Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการปวดท้องปัสสาวะผิดปกติ - Coggle Diagram
กลุ่มอาการปวดท้องปัสสาวะผิดปกติ
การวินิจฉัยแยกโรค
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
(Bladder stone)
สาเหตุ
ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ เกิดจากมีสารต่างๆ ถูกขับออกมาในน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือสูญเสียน้ำจากร่างกายทางด้านอื่นมาก เมื่อปัสสาวะเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในปัสสาวะจะตกผลึก ก็มีมากขึ้น
การอักเสบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง การตีบแคบนี้อาจมีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง
ความผิดปกติในการทำงานของต่อมพาราทัยรอยด์ ซึ่งหลั่ง hormone ที่ควบคุมสาร calcium ออกมามากกว่าปกติ
อาการ
การปัสสาวะผิดปกติ หรือมีอาการขัดเบา (เนื่องจากก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ) ทำให้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะลำบาก ปวดเบ่งคล้ายว่ายังถ่ายปัสสาวะไม่สุด ปวดแสบปวดร้อน ปัสสาวะสะดุดและออกเป็นหยด ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลล้างเนื้อ หรืออาจถ่ายปัสสาวะเป็นก้อนนิ่ว หรือเม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปนอยู่
ปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจร่วมกับปวดหลังเรื้อรัง
ปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และระยะเวลาที่ก้อนนิ่วที่อุดกั้นอยู่ ถ้าปรากฎนิ่วเป็นสาเหตุของการอุดกั้น ก็มักจะมีการติดเชื้อตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งเป็นผลทำให้กระเพาะปัสสาวะหดเล็กลง มักพบได้เร็วกว่าปกติเนื่องจากไฟโบรสีสผนังกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เพราะมีรอยแผลเป็น (Trabeculation) ไม่ค่อยพบว่ามีกระเพาะปัสสาวะโป่งขยาย
ถ้ามีการอุดกั้นตํ่ากว่ากระเพาะปัสสาวะอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดนิ่ว กระเพาะปัสสาวะจะอยู่ในระยะคืนสู่สภาพเดิม และมีปัสสาวะเหลือตกค้างอยู่มาก อาจมีการโป่งขยายของกระเพาะปัสสาวะนิ่วเพียงแต่ทำให้มีการติดเชื้อเกิดง่ายขึ้นหรือเพิ่มขึ้น มีโฟรโบรสีสของผนังกระเพาะ ปัสสาวะมากขึ้น ในรายที่นิ่วมีขนาดโตมากจนคับกระเพาะปัสสาวะจะทำให้เกิดภาวะไตบวมนํ้า และท่อไตบวมน้ำได้
ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
(Urinarytract infection)
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะไม่สุด
ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ
มีไข้ หนาวสั่น
ปวดแสบขัดขณะปัสสาวะ
ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นผิดปกติ
ปัสสาวะมีเลือดปน
สาเหตุ
เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้ว จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเชื้อแลคโตบาซิลไล ( lactobacilli) ในช่องคลอดน้อย ทำให้ค่าความเป็นกรดด่าง (พีเอช ) ในช่องคลอดสูงขึ้น ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค
เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของไตลดลง ทำให้ความสามารถในทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ทำให้ปัสสาวะเข้มข้น และขับสารยูเรียได้ลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น
พยาธิสภาพ
เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อซึ่งเกือบจะทั้งหมดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ การติดเชื้อจะเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ เช่น ไต กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ และสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นได้ าจเป็นไปได้อย่างเฉียบพลัน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
(Cystitis)
อาการ
ปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
ปัสสาวะแสบขัด
เมื่อปัสสาวะสุด อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ บางรายมีปัสสาวะปนเลือด
พยาธิสภาพ
เชื้อโรคกระจายตัวมาทางกระแสเลือด (hematogenous route) การติดเชื้อของไตโดยเชื้อโรค กระจายตัวมาทางกระแสเลือด พบได้ไม่บ่อยในคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตามสามารถติดเชื้อด้วย Staphylococcus aureus ในกระแสเลือด จากแผลบริเวณผิวหนัง หรือจากเข็มฉีดยา หรือ เชื้อรา (Candida) ในปาก
