Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบาดเจ็บทรวงอกและช่องท้อง - Coggle Diagram
การบาดเจ็บทรวงอกและช่องท้อง
1.การบาดเจ็บทรวงอก (Chest Injury)
1.1 สาเหตุของการบาดเจ็บทรวงอก
-การบาดเจ็บทรวงอกจากการถูกกระแทก
-การบาดเจ็บทรวงอกจากการมีแผลทะลุ
1.2 อาการของการบาดเจ็บทรวงอก
-ทรวงอกผิดรูป มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
-หายใจลำบาก เร็วตื้น
-ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว หลังได้รับการบาดเจ็บ
-ไอเป็นเลือด
-เจ็บหรือกดเจ็บบริเวณที่บาดเจ็บ คลำพบกระดูกกรอบแกรบบริเวณที่หักได้
-ฟังเสียงปอดได้เบาลง (decreased breath sound)
-เคาะปอดได้ยินเสียงทึบ (dullness) หรือโปร่งมากกว่าปกติ
(hyper-resonance)
-ฟังเสียงหัวใจได้เบาลง
-มีภาวะขาดออกซิเจน เช่น ริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้าเขียว กระวนกระวาย กระสับกระส่าย
1.3 การดูแลผู้บาดเจ็บทรวงอก
1) ประเมินเบื้องต้น (Primary survey)
●การตรวจร่ายกาย
-การคลำ (palpation)
คลำเบาๆ บริเวณทรวงอก เพื่อดูอาการเจ็บ คลำได้กรอบแกรบ หรือซี่โครงยุบ
-การเคาะ (percussion)
เคาะทึบ -->ปอดช้ำ หรือเลือดออกในช่องปอด
เคาะโปร่ง-->ลมรั่วในช่องปอด
-การฟัง (auscultation)
เสียงลมหายใจด้านหนึ่งเบากว่าอีกด้าน -->ลมหรือเลือดในช่องปอด
เสียงครืดคราดในปอด -->ปอดช้ำ
-การดู (inspection)
ซีด เหงื่อแตก ช็อค
เขียว ขาดออกซิเจน
อัตราการหายใจ , ลักษณะการหายใจ ( หายใจเฮือก ,ปีกจมูกบาน ,หน้าอกบุ๋ม)
หลอดลมอยู่ตรงกลาง หรือเอียงไปด้นใดด้านหนึ่ง
หลอดเลือดดำที่คอโป่งหรือไม่
มีบาดแผลภายนอก บริเวณทรวงอกหรือไม่
เวลาหายใจ ทรวงอกสองข้าง ขยายเท่ากันหรือไม่
2)การช่วยเหลือเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ (Pre Hospital phase)
-เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง คือ ยกคาง (chin lift), ยกขากรรไกร (Jaw thrust)
-ดูแลยึดตรึงผนังทรวงอกไม่ให้มีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
-ผู้บาดเจ็บที่มี open pneumothorax
-ผู้บาดเจ็บที่มี tension pneumothorax
3)การดูแลระยะอยู่ในโรงพยาบาล (Hospital phase)
-ประเมินสัญญาณชีพ
-จัดท่าศีรษะสูงอย่างน้อย 45 องศา เพื่อส่งเสริมการระบายอากาศ
●กรณีผู้บาดเจ็บที่มี open pneumothorax
-เตรียมผู้บาดเจ็บใส่ ICD (intercostal chest drain)
-ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะและยาป้องกันบาดทะยัก (anti-tetanus)
-ดูแลและติดตามผล X-ray ทรวงอกตามแผนการรักษา
-กรณีผู้บาดเจ็บที่มี tension pneumothorax ต้องเตรียมใส่ ICD เพื่อระบายลมออกและช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
●กรณีผู้บาดเจ็บที่มี massive pneumothorax
-กรณีที่มีภาวะช๊อค ดูแลจัดท่านอนศีรษะราบ ยกปลายเท้าสูง เพื่อช่วยให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้มากขึ้น
-ดูแลการให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำหรือส่วนประกอบของเลือดตามแผนการรักษาด้วยเข็มเบอร์ใหญ่ เพื่อทดแทนปริมาณเลือดที่สูญเสียไป
-เตรียม ICD เพื่อระบายเลือดออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดโดยด่วน
-เตรียม ICD เพื่อระบายเลือดออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดโดยด่วน ผ่าตัดเปิดช่องอก (Thoracotomy) เพื่อห้ามเลือดโดยด่วน
●ผู้บาดเจ็บที่มี cardiac tamponade
-ต้องเตรียมผู้บาดเจ็บในการระบายเลือดออกจากช่องเยื้อหุ้มหัวใจ
-ติดตามประเมิน EKG 12 leads ตลอดการทำ Pericardiocentesis
-ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
-ติดตามประเมินการเต้นของหัวใจ
ความหมาย
การบาดเจ็บทรวงอกเกิดจากผนังทรวงอกและอวัยวะที่อยู่ภายในทรวงอกที่ได้รับการบาดเจ็บจากแรงภายนอก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาของระบบการหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต เนื่องจากทรวงอกมีอวัยวะที่สำคัญหลายอวัยวะ คือ ปอด หัวใจ หลอดเลือดเอออร์ตา หลอดลม และหลอดอาหาร ทั้งระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อระบบหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอีกระบบ ส่วนการเปลี่ยนแปลงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกลไก ประเภท และความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะภายในช่องอก
2.การบาดเจ็บช่องท้อง (abdominal injury)
2.1 กลไกการบาดเจ็บของช่องท้อง
-การบาดเจ็บที่ช่องท้องที่เกิดจากการกระแทก (blunt abdominal trauma)
-การบาดเจ็บที่ช่องท้องแบบมีแผลทะลุ (penetrating abdominal trauma)
2.2 การดูแลผู้บาดเจ็บช่องท้อง
1) ประเมินเบื้องต้น (Primary survey)
●การซักประวัติการบาดเจ็บ
-การซักประวัติเกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร
-การซักประวัติเกี่ยวกับอุบัติเหตุตกจากที่สูง
-การซักประวัติเกี่ยวกับการบาดเจ็บช่องท้องแบบทะลุทะลวง
●การตรวจร่างกาย
-การดู (inspection)
-การคลำ (palpation)
-การเคาะ (percussion)
-การฟัง (auscultation)
●สิ่งที่พบจากการประเมินเบื้องต้นจากการตรวจร่างกาย
-การบาดเจ็บที่ช่องท้องแบบมีแผลทะลุ (penetrating abdominal trauma)
-การบาดเจ็บที่ตับ (Tear of Liver, Liver injury)
-การบาดเจ็บของลำไส้ (Tear of Intestine)
-กระดูกเชิงกรานหัก (Pelvic fracture)
-การบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะ (Bladder injury)
2) การช่วยเหลือเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ (Pre Hospital phase)
-เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
-ควบคุมการเสือดเลือดจากการบาดเจ็บให้มากที่สุด
-ปิดบาดแผลหรือหากมีอวัยวะภายในออกมานอกช่องท้อง ควรนำก๊อสชุบ NSS คลุมไว้ก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
-ดูแลเปิดเส้นเลือด
-การใส่สายสวนกระเพาะอาหาร (Gastric tube)
-การจัดท่าสำหรับผู้ที่กระดูกหัก ให้กระดูกหักอยู่นิ่งๆ
-รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
3) การดูแลระยะอยู่ในโรงพยาบาล (Hospital phase)
-ประเมินสัญญาณชีพ
-จัดท่าศีรษะสูงอย่างน้อย 45 องศา เพื่อส่งเสริมการระบายอากาศ
3.1) การบาดเจ็บที่ช่องท้อง
-การถ่ายภาพรังสีช่องท้อง
-การ CT scan ช่องท้อง
-การถ่ายภาพรังสีอื่นๆ
3.2) เตรียมผู้บาดเจ็บให้พร้อมในการตรวจวินิจฉัยพิเศษ
●การสวนล้างช่องท้องเพื่อการวินิจฉัย
-ดูดได้เลือด < 10 ml หรือไม่ได้gastric content ปนออกมา ให้นำชุดให้สารน้ำที่เป็น Isotonic solution
-ดูดเลือดสดได้ตั้งแต่ 10 ml ขึ้นไป หรือดูดได้เศษอาหาร น้ำดี
●การทำหัตถการเพื่อการวินิจฉัยการบาดเจ็บที่ท้อง
-CT scan of the pelvis
-Cystography
-Plain KUB (kidney-ureter-bladder)
●การตรวจทางหน้าท้อง (มีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก)
-การเตรียมผู้บาดเจ็บเพื่อผ่าตัดด่วน
ความหมาย
การบาดเจ็บของอวัยวะภายในช่องท้อง รวมทั้งผนังช่องท้องจากสาเหตุถูกกระทบกระแทกอย่างรุนแรงหรือจากของมีคม มีผลทำให้ทำให้ผนังหน้าท้องหรืออวัยวะภายในช่องท้อง ได้แก่ กะบังลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน ม้าม ไต หลอดเลือดในช่องท้อง อวัยวะสืบพันธ์ุหญิงในช่องท้อง กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนักได้รับบาดเจ็บ อาการของการบาดเจ็บอาจมีเพียงเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ทำให้อวัยวะสูญเสียหน้าที่และผู้บาดเจ็บอาจเสียชีวิตได้