Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
งูมีพิษกัด - Coggle Diagram
งูมีพิษกัด
การดูแลที่ห้องฉุกเฉิน
- ประเมินสภาพผู้ป่วยตามหลัก ABC/ประเมินสัญญาณชีพและให้การช่วยเหลือเบื้องต้น
- ซักประวัติจากผู้ป่วย ญาติหรือผู้นำส่ง โดยซักให้ได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตำแหน่งที่ถูกงูกัด สถานที่ขณะถูกงูกัด ชนิด ลักษณะของงู เวลาที่ถูกงูกัด ระยะเวลาก่อนมาถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการผิดปกติหลังถูกงูกัด อาการผิดปกติของร่างกายที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่
- ลดความกลัว ความวิตกกังวลที่เกิดกับผู้ป่วยและญาติด้วยการอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบ ตามกรณีที่ประเมินพบในผู้ป่วย
- คลายผ้ายืดรัดอวัยวะที่ถูกงูกัดออก พร้อมทำความสะอาดแผลด้วย Aseptic solution บริเวณที่ถูกงูกัดให้สะอาดอย่างนุ่มนวล เบามือ เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียที่ปนเปื้อนจากน้ำลายงู
- ติดตามประเมินความดันโลหิต ชีพจร และการหายใจทุก 15-30 นาที จนกว่าอาการจะผ่านพ้นระยะวิกฤต จึงค่อยขยับช่วงความถี่ในการประเมินออกตามความเหมาะสม
- ดูแลความสุขสบายทั่วไป พักการใช้แขนขาบริเวณที่ถูกงูกัด ในกรณีที่มีอาการบวมมากให้ยกบริเวณนั้นให้สูง เมื่อมีอาการปวดให้ยาแก้ปวดเป็นพาราเซตามอล ไม่ควรให้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ กดประสาทส่วนกลาง เช่น กลุ่ม morphine ในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกลุ่ม neurotoxin กัด หรือไม่ควรให้ aspirin ในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษ กลุ่ม hematotoxin และประเมินอาการต่อเนื่อง
- พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะเมื่อมีอาการแสดงของการติดเชื้อที่แผลอย่างชัดเจนเท่านั้น โดยให้ยาปฏิชีวนะเป็น amoxicillin ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ส่วนเด็กให้คำนวณตามน้ำหนักตัวของเด็ก โดยรับประทานครั้งละ 20-50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยให้วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร และให้รับประทานจนครบ 3-5 วัน
- ให้ Tetanus toxoid หากไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องรับวัคซีนแต่ถ้าเกิน 5 ปี
ให้ฉีดวัคซีนบาดทะยักทุกรายที่โดนงูกัดโดยยึดตามประวัติการได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรคบาดทะยัก ในกรณีที่ถูกกัดโดยงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต
เช่น งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง และควรฉีดวัคซีนเข้ากล้ามให้ผู้ป่วย เมื่อ Venous clotting time (VCT) มีค่าปกติ เท่านั้น
- ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยพิจารณาตามชนิดของพิษงู
งูพิษต่อระบบประสาท
- ควรตรวจ peak flow จากการวัดด้วย mini Wright peak flow mete
งูกะปะหรืองูเขียวหางไหม้
- Venous clotting time (VCT) หรือ 20 WBCT (20 minute whole blood clotting test คือเจาะเลือด 2-3 ml ใน test tube ที่แห้งและสะอาด ตั้งทิ้งไว้ 20 นาที แล้วเอียงดูถ้าเลือดยังไหลได้คือผิดปกติ)
- Complete blood count และนับจำนวนเกล็ดเลือด
งูแมวเซา
- Venous clotting time (VCT) หรือ 20 WBCT
- Complete blood count และนับจำนวนเกล็ดเลือด
- การตรวจสเมียร์เลือด เพื่อดู fragmented red cell ถ้าพบเป็นหลักฐานที่บ่งถึงภาวะ DIC
- การตรวจปัสสาวะ (urinalysis)
- การตรวจระดับ BUN, creatinine, electrolyte
งูทะเล
- การตรวจระดับ BUN, creatinine, electrolyte
- การตรวจปัสสาวะ (urinalysis
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ประเมินผู้ป่วยตามหลัก ABC (Airway-Breathing-Circulation) และให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตามกรณีของผู้ป่วย
- ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล และบีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ห้ามเลือดควรใช้ผ้าสะอาดกดแผลโดยตรง
- กรณีบริเวณที่งูกัดเป็นอวัยวะส่วนปลายให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้ง ห้ามกรีด ตัด ดูด จี้ไฟ หรือพอกยาที่แผลเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลได้ สำหรับการดูดพิษงูออกจากแผล อาจทำอันตรายร้ายแรงต่อคนดูด
- ดูแลให้อวัยวะที่ถูกงูกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อชะลอการซึมของพิษงูเข้าสู่ร่างกาย และวางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำกว่าหรือระดับเดียวกับหัวใจ
- ประยุกต์ใช้วัสดุที่หาง่ายในที่เกิดเหตุมาเป็นเฝือกดามแขนหรือขาข้างที่ถูกงูพิษกัด ก่อนใช้ผ้ายืด
(elastic bandage) รัดตลอดแนวของอวัยวะนั้นให้แน่นพอประมาณ
- จัดการอาการปวด ความกลัว และความวิตกกังวลที่เกิดกับผู้ป่วยและญาติ
- กำชับและกระตุ้นให้ผู้ป่วยตั้งสติและพยายามควบคุมตนเองให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา พร้อมประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมอย่างเร่งด่วน
ความรู้เบื้องต้น
-
ลักษณะงูมีพิษและไม่มีพิษ
งูพิษ มีเขี้ยว 1 คู่ อยู่ตรงขากรรไกรบน เขี้ยวมีลักษณะเป็นรูกลวงคล้ายเข็มฉีดยา มีท่อติดต่อกับต่อมน้ำพิษ เมื่องูพิษกัดคนหรือสัตว์ ต่อมน้ำพิษจะปล่อยพิษไหลมาตามท่อและออกทางปลายเขี้ยว คนที่ถูกงูพิษกัดจะพบรอยเขี้ยวเป็นจุด 2 จุด ตรงบริเวณที่ถูกกัด
งูไม่มีพิษ จะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟัน เมื่อกัดคน จะเป็นแต่รอยถลอกหรือรอยถากเท่านั้น จะไม่พบรอยเขี้ยว งูไม่มีพิษ เช่น งูก้นขบ งูแสงอาทิตย์ งูปี่แก้ว งูเขียวปากจิ้งจก งูลายสาบ งูลายสอ งูงอด งูเหลือม และงูหลาม
-
-
-
-