Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ Hyponatremia - Coggle Diagram
ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
Hyponatremia
ความหมาย
ภาวะที่ร่างกายมีเกลือแร่โซเดียมในเลือดต่ำกว่า 135 mmol/L
(Millimoles per Liter) ซึ่งค่าปกติจะอยู่ในช่วงประมาณ 135 - 145 mmol/L
และจัดว่าอันตรายเมื่อมีค่าต่ำกว่า 125 mEq/L เพราะอาจส่งผลให้เกิด
ภาวะหัวใจล้มเหลว ตับล้มเหลว ไตล้มเหลว ที่อาจส่งผลให้เสียชีวิต
ระดับค่าโซเดียมในเลือด
ค่าปกติ 135-145 mEq/L
Mind 125-135 mEq/L
Moderate 115-125 mEq/L
Severe <115 mEq/L
อาการ
ปวดหัว
อ่อนล้า หมดแรง
คลื่นไส้ อาเจียน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง หรือกระตุก
กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย
สับสนมึนงง
สาเหตุ
ภาวะขาดน้ำ
เป็นสาเหตุให้ร่างกายอาจสูญเสียของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ เช่น เกิดจากการอาเจียนอย่างหนัก หรือท้องเสียอย่างรุนแรง
ดื่มน้ำมากเกินไป
อาจพบได้ในนักวิ่งมาราธอน หรือนักไตรกีฬา ที่ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ เพื่อทดแทนเหงื่อที่สูญเสียไป ซึ่งการดื่มน้ำมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้ระดับโซเดียมในเลือดลดลงได้
ฮอร์โมนผิดปกติ
ต่อมหมวกไตทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพื่อช่วยรักษาสมดุลของน้ำ โซเดียม และโพแทสเซียมในร่างกาย หากต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ อาจทำให้ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรืออาจเกิดกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndrome Of Inappropriate Anti-Diuretic Hormone: SIADH) เป็นเหตุให้ร่างกายเก็บน้ำไว้ แทนที่จะขับปัสสาวะตามปกติ จนส่งผลกระทบต่อปริมาณโซเดียมในเลือดได้
มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ไต และตับ
ภาวะหัวใจวาย หรือภาวะอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของไตและตับ อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกไปได้ และส่งผลให้ระดับโซเดียมในเลือดลดลง
การใช้ยาบางชนิด
ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาระงับปวด และยาขับปัสสาวะ อาจทำให้เสียน้ำในร่างกาย หรือปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
การใช้สารเสพติด
การใช้ยาอี (Ecstasy) เสี่ยงทำให้ Hyponatremia มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยง
อายุมากขึ้น
ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ
ยากล่อมประสาท
มีโรคประจำตัว เช่น มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคไต
อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สภาพอากาศอบอุ่น
เป็นนักกีฬา
การวินิจฉัย
การตรวจเลือดหาระดับโซเดียม เพื่อทดสอบการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์และฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากต่อมหมวกไต และตรวจการทำงานของไต
การตรวจค่าความเข้มข้นของเลือดและปัสสาวะตรวจหา
ออสโมแลลิตี (Osmolality) หรือความเข้มข้นของสารที่อยู่ในสารละลาย อาจช่วยระบุสาเหตุของการเกิด Hyponatremia
การตรวจปัสสาวะเพื่อหาระดับโซเดียมในปัสสาวะที่อาจบ่งชี้สาเหตุของ Hyponatremia
การรักษา
ฉีดสารละลายโซเดียมเข้าทางหลอดเลือดดำ
ลดการใช้ของเหลว
ลดปริมาณการใช้ยาขับปัสสาวะ
ทานยารักษาอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ชัก และปวดศีรษะ
การพยาบาล
1.การประเมิน (assessment) ได้แก่ อาการทาง คลินิกสัญญาณชีพและการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว
2.ดูแลให้ได้รับการรักษาด้วยน้ำและเกลือทดแทนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษาของแพทย์ และได้รับอาหารท่ีมีโซเดียมสูง เช่น นม เนื้อสัตว์ ไข่ และแครอท
3.การดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์
การประเมินและติดตาม (monitoring) ได้แก่ ความสมดุลของสารน้ำ น้ำหนัก และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