30 ml oral bid pc.
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปัญหาที่ 1 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (IICP) เนื่องจาก มีเลือดออกที่เยื่อหุ้มสมอง
ปัญหาที่ 2 การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากบาดเจ็บทรวงอก
ปัญหาที่ 3 ไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้ (Fever)
ปัญหาที่ 4 ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากยัง feed อาหารได้น้อย
ปัญหาที่ 5 พร่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
ปัญหาที่ 6 ญาติผู้ป่วยมีความวิตกกังวล เนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
Fracture distal end radius
คือภาวะกระดูกหักที่เกิดในส่วนของ metaphysis ของปลายกระดูกradius ซึ่งจะอยู่ในช่วง ประมาณ 2 ซม. เหนือต่อradio-carpal joint กระดูกหักชนิดนี้พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง (Subdural hemorrhage
คือ ก้อนเลือดที่สะสมอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้น dura กับเนื้อสมอง ซึ่งพบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ. การรักษาภาวะนี้ทำโดยผ่าตัดเอาก้อนเลือดที่กดทับเนื้อสมองออก อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบอัตราตายจากการผ่าตัดได้ถึงร้อยละ 40-60. ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองรุนแรงจากภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง เช่น Glasgow Coma Score ประมาณ 3 มักมีโอกาส เสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 90 การมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองในผู้ป่วยที่มีอายุ > 50 ปีก็พบมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าในผู้ป่วยที่มีอายุ 10-30 ปี.
เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid hemorrhage)
คือการมีเลือดออกที่ช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกับชั้นในซึ่งอยู่รอบ ๆ สมอง อาจเกิดขึ้นได้เอง หรือจากการแตกของหลอดเลือดสมองโป่งพอง หรือเกิดจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนศีรษะก็ได้
การบาดเจ็บที่ศีรษะ(Head Injury)
คือ การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงที่เข้ามากระทบต่อศีรษะและร่างกายแล้วก่อให้เกิดความบาดเจ็บต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ และ สมอง กับเส้นประสาทสมองซึ่งทำให้มีพยาธิสภาพที่ศีรษะส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจเป็นหนังศีรษะ (Scale) กะโหลกศีรษะ (Skull) เยื่อหุ้มสมองหรือส่วนต่าง ๆ ของสมอง รวมทั้งหลอดเลือดสมองแตก ทำให้มีเลือดออกในชั้นต่าง ๆ ของสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยพิการ หรือเสียชีวิตได้
กระดูกซี่โครงหัก (Fractures of ribs)
กระดูกซี่โครงอาจหัก 1 - 2 ซี่ ซึ่งมักพบว่ากระดูกซี่โครงซี่ที่ 5 - 9 หักได้มากที่สุดผลจากกระดูกหักทำให้อวัยวะภายในทรวงอกได้รับบาดเจ็บ อาจมีการหักของกระดูกซี่โครงทิ่มเข้าไปในเนื้อปอด จนทำให้มีการฉีกขาดของเส้นเลือดหรือเนื้อปอดมีเลือดออกมาอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด มีการฉีกขาดของถุงลม เกิดลมเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด และถ้าภยันตรายนั้นทำให้มีการหักของกระดูกซี่โครงหลายซี่คือตั้งแต่ 3 ซี่ขึ้นไปหรือมากกว่า โดยที่แต่ละซี่หักตั้งแต่ 2 ตำแหน่งทำให้ส่วนที่หักสามารถแยกออกจากผนังทรวงอก ซึ่งผนังทรวงอกนี้จะเคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็นระหว่างการหายใจ เรียกว่า paradoxical movement มีผลให้กลไกการหายใจผิดปกติไป เรียกว่า ภาวะอกรวน ทำให้ประสิทธิภาพของปอดในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงจึงทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนได้