Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวใจชายหนุ่ม : - Coggle Diagram
หัวใจชายหนุ่ม :
-
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
-
-
-
-
-
-
-
๘.สื่อถึงชายหนุ่มที่ไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองนานอาจแสดงถึงวัฒนธรรมของชาวตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้
ลักษณะนิสัยของตัวละคร
นายประพันธ์ เป็นผู้นิยมวัฒนนธรรมตะวันตกอย่างผิดๆ
ซึ่งงบางสิ่งไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมของไทย
จึงเปรียบเหมือนการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน เช่น คํากล่าวที่ว่า “
อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึกอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้เห็นผู็ชาย” ความจริงแล้วเป็นธรรมเนียมที่ดีของไทย
ที่กุลสตรีที่ดีงามมักจะเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านเพื่อฝึกงานบ้านงานเรือน อีกอย่างก็มีจิตใจที่อ่อนไหว ครั้งเมื่อเห็นจดหมายที่ส่งให้แก่แม่อุไรนั้น ก็ถูกฉีกเป็นเศษเล็กเศาน้อยร่วงออกมา“
ฉํนเทออกแล้วจึงจำได้ว่าเป็นจดหมายที่ฉันส่งไปถึงแม่อุไรนั้นเอง ขอให้นึกเถิดว่าฉันสะดุ้งปานใด”
ตั้งแต่ครั้งนั้นเองทำให้ประพันธ์เป็นทัศฯคติใหม่ๆ ที่มีต่อสตรีไทยทั้งยังเป็นห่วงเป็นใยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังที่กล่าวว่า
“ถ้าเมื่อไรผู้หญิวไทยที่ดีๆ พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่เป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงอย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆ เท่านั้นแหละผู้ชายที่มักมากจะต้องเปลี่ยนความคิดและความปรพฤติ"
แม่อุไร จากคำกล่าวของนายประพันธ์ที่ว่า"ขอบอกโดยย่อว่าหล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดที่ฉันเคยได้พบในกรุงสยาม หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้หญิงไทย" เห็นได้ว่าแม่อุไรมีบุคลิกดูมั่นใจในตัวเอง กล้าคิดกล้าพูดแบบชาวตะวันตก แต่หากกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราเห็นว่าพฤติกรรมของคนเราสามารถเปลี่ยนได้เสมอตราบใดที่ยังไม่หมดลมหายใจ
กิริยาดูหยาบกระด้าง ดูแคลน เห็นผิดเป็นชอบ ดังที่ว่า
"เห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าคนเกียรติยศดี พูดจาขู่ฟ่อๆดั่งแมวที่ดุเสมอ"
และแสดงให้เห็นถึงกิริยาที่ไม่ใช่แบบแผนที่สุภาพเรียบร้อยของคนไทย "แม่อุไรเดินกระทืบตีนปังๆ ขึ้นไปถึงห้องรับแขก นั่งลงทำหน้ามู่ทู่ไม่พูดจาไม่อะไรเป็นพักใหญ่ๆ" อีกหนึ่งสิ่งคือการที่ไม่รู้จักรักนวลสงวนตัว ยอมทอดกายให้แก่ชายถึงสองคน คือนายประพันธ์ ทำให้ท้องก่อนแต่ง และพระยาตระเวนนครที่มีนางบำเรออยู่แล้วถึง ๗ คน ทำให้ผิดหวังรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า
พระยาตระเวนนคร เป็นคนเจ้าชู้ประเภทเสือผู้หญิง ดังที่นายประพันธ์กล่าวไว้ว่า "ถ้าเห็นผู้หญิงสวยๆ และมีคนตอมจะต้องพยายามให้ได้หญิงคนนั้นจนได้แต่ได้แล้วมักจะเบื่อ" ทั้งปัญญาที่เฉลียวฉลาดจากการที่ ยังไม่ยอมตกลงเป็นผัวเมียโดยราชการกับแม่อุไร ทำให้ไม่ต้องคอยพาแม่อุไรไปออกงานสังคมมากนัก จึงมีโอกาสที่จะพบปะกับหญิงใหม่ๆได้ตลอดเวลา
หลวงพิเศษผลพาณิชย์ เป็นพ่อค้าที่มั่งมี แต่มีความจริงใจที่กล่าวว่า"จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูปดังใจหวัง แต่หวังว่าจะเข้าใจลักษณะของขุนช้าง คือรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน'' จึงนับว่าเป็นบุญของแม่อุไรที่ได้พบคนที่ดี
