Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) By 64019638 - Coggle Diagram
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) By 64019638
เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม ทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และเป็นไข้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพบมากในเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ และบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
คอแข็ง
มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ
ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ชัก
แพ้แสงหรือไวต่อแสง
ไม่มีความกระหายหรืออยากอาหาร
ปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติ
ง่วงนอน หรือตื่นนอนยาก
ผิวหนังเป็นผื่น พบได้ในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
เด็กแรกเกิดจนกระทั่งอายุไม่เกิน 1 เดือน สามารถเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน โดยอาจมีอาการดังนี้
ร้องไห้ตลอดเวลา
มีไข้สูง
ตัวและลำคอแข็ง
นอนหลับมากเกินไป หรือหงุดหงิดง่าย
เฉื่อยชา เคลื่อนไหวน้อย
กระหม่อมนูน
ดื่มนมได้น้อยลงมาก
สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส รองลงมาคือการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และจากเชื้อรา ตามลำดับ
การวินิจฉัย
การเก็บตัวอย่างโรค เนื่องจากแบคทีเรียเดินทางจากเลือดไปสู่สมองได้ แพทย์จึงใช้วิธีเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยเพื่อเพาะเชื้อหาสาเหตุการเกิดโรคในเลือดที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น N. meningitidis และ S. pneumoniae
การถ่ายภาพด้วย CT scans (Computerized Tomography) หรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ทำโดยการใช้เครื่องมือดังกล่าวถ่ายภาพของสมองที่อาจมีอาการบวมหรือพุพอง นอกจากนี้ แพทย์อาจถ่ายภาพบริเวณอกหรือโพรงจมูกเพื่อตรวจดูการติดเชื้อในบริเวณอื่นที่อาจเกี่ยวเนื่องกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วย
การเจาะน้ำไขสันหลัง นับเป็นวิธีที่แน่นอนและแม่นยำในการวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะถูกเจาะน้ำจากไขสันหลังไปตรวจผล
ประวัติของผู้ป่วย
การตรวจห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การตรวจเลือด
เชื้อแบคทีเรียที่มักเป็นสาเหตุของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
Neisseria meningitidis (Meningococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น
Streptococcus pneumoniae (Pneumococcus) ที่พบได้ในภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ
ส่วนเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่มีโอกาสเป็นสาเหตุการเกิดได้เช่นกัน ได้แก่
เชื้อแบคทีเรียโรคฮิบ (Haemophilus influenzae Type B)
เชื้ออีโคไล (Escherichia coli: E. coli)
เชื้อวัณโรค (TB
การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที โดยรับยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดดำ ทั้งนี้ การจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
การรักษาเฉพาะตามสาเหตุของการติดเชื้อ
การรักษาทั่วไปตามอาการแบบประคับประคอง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการชัก
ปัญหาด้านความทรงจำและการจดจ่อสมาธิ
ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การประสานงาน และความสมดุลของร่างกาย
ปัญหาด้านพฤติกรรม
ปัญหาในการเรียนรู้เรื่องที่ยาก
สูญเสียการได้ยิน อาจได้ยินเพียงบางส่วนหรือไม่ได้ยินเลย
สูญเสียการมองเห็นเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด
สูญเสียแขนขา ผู้ป่วยอาจต้องตัดแขนขา ป้องกันการติดเชื้อไปสู่ร่างกาย
ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ เช่น ข้ออักเสบ
ปัญหาเกี่ยวกับไต
มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น อาการนอนไม่หลับ
มีปัญหาในการพูด
การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
หากมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นการติดเชื้อชนิดที่ร้ายแรง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดโรค
หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ (Haemophilus Influenzae Type B)
วัคซีน IPD (Pneumococcal Vaccine)
วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน (MMR)
วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningitis ACWY Vaccine)
ล้างมือบ่อย ๆ