เชื้อโรคกระจายมาทางกระแสน้าเหลือง (lymphatic route) เป็นการกระจายโดยตรงของแบคทีเรีย จากอวัยวะข้างเคียง การกระจายทางกระแสน้ำเหลืองพบน้อยมาก เช่น การติดเชื้อของลำไส้อย่างรุนแรง หรือ การเป็นหนองบริเวณหลังเยื่อบุช่องท้อง ( retroperitoneal abscesses)
การติดเชื้อย้อนกลับขึ้นไปจากท่อปัสสาวะ (ascending infection) แบคทีเรียส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบ ทางเดินปัสสาวะจากบริเวณทวารหนักย้อนกลับขึ้นไปที่ท่อปัสสาวะแล้วเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะการ ย้อนกลับเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะจะพบมากขึ้นในแบคทีเรียที่มี Adhesions (เช่น P.Pilli)(3) ที่อยู่บนผิว ของแบคทีเรีย ซึ่งบอกถึงการเฉพาะเจาะจงของอวัยวะที่จะบุกเข้าไปและสามารถปรับตัวเข้ากับปัจจัยของ ร่างกาย
สาเหตุ
กลั้นปัสสาวะบ่อย
ผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว
มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีไข้เนื่องจากมีการติดเชื้อภายในร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอเพราะเป็นการลดอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ลดการทำงานของกล้ามเนื้อ
ดูแลเช็ดตัวลดไข้เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกายทำให้ผู้ป่วยสุขสบายมากขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดอวัยวะเพศให้สะอาด โดยเช็ดทำความสะอาดอวัยเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น Norfoxacin และ Ceftriaxone เพื่อลดการติดเชื้อพายในร่างกายของผู้ป่วย
ให้การพยาบาลผู้ป่วยด้วยหลักปราศจากเชื้อเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายเพื่อประเมินการติดเชื้อ และสังเกตอาการแสดงของการติดเชื้อเช่น มีไข้สูง หนาวสั่น เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อเป็นการทดแทนการขาดน้ำและเป็นการลดความร้อนของร่างกายโดยขับออกทางเหงื่อ และปัสสาวะ
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม เพื่อลดสภาวะความเป็นกรดให้กับน้ำปัสสาวะ ช่วยลดปริมาณแบคทีเรียในปัสสาวะ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการได้แก่ Urine culture เพื่อวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป
การตรวจพิเศษ
Complete blood count
พบค่า NeutrophilและLymphocye สูงกว่าปกติ
Urine analysis
พบ Bacteria เช่น E.coli
Ultrasound Upper Abdomen
KUB มีตะกอน เพื่อติดตามโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
Urine culture
พบ สีของปัสสาวะขุ่น หรือปนเลือด อาจพบ White blood cell Leukocyte Epithelial cell หรือ Bacteria ในปัสสาวะได้
สรุปปัญหา (Problem list)
ปวดท้องน้อย Abdominal pain (LLQ)
ปัสสาวะแสบขัด Costovertebral angle (CVA)
มีไข้
ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ Hematuria
ประเมินผู้ป่วยตามหลัก primary survey
มีอาการไข้ร่วมด้วยหรือไม่
ชอบกลั้นปัสสาวะหรือไม่
มีอาการปวดหลังหรือไม่
เคยมีประวัติการเป็นนิ่วในปัสสาวะหรือไม่
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นอย่างไร
ปัสสาวะกี่ครั้ง/วัน
มีอาการอย่างอื่นร่วมไหมขณะปัสสาวะ
เช่น ปัสสาวะแสบขัด
7.มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง
ลักษณะปัสสาวะเป็นอย่างไร
สีอะไร
มีกลิ่นไหม
เคยเข้ารับการผ่าตัดมาก่อนหรือไม่
การตรวจร่างกาย ระบบที่เกี่ยวข้อง
Physical examination
General Appearance
Thai Male Age 63 years old , thin and good consciousness
Skin
Skin no lesion. no spider nevi. no palmer erythema. no abnormal pigmentation.
no surgical scar or keloid, warm to touch
Vital signs
T = 36.5 C P = 80 ครั้ง/นาที R= 20 ครั้ง/นาที
BP = 140/80 mmHg
Weight 71 kgs. Height 165 cms.
Abdomen
Palpation
Soft ,No mass palpable , No rigidity or guarding or tenderness. No hepatospleenomegaly.
Percussion
Normal tympany sound .
Inspection
Normal shape abdomen . No lesion or scar , No bulge
Auscultation
Bowel sound 8/min
CVA
tenderness at left side
Peripheral Vascular
Normal peripheral vascular palpable pulse such as radial , ulna , femoral, popliteal,
dorsalis pedis and posterior tibial. No pale, no pitting edema, capillary refill < 2 sec.