คุณค่าด้านเนื้อหา
มีการสร้างตัวละครได้อย่างสมจริง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของคลุมถุงชนที่มีทั้งสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิด และมีทั้งความสมควรและไม่สมควร โดยมีลักษณะที่สมจริงสมเหตุสมผล โดยประพันธ์เป็นคนที่มีแนวคิดเป็นคนสมัยใหม่ ซึ่งบางครั้งก็ตรงข้ามกับความเป็นไทยที่เหมาะสมแต่ก็ยังสามารถกลับตัวกลับใจมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จึงมีความสมบูรณืทั้งตัวละคร และเนื้อหาของตัวละคร
คุณค่าด้านสังคม
บทกวีย่อมสะท้อนถึงสภาพสังคมของกวีตามมุมมองของกวี ซึ่งจากเรื่องหัวใจชายหนุ่มจะสะท้อนให้เห็นสังคมในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งแตกต่างกับสังคมไทยในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการเมืองการปกครอง สภาพบ้านเมือง วัฒนธรรมต่างๆ การแต่งกาย การไว้ผมยาวของสตรี การเห็นความสำคัญของการศึกษา ชีวิตการแต่งงานและความคิดของคน
ความเป็นมาของเรื่อง
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ พระองค์ได้สร้างตัวละครเอกขึ้นมา โดยสมมติให้มีตัวตนจริงและใช้สถานที่ที่มีอยู่จริงดำเนินเรื่อง เนื้อเรื่องของหัวใจชายหนุ่มสะท้อนให้เห็นแนวพระราชดำริในการปรับรับเอาอารยธรรมของตะวันตกเข้ามาผสมผสานกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทยในยุคสมัยของพระองค์
ลักษณะคำประพันธ์
หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายประเภทร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง 18 ฉบับในเรื่อง
๑) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖- ขะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
-
๓) คำลงท้ายจะใช้คำว่า "จากเพื่อน..." "แต่เพื่อน..." แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น "แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง" (ฉบับที่ ๑๐) มีเพียง ๙ ฉบับเท่านั้นที่ไม่มีคำลงท้าย
๔) การลงชื่อตั้งแต่ฉบับที่ ๑๔ เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานคือ "บริบาลบรมศักดิ์" โดยตลอดฉบับที่ ๑-๑๓ ใช้ชื่อ "ประพันธ์"
๕) ความสั้นยางของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ ๑๔ เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายแจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ มีการเริ่มต้นเรื่องได้น่าติดตาม อีกทั้งยังดำเนินเรื่องก็ชวนให้ติดตามไปจนจบเรื่อง สำนวนภาษาในการเขียนจดหมาย และการเลือกใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ รวมทั้งคำแสลงมากมายสอดคล้องกับลักษณะคำประพันธ์ผู้ยังอยู่ในวัยหนุ่มและเพิ่งกลับจากต่างประเทศใหม่ๆ ทำให้ทราบเกี่ยวกับภาษาที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วนอกจากนั้นเนื้อความในจดหมายก็เป็นมุมมองหรือทัศนคติที่ตรงไปตรงมาเหมือนจดหมายทั่วๆไป กลวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ืทำให้หัวใจชายหนุ่มสมจริงเป็นอย่างยิ่ง และสามารถสื่อแนวคิดที่ต้องการจะนำเสนอได้ชัดเจน
คุณค่าด้านแนวคิด หัวใจชายหนุ่มมีเนื้อหาที่แสดงถึงการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในสังคมไทย โดยนำเสนอผ่านชีวิตของหนุ่มนักเรียนนอกที่เพิ่งจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมในการถ่ายทอด ความคิดเห็นและสภาพสังคมไทยในสมัยนั้น