Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ส่วนโครงสร้างรับแรงดัด - Coggle Diagram
ส่วนโครงสร้างรับแรงดัด
ความต้านทานต่อแรงเฉือน (Shearing Resistance) จากการวิเคราะห์โครงสร้าง จะเห็นว่านอกจากคานต้องรับโมเมนต์ดัดแล้ว ยังต้องรับแรง เฉือนที่กระทำในแนวตั้งซึ่งตั้งฉากกับแนวตามยาวของคานนั้น และมีค่ามากที่สุดที่ปลายคานของ คานช่วงเดี่ยว โดยหลักความสมดุล หน่วยแรงเฉือนในแนวตั้งจะก่อให้เกิดหน่วยแรงเฉือนใน แนวนอนและมีค่าเท่ากับหน่วยแรงเฉือนในแนวตั้ง แต่เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่มีกำลังต้านทานต่อ การเฉือนขาดในแนวตั้งได้ดีกว่าในแนวนอน ดังนั้น การพิจารณาเกี่ยวกับความต้านทานแรง เฉือนของไม้จึงพิจารณาจากหน่วยแรงเฉือนที่เกิดขึ้นในแนวนอนที่ขนานกับเสี้ยนไม้
-
การโก่งหรือแอ่นตัวในแนวดิ่ง (Vertical Deflection) การโก่งหรือแอ่นตัวในแนวดิ่งของคานมีค่าขึ้นกับ น้ำหนักบรรทุก ช่วงความยาวและ สภาพการยืดปลายของคาน และความแกร่งต่อการตัด (EI) ของคาน ซึ่งสามารถคำนวณหาได้ จากสูตรการวิเคราะห์โครงสร้างในการคำนวณออกแบบคานไม้มักพิจารณา ว่าระยะโก่งตัวถาวรของไม้ที่รับน้ำหนักสูงสุดอย่างถาวรมีค่าเท่ากับระยะโก่งตัวทันทีที่รับน้ำหนัก นั่นคือไม่คิดว่าไม่มี กำลังลดลง เว้นแต่จะใช้ไม้สดหรือไม้เปียกที่ปล่อยให้แห้งโดยธรรมชาติในขณะที่ใช้รับน้ำหนักซึ่ง ในกรณีนี้ให้พิจารณาใช้น้ำหนักบรรทุกคงที่เป็นสองเท่าในการคำนวณหาค่าการโก่งหรือแอ่นตัว
-
-
-
โมเมนต์บิด
(torsion)
บางครั้งคานไม้อาจต้องรับโมเมนต์บิดด้วย ซึ่งเกิดจากการที่น้ำหนักหรือแรงกระทำไม่ผ่านศูนย์ถ่วงของแรงเฉือน (shear center) สำหรับศูนย์ถ่วงของแรงเฉือนของคานไม้แปรรูปที่มี รูปตัดสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือรูปตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันกับศูนย์ถ่วงของรูปตัด แต่ปกติไม่นิยมออกแบบให้คานไม้รับโมเมนต์บิดเพราะยังมีข้อมูลในเรื่องนี้ไม่เพียงพอ
ในการคำนวณออกแบบภายใต้น้ำหนักบรรทุกใช้งานจะพิจารณาว่าหน่วยแรงบิดสูงสุดที่เกิดขึ้นในคานไม้แปรรูปต้องมีค่าไม่เกินกว่าหน่วยแรงเฉือนขนานเสี้ยนที่ยอมให้ และมีค่าไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของหน่วยแรงเฉือนขนานเสี้ยนที่ยอมให้สำหรับคานไม้ประกับ (glulam) ประกอบขึ้นโดยใช้กาว
-