Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการวิทยา (Symptomatology) - Coggle Diagram
อาการวิทยา (Symptomatology)
ความผิดปกติของอารมณ์ (Disorders of affect)
Euphoria อารมณ์ที่เป็นสุข ผู้ป่วยจะรู้สึกครึ้มอกครึ้มใจ
Elation อารมณ์ที่เป็นสุขที่มากกว่า Euphoria ผู้ป่วยจะรู้สึกครื้นเครง สนุกสนานมากกว่าปกติ
Phobia คือความกลับต่อวัตถุสิ่งของ สถานการณ์ หรือกิจกรรม ที่รุนแรงเกินกว่าเหตุและไม่สมเหตุสมผล
Irritability อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวกว่าธรรมดา
Panic เป็นความรู้สึกตื่นตระหนกและกลับ เกิดขึ้นมาเร็วและเป็นรุนแรงภายในเüลา10 นาที ร่วมกับอาการทางระบบประสาทอัตโนมัต
Apathy อารมณ์เฉย ไม่แสดงความรู้สึก และผู้ป่วยจะไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
Anxiety ความรู้สึกวิตกกังวล เป็นความวิตกกังวลมากผิดปกติ ร่วมกับอาการทางกาย
Inappropriate affect อารมณ์ที่แสดงออกไม่เหมาะสมสอดคล้องกับเหตุการณ์ขณะนั้น
ความผิดปกติของสติสัมปชัญญะ (Disorders of consciousness)
Distractibility ความสนใจตั้งใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะไม่นานและเปลี่ยนใจจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งอย่างรวดเร็ว
Attention and Concentration การใส่ใจ หรือ attention หมายถึงกระบวนการทำงานหลายอย่างในสมอง
Clouding of consciousness มีสติสัมปชัญญะเลือนราง การรับรู้ความเป็นไปรอบๆตัวเสีย ไม่สนใจเหตุการณ์รอบตัว
Disorientation การเสียการรับรู้ในด้านเวลา สถานที่ หรือบุคคล หากสับสนมาก งุนงง กระสับกระสาย ร่วมกับมี attention deficit และอาจมีอาการหวาดกลัว ประสาทหลอน ร่วมเรียกว่า delirium
Confusion มีลักษณะมึนงงสับสน การเสียการรู้เวลา สถานที่ และบุคคล
ความผิดปกติของพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (Disorders of motor activity)
Mutism ผู้ป่วยไม่พูดทั้งๆ ที่อวัยเกี่ยวกับการพูดเป็นปกติ
automatic obedience หมายถึงการกระทำตามโดยไม่ได้ตั้งใจ
Echopraxia การทำตามคนอื่น
catatonic stupor หมายถึง ผู้ป่วยอยู่นิ่งในท่าใดท่าหนึ่ง ไม่เคลื่อนไหวเลย รวมทั้งไม่มีปฏิกิริยาต่อสิงแวดล้อมและไม่พูด
Echolalia การพูดตามผู้อื่นเหมือนเสียงสะท้อน
rigidity หมายถึง แขนขาหรือลำตัวของผู้ป่วยแข็งเกร็ง
Waxy flexibility การที่จับผู้ป่วยให้อยู่ท่าใดผู้ป่วยก็จะอยู่ท่านั้นเป็นเวลานานผิดปกติ
selective mutism หมายถึง ผู้ป่วยไม่พูดเฉพาะกับบางคน แต่ยังคงพูดกับบางคน
Catalepsy การอยู่ในท่าแปลกๆเป็นเวลานานโดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
compulsion หมายถึง การย้ำทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดซ้ำๆ โดยไม่มีเหตุผล ซึ่งผู้ป่วยก็รู้ดีวาเป็นการกระทำที่ไร้สาระ ไม่น่าทำ แต่ไม่สามารถขัดขืนได้
Negativism เป็นการกระทำตรงข้ามกับคำสัง
Stereotypy การกระทำซ้ำๆ เกิดขึ้นเอง เป็นไปเรื่อยๆ และสม่ำเสมอโดยไม่มีความหมาย
Psychomotor retardation ความคิด การเคลื่อนไหว การพูดจาโต้ตอบจะช้าลงมาก ไม่ค่อยมีโทนเสียง ผู้ป่วยมักจะอยู่เฉยๆ
agitation หมายถึง ความรู้สึกพลุ่งพล่าน กระวนกระวาย
Psychomotor agitation การเคลื่อนไหวเพิ่มมากจากความกระวนกระวายภายในใจทำให้อยู่เฉยไม่ได้
ความผิดปกติของความคิด (Disorders of thought)
ความผิดปกติของเนื้อหาความคิด (Disorders of content of thought)
jealous delusion มีความคิดหลงผิดว่าคู่ครองนอกใจ
idea of being controlled ผู้ป่วยคิดวาามีอำนาจบางอย่างจากภายนอก
สามารถควบคุม ความรู้สึก ความคิด และการกระทำของตน
erotomanic delusion หลงผิดคิดไปเองว่ามีคนมาหลงรักตน มักเป็นคนที่มีสถานภาพสูงกว่า