การรักษาเบื้องต้นที่ห้องฉุกฉิน
ปวดท้องน้อย Abdominal pain (LLQ)
Diclofenac 25 mg. 1 tab po tid pc.
การออกฤทธิ์
จะทำการออกฤทธิ์ผ่านการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซีจีเนส (Cyclooxygenase) ชนิดที่ 1 (Cox-1) และชนิดที่ 2 (Cox-2) ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ในร่างกาย ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบ ปวด และเจ็บในร่างกาย เมื่อรับประทานยาหรือใช้ยา Diclofenac เอ็นไซม์ COX-1 และ COX-2 ก็จะทำงานไม่ได้ สารพลอสตาแกลนดินก็น้อยลง อาการเจ็บและอักเสบจึงลดลง
ผลข้างเคียง
หลังการรับประทานยา Diclofenac ผู้ป่วยอาจเกิดอาการผิดปกติได้หลายลักษณะ เช่น ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอ ท้องผูก ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีสีดำ ปัสสาวะน้อยและขุ่น ท้องเสีย ง่วงนอนหรือนอนหลับยาก ระบบย่อยผิดปกติ อาการคันหรือเป็นผื่นบริเวณผิวหนัง ไม่มีความอยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีดำ เจ็บหน้าอก มีภาวะซีด หายใจลำบาก น้ำหนักลด เป็นต้น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากตัวยาที่พบได้บ่อย
มีไข้
Paracetamol (500) 1 tab po prn q 4-6 hr.
การออกฤทธิ์
ยับยั้งการสังเคราะห์ Prostaglandins ในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่ง Prostaglandins เป็นตัวทำให้เกิดความเจ็บปวด และทำให้เกิดไข้ ที่มีผลต่อศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่ไฮโปทาลามัสยานี้ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนตัวของนิวโทรฟิวจึงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่ำมาก ไม่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารและไม่มีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดยาจะออกฤทธิ์สูงสุดในเวลา 30 - 60 นาทีหลังได้รับยาหากได้รับยาเกินขนาดจะมีพิษต่อตับและไตจึงไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 7 วัน
ผลข้างเคียง
ง่วงซึม แพ้ยาเช่น มีผื่น บวม เป็นแผลที่เยี่อบุช่องปาก มีไข้หากได้รับยามากเกินไปอาจทำให้เกิดตับวายถึงแก่ชีวิตได้คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ดีซ่าน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เช็ดตัวลดไข้
ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ Hematuria
ปัสสาวะแสบขัด Costovertebral angle (CVA)
Ceftriaxone 1 g. IV Infusion 2 g. In 1 Hr. OD Stat at ER
การออกฤทธิ์
เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสปอ ริน (cephalosporin) ตัวยามีฤทธิ์เข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้ง กระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเซลล์ ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งสารชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องอืด กดการสร้างไขกระดูกทำให้เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ Hct ต่ำ แพ้ยา เช่น ผื่นคัน มีไข้ เป็นต้น ปวดบริเวณที่ฉีด
คำแนะนำและการส่งต่อ
การส่งต่อ
ส่งต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านในการติดตามอาการและการรักษาผู้ป่วย
คำแนะนำเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
ควบคุมน้ำหนักให้มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ
จำกัดหรือลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง
ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วชนิดที่เกิดจากกรดยูริก ควรลดอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ถั่ว รวมทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์
ดื่มน้ำสะอาดให้มาก อย่างน้อยวันละ 2.5 ลิตร หรือดื่มน้ำตามที่แพทย์แนะนำ
ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วชนิดแคลเซียม ควรงดการรับประทานอาหารเค็มที่มีโซเดียมมาก เนื่องจากมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
รับประทานยาต่างๆ ตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ไม่ขาดยา และไม่หยุดยาเอง
การรับประทานวิตามินซี วิตามินดี และแคลเซียมเสริมอาหาร อาจทำให้มีโอกาสเกิดนิ่วได้มากกว่าคนปกติ ดังนั้นการรับประทานยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่ออาการต่างๆ เลวร้ายลง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือเมื่อกลับมามีอาการแบบเดิมซ้ำอีก
หมั่นสังเกตสีและลักษณะของปัสสาวะอยู่เสมอ หากปัสสาวะขุ่นมากหรือมีลักษณะขุ่นแดง (มีเลือดปน) หรือมีนิ่วหลุดออกมา ควรเก็บไว้แล้วนำไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นนิ่วชนิดใด เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำและรักษานิ่วได้อย่างถูกต้อง