Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจ หลอดเลือ และไต - Coggle Diagram
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจ
หลอดเลือ และไต
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
DABIGATRAN ดาบิกาทราน
DABIGATRAN ดาบิกาทราน
เป็นยาที่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (ATRIAL FIBRILLATION)ป้องกันและรักษาการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ส่วนลึก (DEEP VEIN THROMBOSIS: DVT) และภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (PULMONARY EMBOLISM: PE) หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือข้อสะโพกเทียม หรืออาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
แบ่งออกเป็น2กลุ่ม
1.ออกฤทธิ์ต้านTHROMBINโดยตรงซึ่งTHROMBINทำให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ DABIGATRAN
2.ออกฤทธิ์ยับยั้งFACTOR X ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวยากลุ่มนี้ได้แก่ RIVAROXABAN,APIXABAN และ EDOXABAN
RIVAROXABAN (ไรวาโรซาแบน)
เป็นยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว(ATRIAL FIBRILLATION) รักษาและป้องกันภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DEEP VEIN THROMBOSIS: DVT) และโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด(PULMONARY EMBOLISM: PE) ในผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือสะโพกเทียมอาจใช้รักษาอาการอื่น ๆ ตามดุลพินิจของแพทย์
APIXABAN(เอพิชาแบน)
เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดจากภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว(ATRIAL FIBRILLATION) หรือหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือข้อสะโพกเทียมรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันบางชนิด เช่น ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก(DEEP VEIN THROMBOSIS: DVT) และภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด(PULMONARY EMBOLISM: PE) และช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
EDOXABAN(อีด็อกซาแบน)
เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ใช้รักษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (DEEP VEIN THROMBOSIS: DVT) และภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด(PULMONARY EABOLISM: PE) ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (ATRIAL FIBRILLATION) และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและลิ่มเลือดอุดตัน โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งโปรตีชนิดหนึ่งที่ทําให้เลือดแข็งตัว งจะช่วยป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือดในร่างกายได้
ยาละลายลิ่มเลือด
WARFARIN (วาหาริน)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือที่เรียกกันว่ายาละลายลิ่มเลือด ใช้เพื่อช่วยลดการแข็งตัวของเลือด ใช้ในการรักษาและป้องกันเลือดอุดตันในเส้นเลือดสําหรือหลอดเลือดแดง และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ หรืออาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ การใช้ยานี้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจๆของแพทย์
STREPTOKINASE สเตรปโตไคเนสส)
เป็นยาละลายลิ่มเลือดที่ผลิตจากเอนไซม์ ซึ่งช่วยสลายลิ่มเลือดที่เป็นโดยนํามาใช้รักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
สาเหตุทำให้หลอดเลือดอุดกั้นเฉียบพลัน โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด หลอดเลือดแดงและด่าอุดตัน หรืออาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
ยาขับปัสสาวะ
ยาขับปัสสาวะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
• ยาขับปัสสาวะกลุ่มโธอะไซด์ไดยูเรติก (THIAZIDE DIURETICS) เป็นยาที่แพทย์มักใช้มากที่สุด โดยยากลุ่มนี้จะเข้าไปออกฤทธิ์กับไตโดยตรงและกระตุ้นการขับปัสสาวะโดยยับยั้งการขนส่งโซเดียม และคลอไรด์ภายในหลอดไตส่วนปลายของหน่วยไต จึงทําให้ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณของเหลวนอกเซลล์และพลาสมาลดลง อันจะช่วยลดการทํางานของหัวใจและลดความดันโลหิตได้ ทั้งนี้ในบางกรณีอาจมีการใช้ยาชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อลดความดันโลหิต ยากลุ่มไธอะไซด์ได้แก่ ยาไฮโดรโคลโรโธอะไซด์ไHYDROCHLOROTHIAZIDE) ยาโคลโรธอะไซด์(CHLOROTHIAZIDE) ยาอินดาพาไมด์ (INDAPAMIDE) ยาเมโทลาโซน(METOLAZONE) ยาโคลธาลิโดน (CHLORTHALIDONE) เป็นต้น
ยาขับปัสสาวะกลุ่มลูปไดยูเรติก (LOOP DIURETICS) เป็นยาขับปัสสาวะที่มักใช้ในผู้ป่วยหัวใจวาย ผู้ป่วยโรคตับและโรคไตในบางกรณีอาจใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูงด้วย โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการขนส่งสารโซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ในห่วงเฮนเล (HENLE'S LOOP) ที่อยู่ภายในไต ร่างกายจะดูดซับโซเดียม คลอไรด์ และโพแทสเซียมลดลง ทำให้สารเหล่านั้นถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะในที่สุด นอกจากนี้ ยาดังกล่าวยังช่วยลดการดูดซึมแคลเซียมและแมกนีเซียมของร่างกายได้อีกด้วยตัวอย่างของยากลุ่มนี้ได้แก่ ยาฟูโรซี่ไมด์(FUROSEKAIDE) ยาบูเมทาไนด์ (BUMETANIDE) ยาอีธาไครนิค แอคซิด (ETHACRYNIC ACID) ยาทอร์เซ็ไมค์ใTORSEAIDE) เป็นต้น
ยาขับปัสสาวะกลุ่มโพแทสเซียม สแปร่งใดยูเรติก (POTASSIUM-SPARING DIURETICS) เป็นกลุ่มของยาขับปัสสาวะที่ใช้เพื่อลดปริมาณน้ำในร่างกายโดยไม่ขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายด้วยโดยยาตัวนี้จะเข้าไปขัดขวางหรือการแลกเปลี่ยนของโซเดียมและโพแทสเซียมภายในหลอดไตส่วนปลายเข้าไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (ALDOSTERONE) ที่มีหน้าที่ควบคุมความสมดุลระหว่างน้ำและเกลือแร่ในร่างกายโดยยานี้มักใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงภาวะโพแทสเซียมต่ำ หรือผู้ที่ใช้ยารักษาชนิดอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อระดับโพแทสเซียมในร่างกาย ยาขับปัสสาวะประเภทนี้ได้แก่ ยาสไปโรโนแลคโทน (SPIRONOLACTONE) ยาอามิโลไรด์ (AAILORIDE) ยาอีพลีรีโนน (EPLERENONE) และยาไทรแอมเทรีน (TRIAATERENE) เป็นต้น