idea of reference ผู้ป่วยคิดไปเองว่ามีคนพูดจาเกี่ยวกับตนซึ่งมักเป็นทางร้าย
Delusion of persecution ความคิดว่ามีคนปองร้าย
persecutory delusion คิดไปเองว่าตนถูกปองร้าย
Delusion of grandeur ความคิดเป็นใหญ่โต โดยเชื่อว่าตนเองเป็นคนสำคัญหรือมีพลังอำนาจพิเศษ
somatic delusion หลงผิดคิดไปเองว่าตนป่วยเป็นโรคทางกายชนิดใดชนิดหนึ่ง
Delusion ความเชื่อผิดหรือหลงผิด ซึ่งถ้าเนื้อหาที่ผู้ป่วยหลงผิดนั้นแปลก
ประหลาด ฟังแล้วก็รู้ว่าเป็นไปไม่ได้
Thought broadcasting ความคิดว่าผู้อื่นสามารถล่วงรู้ความคิดของตน
Thought withdrawal ความเชื่อหรือหลงผิดว่าความคิดของตนถูกดึง
ออกไปจากสมอง
Thought insertion ความเชื่อหรือหลงผิดว่าความคิดที่มีอยู่ไม่ใช่ของตน
เป็นความคิดของผู้อื่นให้เข้ามา
ความผิดปกติของรูปแบบความคิด (Disorders of form of thought)
Flight of idea การมีความคิดหลายๆ อย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนเรื่องพูดจากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องหนึ่งทั้งที่ยังพูดไม่จบ แต่ยังมีความสัมพันธ์กัน ยังพอฟังเข้าใจ
Blocking ความคิดหยุดชะงักหรือขาดหายไปทันทีทันใด ผู้ป่วยจะหยุดพูดหรือนึกไม่ออกว่าพูดอะไรมาก่อน
Incoherence การพูดไม่ต่อเนื่องโดยไม่มีความสัมพันธ์กันเลย ฟังไม่เข้าใจ
Circumstantiality การพูดอ้อมค้อม เพิ่มเติมรายละเอียดมากมายกว่าจะไปจบลงตามเนื้อความที่ต้องการ
Loosening of association ความคิดไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องที่พูดไปเรื่อยไม่เกี่ยวข้องกัน
Neologism เป็นคำพูดที่ผู้ป่วยคิดขึ้นเอง ไม่มีใครฟังออก
perseveration หมายถึง ผู้ป่วยพูดซ้ำๆ ติดต่อกันโดยไม่มีความหมาย
tangentiality หมายถึง ผู้ป่วยคล้ายจะตอบคำถามแบบอ้อมค้อมยืดยาว
ความผิดปกติของความจํา (Disorders of memory)
Organic amnesia เกิดจากความผิดปกติของสมอง ทำให้ความสามารถในการบันทึกความจำ (registration) และการเก็บความจำไว้(retention) เสียไป
anterograde amnesia คือการสูญเสียความจำภายหลังจากเกิดเหตุการณ์
retrograde amnesia คือ การสูญเสียความจำก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์
Psychogenic amnesia ภายหลังประสบกับปัญหาร้ายแรงของชีวิต ผู้ป่วยจะมีอาการลืมเกิดขึ้นทันที
déjà vu เป็นความรู้สึกว่าได้เคยเห็นหรือรู้จักคุ้นเคยกับสิ่่งใดสิ่งหนึ่งมาก่อน ทั้งๆที่ผู้ป่วยไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลย อาการจะเป็นอยู่ชั่วระยะเวลาสั้นๆ 2-3 นาที
jamais vu เป็นอาการตรงกันข้าม กับ déjà vu คือ ผู้ป่วยเคยเห็นหรือ
รู้จักคุ้นเคยกับสิ่งหนึ่งมาก่อนแล้ว แต่กลับมีความรู้สึกว่าตนไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลย
confabulation หมายถึง ผู้ป่วยสูญเสียความจำ โดยเฉพาะความจำที่เพิ่ง
เกิด (recent memory) แล้วผู้ป่วยต่อเติมแต่งเรื่องราวขึ้นมาเอง
ความผิดปกติของการรับรู้ (Disorders of perception)
tactile มีความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาไต่ตามตัว หรือรู้สึกแปลกๆตามผิวหนัง
Illusion ผู้ป่วยแปลภาพที่เห็นหรือเสียงที่ได้ยินผิดไปจากความจริง
gustatory รู้รสแปลกๆ เช่น รู้สึกว่าลิ้นได้รับรสแปลกๆ เช่น รสโลหะ
Hallucination ประสาทหลอน เป็นการรับรู้โดยไม่มีสิ่งเร้า
olfactory ได้กลิ่นแปลกๆ เช่นกลิ่นเหม็นไหม้
depersonalization ผู้ป่วยรู้สึกวาตนเองแปลกหรือเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง
visual มีภาพหลอน โดยอาจเห็นเป็นภาพคน สัตว์ สิ่งของ หรือภาพอย่างอื่น
derealization ผู้ป่วยรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
auditory มีหูแว่วได้ยินเสียงจากภายนอก อาจเป็นเสียงรูปแบบต่างๆ หรือเสียงคนพูด