Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการดูแลรักษา/การพยาบาล - Coggle Diagram
แนวทางการดูแลรักษา/การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
บทบาทพยาบาลในระยะตั้งครรภ์
การประเมินสภาพสตรีตั้งครรภ์ในแผนกฝากครรภ์โดยการคัดกรองความเสี่ยง และอาการแสดงของโรคเป็นการค้นหาความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก
การซักประวัติเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยง
การตรวจร่างกาย (Physical examination)
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การพยาบาลในระยะตั้งครรภ์
ประเมินความรู้และให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง
แนะนำให้พักในท่านอนตะแคงซ้ายเพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกและทารกดีขึ้นช่วยให้ความดันโลหิตลดลง
จํากัดเกลือโดยให้เกลือได้ไม่เกิน 6 กรัมต่อวันโปรตีน 80-100 กรัมต่อวันเพิ่มอาหารกากใย
แนะนำการบันทึกและประเมินภาวะสุขภาพเบื้องตนของตนเองและทารกในครรภ์
แนะนำอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาโรงพยาบาลได้แก่ ความดันโลหิต ≥ 140/90 mmHg., น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1 กก. / สัปดาห์, ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมงอาการปวดศีรษะตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อนเป็นต้น
แนะนำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการนับการดิ้นของทารกพร้อมกับการจดบันทึก
ระยะคลอด
การพิจารณาให้คลอดจะพิจารณาเมื่ออายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ขึ้นไป โดยการประเมินปากมดลูกหากปากมดลูกพร้อมหรือประเมิน Bishop score ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 6 จะพิจารณากระตุ้นคลอด และสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ในกรณีไม่มีข้อบ่งห้าม ในกรณีที่ปากมดลูกยังไม่พร้อมและสภาวะแทรกซ้อนรุนแรงแนะนำให้ตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดและกระตุ้นคลอดเมื่อสภาวะเหมาะสม ส่วนในสตรีตั้งครรภ์ที่ตรวจพบภาวะ Severe Preeclampsia โดยทั่วไปถือเป็นข้อบ่งชี้ในการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดาและทารก การพิจารณาให้ตั้งครรภ์ต่อในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ อาจพิจารณาให้ทำได้ในโรงพยาบาลตติยภูมิ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากสูตินรีแพทย์ และควรคลอดในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการดูแลทารกแรกเกิดโดยมีเป้าหมายหลักในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Preeclampsia 2 ประการคือ
ป้องกันภาวะชักและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น HELLP syndrome, ไตวาย, หลอดเลือดแตกในสมอง หรือ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ควบคุมและลดความดันโลหิต
ระยะหลังคลอด
การนัดตรวจติดตาม 6 สัปดาห์ในมารดาระยะหลังคลอดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องมีการติดตามประเมินระดับความดันโลหิตและการตรวจหาระดับโปรตีนในปัสสาวะ หากมารดาหลังคลอดยังคง มีภาวะความดันโลหิตสูงและยังไม่เคยได้รับการดูแลมาก่อนควรได้รับการรักษา และได้รับคำแนะนำเกี่ยวโรค การดูแลตนเองเพื่อรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ พยาบาลควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสม