Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
The Financial Markets ตลาดทางการเงิน - Coggle Diagram
The Financial Markets
ตลาดทางการเงิน
Types of Market
จำแนกตามอายุของตราสารทางการเงิน
ตลาดทุน (Capital Markets) เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายตราสารทางการเงิน ระยะยาว ที่มีอายุมากกว่า 1 ปี เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้
ตลาดเงิน (Money Markets) เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายตราสารทางการเงิน ระยะสั้น ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน
จำแนกตามลักษณะการส่งมอบ
ตลาดเงินสดหรือตลาดทันที (Cash or Spot Markets) เป็นตลาดที่เมื่อมีการซื้อขายแล้วจะส่งมอบทันที หรือภายใน 2 วัน
ตลาดล่วงหน้า (Future Markets) เป็นตลาดที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายสินทรัพย์กันในปัจจุปันแต่จะมีการส่งมอบกันในอนาคต เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางด้านราคา เช่น สินค้าเกษตร น้ำมัน ทอง
อัตราแลกเปลี่ยน
การเทรด Futurs เป็นการลงทุนมาจากไอเดียตลาดล่วงหน้า การเกร็งกำไรในอนาคต คาดการณ์ ชื่อ TFEX ซื้อขายตราสารอนุพันธ์
จำแนกตามลักษณะการไหลของหลักทรัพย์หรือตามลำดับการจำหน่ายหลักทรัพย์
ตลาดแรก (Primary Markets) ตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นตลาดที่ไม่เคยทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก ยังไม่เคยซื้อขายมาก่อน
Private Placement จำหน่ายให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสถาบันในสถาบันหนึ่ง
Public Offering จำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ราคาไม่อพง เช่น หุ้น OR หุ้น IPO
บริษัททำธุรกรรมกับนักลงทุน
ตลาดรอง (Secondary Markets) เป็นตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคยออกจำหน่ายในตลาดแรกมาแล้ว ตลาดรองจะเป็นตลาดที่ทำให้การตัดสินใจลงทุนในตลาดแรกมีความคล่องตัวมากขึ้น
นักลงทุนทำธุรกรรมกับนักลงทุน ซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ SET
จำแนกตามลักษณะการจำหน่ายหลักทรัพย์
Private Markets เป็นตลาดที่มีการตกลงโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
Public Markets เป็นตลาดที่ทำการจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลโดยทั่วไป และทำการซื้อขายกันในตลาดที่มีระบบ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้
Financial Instrument
ตราสารทางการเงิน
ตราสารทางการเงินในตลาดเงิน
ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills)
ตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี รัฐบาลเป็นผู้ออกจำหน่ายเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชน
ตราสารหนี้ประเภทนี้ไม่มีดอกเบี้ยแต่นักลงทุนสามารถซื้อได้ในราคาขายที่ต่ำกว่าตามหน้าตั๋ว
โดยส่วนต่างจะเป็นผลตอบแทน เช่น ราคาหน้าตั๋ว 100 บาท ซื้อมาในราคา 97 บาท เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนก็จะได้ผลต่าง 3 บาท
Risk Free คือไม่มีความเสี่ยง
คนซื้อส่วนมากจะเป็นธุรกิจ/สถาบัน รายย่อยหรือประชาชนทั่วไปจะไม่ค่อยซื้อ
บัตรเงินฝากเงินที่เปลี่ยนมือได้ (Neqotianle Certificate of Deposit : NCD)
ตราสารหนี้ทางการเงินที่ธนาคารออกให้แก่ผู้ฝากเงิน (รายใหญ่) มีกำหนดเวลาและอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน
คล้านกับการฝากเงินแต่แทนที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารซึ่งจะได้เป็นสมุดเงินฝากแต่จะได้รับเป็นหลักฐานการรับฝากแทน
ข้อดี ผลตอบแทนสูงเนื่องจากผู้ลงทุนเป็นลูกค้ารายใหญ่และธนาคารผู้ออกบัตรเงินฝากมีความยืดหยุ่นในการเสนออัตราผลตอบแทนมากกว่า
ธนาคารแต่ละแห่งมีอิสระที่จะกำหนดผลตอบแทนให้ลูกค้าของตนเองไม่เหมือนกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper)
ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissiry Note)
คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ออกตั๋ว (Maker) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งดรียกว่า ผู้รับเงิน (Payee)
โดยทั่วไปอายุตั้งแต่ 30-180 วัน
ตั๋วสัญญาใช้เงินอาจจะออกโดยลูกหนี้ (ผู้ซื้อสินค้า) เพื่อเป็นสัญญาว่าจะชำระสินค้าให้แก่เจ้าหนี้ (ผู้ขายสินค้า) ในอนาคต
