Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานโปรแกรมภาษาซี - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานโปรแกรมภาษาซี
ตัวคงที่ (constant)
ตัวคงที่มีลักษณะคล้ายตัวแปร แตกต่างจากตัวแปรตรงที่ ค่าที่เก็บในตัวคงที่จะคงเดิมไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งจบโปรแกรม แต่ค่าที่เก็บในตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
1. ใช้คําหลัก const ตามรูปแบบดังนี้
const ชนิดข้อมูล ชื่อตัวแปร = ค่าที่เก็บในตัวแปร;
2. ใช้ตัวประมวลผลก่อน ตามรูปแบบดังนี้
#define ชื่อตัวคงที่ ค่าคงที่;
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี
มี
โครงสร้างและลําดับการเขียนดังนี้
ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อน (preprocessor statements) รหัสต้นฉบับ
(source code)
หมายเหตุ (comment)
โปรแกรมภาษาต่างๆ จะมีรูปแบบหรือโครงสร้างเฉพาะที่แตกต่างกันไป
ตัวแปร (variables)
กฏการตั้งชื่อตัวแปร
- ยาวสูงสุด 31 ตัวอักษร
- ตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก มีความหมายที่แตกต่างกัน
- ห้ามใช้ชื่อเฉพาะ
- อักขระตัวแรกต้องเป็น a ถึง z และ
_
ประกอบด้วย a ถึง z, 0 ถึง 9 และ
เท่านั้น_
การตั้งชื่อตัวแปรมีข้อกําหนดดังนี้
ตัวแปร เป็นชื่อของหน่วยความจําที่ตําแหน่งใด ๆ เมื่อนําข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความจําตําแหน่งนั้น
จะกล่าวว่า ตัวแปรนั้นมีค่าเท่ากับข้อมูลที่เก็บไว้
ข้อความสั่งกำหนดค่า (assignment statement)
ข้อความสั่งกําหนดค่า คือ ข้อความสั่งที่ใช้สําหรับ สั่งให้นําผลลัพธ์ของนิพจน์ที่อยู่ด้านขวาของตัว
ดําเนินการเท่ากับ (=) เก็บไว้ในตัวแปรที่อยู่ด้านซ้ายของตัวดําเนินการเท่ากับ (=)
ตัวแปร = นิพจน์;
นิพจน์ (expressions)
สิ่งที่ประมวลผลแล้วสามารถให้เป็นค่าตัวเลขได้ ซึ่งแต่ละนิพจน์จะมีระดับ
ความยากง่ายในการประมวลผลที่แตกต่างกัน
การแสดงผลและการรับค่า
ลําดับหลีก (escape sequence)
จะเขียนขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายทับกลับหลัง (/) แล้วตามด้วยอักขระ
เครื่องหมายทับกลับหลังจะบอกให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทราบว่า ให้หลีกเลี่ยงการตีความอักขระที่ตามหลังมานี้
ในลักษณะปกติ เพราะอักขระเหล่านี้จะมีความหมายพิเศษแตกต่างออกไป
ฟังก์ชัน printf()
ฟังก์ชัน printf() เป็นฟังก์ชันจากคลัง ที่มาพร้อมกับตัวแปลโปรแกรมภาษาซี ใช้สําหรับการแสดงผล
มีรูปแบบ ดังนี้
printf (“สายอักขระควบคุม”, ตัวแปร);
ฟังก์ชัน scanf()
ฟังก์ชัน scanf() เป็นฟังก์ชันจากคลัง ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ โดยจะบอกเลขที่อยู่ของตัว
แปรในหน่วยความจํา แล้วจึงนําค่าที่รับมาไปเก็บไว้ตามที่อยู่นั้น
ตัวดำเนินการประกอบ (compound operator)
ตัวดําเนินการประกอบ เป็นการใช้ตัวดําเนินการหนึ่งตัวร่วมกับเครื่องหมายเท่ากับ การใช้ตัว
ดําเนินการประกอบจะช่วยให้เขียนข้อความสั่งได้สั้น และเร็วขึ้น
การกำหนดค่าจากข้อมูลหลายชนิด (assignment with mixed types)
ถ้านิพจน์ในข้อความสั่งกําหนดค่าประกอบด้วย ตัวแปร หรือ ตัวคงที่ที่มีชนิดข้อมูลต่างกัน จะต้อง
แปลงให้เป็นชนิดเดียวกันก่อน แล้วจึงนํามาดําเนินการ โดยมีหลักดังนี้ คือ
ถ้าตัวแปร หรือ ตัวคงที่ มีชนิดข้อมูลที่ต่างกัน จะต้องแปลงให้เป็นชนิดเดียวกันก่อน แล้วจึง
ดําเนินการ
การแปลงชนิดข้อมูล (type cast)
การแปลงชนิดข้อมูลมีหลายวิธี แต่ที่กล่าวในที่นี้คือ การแปลงชนิดข้อมูลโดยการกําหนดชนิด
ไว้ที่หน้าข้อมูลนั้น
การคำนวณทางคณิตศาสตร์
ในการเขียนโปรแกรม เพื่อทําการคํานวณทางคณิตศาสตร์ จะต้องใช้ตัวดําเนินการต่าง ๆ ซึ่งมี
วิธีการใช้งาน และการทํางาน ดังนี้
บวก (+) นําค่าที่เก็บใน a บวกกับค่าที่เก็บใน b แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ใน c
ลบ (-) นําค่าที่เก็บใน b ลบออกจากค่าที่เก็บใน a แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ใน c
คูณ (*) นําค่าที่เก็บใน a คูณกับค่าที่เก็บใน b แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ใน c
มอดูลัส (%) ให้ค่าที่เก็บใน a เป็นตัวตั้ง ค่าที่เก็บใน b เป็นตัวหาร แล้วเก็บเศษไว้ใน c
หาร (/)
ถ้าทั้งตัวตั้งและตัวหารต่างเป็นจํานวนเต็ม
ค่าที่เก็บใน c จะเป็นจํานวนเต็ม
ให้ค่าที่เก็บใน a เป็นตัวตั้ง ค่าที่เก็บใน b เป็น
ตัวหาร แล้วเก็บผลหารไว้ใน c
ตัวดำเนินการเอกภาค (unary operator)
ตัวดําเนินการเอกภาค คือ การใช้ตัวดําเนินการกับตัวแปรตัวเดียว ในที่นี้จะแสดงการใช้ตัวดําเนินการ
2 ตัวกับตัวแปรตัวเดียว ซึ่งมีลักษณะการใช้ 2 แบบ คือ
1. ตัวดําเนินการเอกภาคเติมหลัง (postfix mode) หมายถึง ตัวดําเนินการเอกภาคอยู่หลังตัวแปร
เช่น a++ หมายถึง ให้เพิ่มค่าให้ตัวแปร a ขึ้นอีก 1
2. ตัวดําเนินการเอกภาคเติมหน้า (prefix mode) หมายถึง ตัวดําเนินการเอกภาคอยู่หลังตัวแปร
เช่น ++a หมายถึง ให้เพิ่มค่าให้ตัวแปร a ขึ้นอีก 1