Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Elimination (การกาจัดสารพิษออกจากร่างกาย) - Coggle Diagram
Elimination (การกาจัดสารพิษออกจากร่างกาย)
พิษจลนศาสตร์ (Toxicokinetic )
การดูดซึม (Absorption)
การกระจายตัว (Distribution)
การกักเก็บ (Storage)
การเปลี่ยนรูป (Biotransformation)
การขับออกจากร่างกาย (Excretion)
การดูดซึม (Absorption)
การวัดขนาดการดูดซึมสารพิษ
อัตราความเร็ว (absorption half -life )หน่วยที่วัดเป็นเวลาคือ ระยะเวลาที่ใช้ในการที่ปริมาณสารพิษถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายครึ่งหนึ่ง โดยทั่วไประยะเวลาที่สารพิษถูกดูดซึมจากลาไส้จนหมดนั้นประมาณ 3-5 half -lives ของการดูดซึมสารพิษ
ปริมาณการดูดซึม (bioavailability) bioavailability) เป็นตัวเลขที่ไม่มีหน่วยมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 (0-100%) หมายถึงปริมาณสารพิษ ที่เข้าสู่ร่างกายจริงๆ ในกรณีที่ฉีดสารพิษเข้าหลอดเลือดดา bioavailability bioavailability เท่ากับ 1 เพราะสารพิษเข้าสู่ร่างกายทั้งหมด แต่ถ้ารับประทานสารพิษที่มี bioavailability bioavailability เท่ากับ 0.7แสดงว่าสารพิษ 70% ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น สารพิษที่เหลืออาจแตกสลายในทางเดินอาหารออกมาทางอุจจาระ หรือถูกตับทาลาย
การกระจาย (Distribution)
ผ่านทางกระแสเลือด (Blood circulation) สารเคมีบางชนิดจะจับกับโมเลกุลของโปรตีนที่อยู่ในกระแสเลือด เพื่อให้พาไปยังอวัยวะต่างๆ ได้
สำหรับสมอง จะมี Blood brain barrier เป็นตัวป้องกันสารเคมี
สารเคมีบางชนิดก็สามารถผ่านจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ทางรก
บางชนิดก็สามารถผ่านจากแม่ไปสู่ทารกที่คลอดแล้วทางน้านมได้ด้วย
อัตราความเร็ว distribution half -life หมายถึงระยะเวลาที่ปริมาณสารพิษกระจายออกจากเลือดได้ครึ่งหนึ่ง ระยะเวลาที่สารพิษกระจายจาก central สู่ peripheral compartment จนระดับสารพิษเท่ากัน ต้องใช้เวลา 3-5 half -lives ของการกระจายสารพิษ
ปริมาณการกระจาย volume of distribution หน่วยเป็นปริมาตรเช่น ลิตร ข้อควรคานึงถึงคือ volume of distribution เป็นตัวเลขที่ได้มาจากการคำนวณ เพื่อที่จะได้ประโยชน์ทางเภสัชจลนศาสตร์เท่านั้นไม่ได้มีความหมายทางสรีรวิทยาว่าเท่ากับปริมาณของ เลือดหรืออวัยวะใด ดังนั้นอาจเห็นว่า volume distribution ของสารพิษตัวหนึ่งตัวใดมีปริมาตรมากกว่า ปริมาตรของร่างกายได้สารพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรด ส่วนมากจะมี volume of distribution ต่ำกว่า 0.7 ของน้าหนักตัวและขนาดยาที่ใช้โดยมากจะเกิน 75 mg ในทางกลับกันยาหรือสารพิษที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนมากจะมี volume of distribution มากกว่า 1 ของน้าหนักตัวขนาดยาที่ใช้จะต่ากว่า 75 mg
การกักเก็บ (Storage)
กระดูก กล้ามเนื้อ และไขมัน เป็นอวัยวะที่มีแนวโน้มจะเป็นแหล่งเก็บสะสมของสารเคมี ทำให้สารเคมีมีความเข้มข้นในอวัยวะเหล่านี้มาก และในระยะยาวอาจก่อให้เกิดผลชนิดเรื้อรังได้ตามมา
เมื่อกระจายตัวไปสู่อวัยวะเป้าหมาย (Target organ) ซึ่งก็คืออวัยวะที่มีโอกาสเกิดผลกระทบต่อสารเคมีชนิดนั้นได้
สารเคมีแต่ละชนิดก็มีอวัยวะเป้าหมายแตกต่างกันไป สารเคมีบางตัวอาจมีอวัยวะเป้าหมายมากกว่าหนึ่งอวัยวะก็ได้
การเปลี่ยนรูป (Biotransformation)
สารเคมีบางส่วนในร่างกายอาจถูกเปลี่ยนรูป (Biotransformation) ไปเป็นสารเคมีชนิดอื่นได้
การเปลี่ยนรูปสารเคมี คือกระบวนการ Metabolism และสารที่ได้คือMetabolite
Metabolism คือกระบวนการทำงานของเอนไซม์อย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ แบ่งเป็น 2 อย่าง คือกระบวนการแยกสลายโมเลกุล เรียกว่า Catabolism เช่น กรณีแยกโมเลกุลให้เกิดพลังงานและกระบวนการสร้างโมเลกุลใหม่ เรียกว่า Anabolism เช่น การสร้างไลโปโปรตีนไปเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ แต่ในกรณีที่มีสารแปลกปลอม (Xenobiotic) เช่น สารพิษ (Toxicant) เข้ามาในร่างกาย ก็จะเกิดกระบวนการเมตาบอลิสม์แบบพิเศษเพื่อทาลายพิษ (Detoxification) ของสารแปลกปลอมเหล่านั้น
เอนไซม์ Cytochrome P 450 oxidase เอนไซม์ Glutathione S-transferase transferase และเอนไซม์ UDP -glucoronyltransferase เป็นต้น
การกำจัด (Elimination)
First order อัตราส่วนการกำจัดสารพิษขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารพิษในเลือด คือ สารพิษออกจากร่างกายเป็นสัดส่วนคงที่สารพิษส่วนใหญ่ถูกกำจัดแบบนี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยได้รับสารพิษเข้าไป 1000 หน่วยร่างกายสามารถกำจัดสารพิษได้ชั่วโมงละ 10%จำนวนสารพิษที่เหลืออยู่แต่ละ ชั่วโมงจะเท่ากับ 1000,900,810...