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินอาจจะออกโดยบริษัทเงินทุน เพื่อเป็นสัญญาแสดงถึงการรับฝากเงินจากประชาชน
ออกในเชิงการค้าเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น
ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)
หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกผู้หนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน
เช็ค (Cheque)
หนังสือตราสารที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่ง ธนาคาร ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน
ตราสารทางการเงินในตลาดทุน
หุ้นสามัญ (Common Stock)
ตราสารที่แสดงสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าของบริษัท ผู้ถือครองหุ้นมีสิทธิเข้าประชุมและออกคะแนนเสียงในที่ประชุมและร่วมพิจารณาตัดสินใจปัญหาสำคัญต่างๆ
สิทธิผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับก็คือ เงินปันผล (Dividend) จากกำไรของบริษัท ซึ่งได้รับหลังจากที่จ่ายปันผลให้แก่หุ้นบุริมสิทะธิไปก่อนแล้ว
อาจได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น กำไรหรือขาดทุนจากการขายหุ้น ซึ่งไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของบริษัท
ผผลตอบแทน 2 ลักษณะ
Capital Gain หากราคาหุ้นสูงขึ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้น
Capital Loss หากราคาหุ้นต่ำลงจะเป็นขาดทุนจากการขายหุ้น
หากบริษัทล้มละลายหรือเลิกกิจการมีการจำหน่ายทรัพย์สิน
ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิที่จะได้รับแบ่งทรัพย์สินคืนตามสัดส่วนหุ้นสามัญ
หลังจากที่ได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้รวมไปถึงผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจนครบถ้วนแล้วจึงจัดไดเว่าผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิ์ในลำดับสุดท้ายของการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุนคืน
ไม่มีอายุครบกำหนดไถ่ถอน
หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
ในไทยไม่มีขาย
ตราสารประเภทหุ้น ทุนคล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร
หุ้นประเภทน้มีไม่มากในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย
ภาษาเทคนิคเรียกว่า สภาพคล่องต่ำ
สัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อของหุ้นสามัญ
ให้สิทธิเหนือกว่าหุ้นสามัญ สิทธิในเงินปันผล สิทธิในทรัพย์สินกรณียกเลิกกิจการ
โดยปกติเงินปันผลที่ระบุจะเป็นจำนวนคงที่ และคิดเป็นร้อยละจากมูลค่าที่ตราไว้ หรืออาจระบุเป็นจำนวนเงินต่อหุ้นโดยตรง
ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญหรือวอร์แรนท์ (Warrants)
ทรัพย์สินอ้างอิง (Underlying asset)
หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นกู้
ส่วนใหญ่จะเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ ซึ่งเป็นใบสำคัญที่บริษัทผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทผู้ออกวอแรนท์นั้นในจำนวนและราคาที่กำหนดไว้แล้วภายในระยะเวลาที่กำหนดในวอแรนท์
อัตราส่วนการใช้สิทธิ (Conversion Ratio)
เช่น หุ้น A ราคา 10 บาท ภายใน 31 มค 65
ถ้าหุ้นราคาไปที่ 12 บาท จะใช้สิทธิ
ถ้าหุ้นราคา 8 บาทจะไม่ใช้สิทธิ
จะใช้สิทธิหรือไม่ใช้ก็ได้
หุ้นกู้ (Corporate Bond) หรือ พันธบัตรรัฐบาล (Treasury Bond)
ตราสารหนี้ระยะยาวที่ผู้ถือหุ้นกู้/พันธบัตรมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ผู้ออกหุ้นกู้/พันธบัตรมีฐานะเป็นลูกหนี้
ได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุและตามระยะเวลาที่กำหนด
แบ่งตามผู้ออกได้เป็น 2 ประเภท
พันธบัตร
ออกโดยรัฐบาล risk ต่ำ
หุ้นกู้
ออกโดยบริษัทเอกชน risk สุงกว่าพันธบัตร
risk จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้จึงสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล
Financial Institution สถาบันการเงิน
การเคลื่อนไหวของเงินทุนระหว่างผู้มีเงินออมและผู้ที่ต้องการเงินทุน
การระดมทุนโดยตรง (Direct Transfers)
การระดมทุนโดยอ้อมผ่าน Investment Bankers (Indirect Transfers)
Types of Financial Institution
ประเภทของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงิน จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินระหว่างผู้มีเงินออมกับผู้ที่ต้องการเงินทุน
ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank)
ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทที่รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่นการให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด และซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non-bank Financial Institution)
บริษัทเงินทุน (Financial Company)
ธุรกิจเงินทุน หมายถึงธุรกิจกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์
กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา
กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค
กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ
กิจการเงินทุนอื่นตามกฎกระทรวง
ความแตกต่างระหว่างธนาคารพาณิชย์กับบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
แหล่งที่มาของเงินทุน
ธนาคารพาณิชย์ เงินฝาก
บริษัทเงินทุนและบริษัเงินทุนหลักทรัพย์ เงินกู้ยืม (ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน)
การปล่อยสินเชื่อ
ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจ
บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บุคคล
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (Credit Foncier Company)
บริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถัประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
แหล่งที่มาของเงินทุน
เงินกองทุน ได้แก่ ทุนจดทะเบียน ทุนสำรองและกำไรสะสม
เงินกู้ยืม ทั้งจากธนาคารและจากประชาชน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือหุ้นกู้)
บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย (Life and Non Life Insurance Company)
แหล่งเงินทุนมาจาก
เงินสำรองประกันภัย เป็นเงินสำรองที่สะสมจากเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกัน
เงินกองทุน ได้แก่ ทุนจดทะเบียน ทุนสำรองและกำไรสะสม
เงินกู้ยืมจากธนาคาร
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (Mutual Fund Management Company)
แหล่งเงินทุน
เงินจากการขายหน่วยลงทุน
เงินกองทุน ได้แก่ ทุนจดทะเบียน ทุนสำรองและกำไรสะสม
เงินกู้ยืมจากธนาคาร
สหกรณ์การเกษตร (Agricultural Cooperative)
สหกรณ์ออมทรัพย์ (Saving Cooperative)
จัดตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินจากสมาชิกและให้สมาชิกกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยแต่ไม่คำนึงถึงผลกำไร โดยนำกำไรจากการดำเนินงานมาแบ่งให้สมาชิกตามมูลค่าหุ้นที่ถือทุกๆปี
โรงรับจำนำ (Pawn Shoop)
เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ขาดแคลนขาดสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในระยะสั้นๆ
แหล่งเงินทุนของโรงรับจำนำ
ทุนจุดทะเบียน
เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
กำไรสะสม
แหล่งเงินทุนของสถานธนานุเคราะห์
ทุนประเดิม
เงินงบประมาณ
เงินกู้ธนาคารออมสิน
กำไรสะสม
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institution)
ธนาคารออมสิน (Government Saving Bank)
วัตถุประสงค์พิเศษในการทำหน้าที่ระดมเงินออมจากผู้ออมเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุลของรัฐบาลในขณะนั้น และเพื่อส่งเสริมการออมของประชาชน
ธราคารอาคารสงเคราะห์ (Government Housing Bank)
เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (The Bank for Agricultural and Agricultural Cooperative)
เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand : EXIM Bank)
เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้สินเชื่อทั้งสินเชื่อระยะสั้นและระยะยาว สินเชื่อในประเทศและสินเชื่อต่างประเทศโดยสามารถทำธุรกิจได้ทั้งที่เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.หรือ SME Bank)
เพื่อปรับสถานะของบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) เป็นธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ เพื่อประกอบธุรกิจอันเป็นการพัฒนา ส่งเสริมช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงาน
โดยให้สินเชื่อ ค้ำประกัน ร่วมลงทุน ให้คำปรึกษาแนะนะหรือให้บริการที่จำเป็นอื่น
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (Islamic Bank of Thailand)
เพื่อสนองความต้องการสำหรับชาวไทยมุสลิมให้มีช่องทางการเงินที่ถูกต้องตามหลักศาสนา