Zero order อัตราส่วนการกาจัดสารพิษไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารพิษ แต่สารพิษถูกกำจัดออกไปด้วยปริมาณคงที่ตัวอย่างเดียวกันสารพิษจะถูกกำจัดชั่วโมงละ10 หน่วย สารพิษที่เหลืออยู่จะเท่ากับ 1000,990,980... สารพิษที่ถูกกำจัดแบบ zero order มีไม่มากนักได้แก่ alcohol, aspirin และ phenytoin
อวัยวะที่มีบทบาทสาคัญในการ กำจัดสารพิษได้แก่ ตับและไต
สารพิษบางตัวจะถูกกาจัดออกโดยตับหรือไตอย่างหนึ่งอย่างใดแต่ส่วนใหญ่สารพิษจะถูกกาจัดออกมาทั้งสองทาง ตับจะเปลี่ยนสารพิษด้วยขบวนการแรกคือ redox reaction redox reaction หลังจากนั้นจึงจะ conjugate conjugate ออกมาเป็นสาร polar ซึ่งถูกขับออกมาได้ง่าย
ความสามารถของตับ ในการกาจัดสารพิษขึ้นอยู่กับความสามารถของเอ็นไซม์ที่ทาลายสารพิษและปริมาณเลือดที่นาสารพิษสู่ตับ
สารพิษที่ถูกขับออกทางไตนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือ glomerular filtration rate สารพิษที่ถูกกรองออกมาจะต้องไม่จับกับ protein สารพิษที่ถูกดูดซึมกลับ (tubular reabsorption) เข้าไปในร่างกายนั้นจะต้องอยู่ในรูปไม่แตกตัว (unionized) unionized) ภาวะนี้จะขึ้นอยู่กับความเป็นกรดด่าง ของปัสสาวะและ pK ของยานั้นๆ
half -life ของการกาจัดสารพิษเป็นตัวบ่งอัตราความเร็วในการกาจัดสารพิษคือ ระยะเวลาที่ปริมาณสารพิษถูกขับถ่ายหรือทาลายไปครึ่งหนึ่ง ในทานองเดียวกัน กว่าที่ร่างกายจะกาจัดสารพิษได้หมด จะต้องใช้เวลา 3-5 half -lives ของการกาจัด สารพิษนั้น
ปริมาณการกาจัดสารพิษขึ้นกับค่า clearance ซึ่งมีหน่วยเป็นปริมาตร ของเลือดต่อเวลาเช่น ลิตรต่อชั่วโมงเป็นต้น ค่าclearance มีความสาคัญในการบ่งถึงปริมาณการกาจัดสารพิษนั้นๆ ออกจากร่างกาย
การศึกษาระดับสารพิษในเลือดผู้ป่วยจะมีประโยชน์ ในการเข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของสารพิษช่วยในการวินิจฉัยโรค และบ่งชี้ถึงแนวทางในการรักษา
Elimination
•
การบอกอัตราการกำจัด (Elimination) สารเคมีในร่างกาย สามารถใช้ ค่าครึ่งชีวิตในร่างกาย (Biological half -life; T 1/2) เป็นตัวบอกความเร็วในการกำจัดออก
เวลาที่ร่างกายใช้ในการทำให้สารเคมีนั้นหมดฤทธิ์หรือเสื่อมสภาพไปครึ่งหนึ่ง
ค่าครึ่งชีวิตในร่างกาย (Biological half Biological half; life; T 1/2)
นิโคติน มี half -life life ในร่างกายมนุษย์ประมาณ 2 ชั่วโมง
กาแฟอีน มี half -life life ในร่างกายมนุษย์ประมาณ 5-6ชั่วโมง
การกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
การขับสารพิษออกทางปัสสาวะ
ไตเป็นอวัยวะที่สาคัญที่สุดในการขับสารพิษออกจากร่างกายสารพิษต่างๆที่อยู่ในรูปที่ละลายได้ในน้าจะถูกขับออกมากับปัสสาว
ด้วยวิธีการแพร่กระจายโดยการกรองที่บริเวณของไตที่เรียกว่าโกลเมอรูลัส (Glomerulus)