Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัคซีน - Coggle Diagram
วัคซีน
การนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายทางปาก
(Oral Route)
ใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อเป็น
เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนทัยฟอยด์ เป็นต้น
ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันทั้งในลำไส้และกระแสเลือด
การหยอดวัคซีนโปลิโอ หยดเข้าทางปาก 2-3 หยด
หากปลายหลอดพลาสติกสัมผัสกับปากหรือน้ำลายเด็ก ให้เปลี่ยนหลอดพลาสติกก่อนหยอดเด็กรายต่อไป
หากทำการหยอดโปลิโอแล้ว เด็กพ่นออกมาหรืออาเจียนออกมาภายใน 5-10 นาที
ให้พิจาณาแล้วว่ายาที่หยอดเข้าไปมีโอกาสดูดซึมผ่าน เยื่อบุภายในช่องปากแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหยอดซ้ำ
แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่ายาออกมาหมด สามารถหยอดซ้ำได้ 1 ครั้ง และหากเด็กอาเจียนซ้ำไม่ต้องหยอดอีก รอการนัดฉีดวัคซีนครั้งต่อไป
การให้รับประทานวัคซีนโรต้า สามารถให้ในวันเดียวกับการให้โปลิโอได้
การให้วัคซีน RotaRix หรือ RV1 ทำเป็นรูปผงแห้งในขวดปิดจุกยางมาพร้อมกับตัวทำละลาย 1 มล
บรรจุในหลอดพลาสติกคล้ายกระบอกฉีดยา (ห้ามสวมเข็มแล้วนำมาฉีดเด็ดขาด)
ระจายผงยาในตัวทำละลายที่ให้มาคู่กัน ก่อนหยอดใส่ปากเด็ก
เด็กที่แพ้ยาไม่ควรเลือกใช้วัคซีนยี่ห้อนี้
การให้ RotaTeq หรือ RV5 ทำเป็นรูปยาน้ำในหลอดบีบพลาสติกบรรจุ 2 มล.
การรับประทานโรต้า ควรป้อนช้าๆ ใส่เข้าไปข้างๆ กระพุ้งแก้ม ค่อยๆ ดันวัคซีนเข้าไปทีละน้อย
เพื่อป้องกันเด็กสำลักและอาเจียน
หากเด็กอาเจียนภายหลังรับวัคซีน ไม่แนะนำให้รับวัคซีนซ้ำ เพราะเกรงว่าจะได้รับเกินขนาด และมีโอกาสเกิดภาวะลำไส้กลืนกัน
วิธีการให้วัคซีนในเด็ก
การนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้าในหนัง (Intradermal)
ได้แก่ BCG
การฉีด BCG ควรฉีดบริเวณต้นแขน ยาหลังผสม อยู่ได้แค่ 2 ชม. เท่านั้น
ให้ในเด็กทารกแรกเกิดทุกราย สำหรับป้องกันการป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง
เทคนิค
วัคซีนที่ฉีดเข้าในหนังเป็นชนิดเชื้อเป็นอาจใช้น้ำเกลือเช็ด หากจะใช้แอลกอฮอล์เช็ดต้องรอให้แห้งก่อนจึงจะฉีด
จัดท่าเด็กให้นิ่งและมั่นคงที่สุด ควรดึงหนังบริเวณที่ฉีดให้ตึง ค่อย ๆ แทงเข็มลงไปทำมุมประมาณ 15 องศา แล้วดันวัคซีนเข้าไป
เมื่อดันวัคซีนเข้าไปจะมีตุ่มนูนขึ้นมาให้เห็นชัด
ใช้เข็มเบอร์ 26หรือ 27 ความยาว ½ นิ้ว
เมื่อฉีดแล้วไม่เกิดตุ่มนูน ไม่ต้องให้อีกเนื่องจากวัคซีนได้เข้าไปแล้วเพียงแต่ฉีดผิดชั้น หากฉีดซ้ำจะทำให้เด็กได้ยา overdose อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่น Lymphadenitis
เมื่อฉีดแล้วเกิดการรั่วซึมของวัครซีนออกมาเล็กน้อย แต่เด็กได้รับวัคซีนบางส่วนแล้ว ไม่ต้องให้อีก เพราะการฉีดแบบ ID ใช้วัคซีนปริมาณน้อยก็สามารถกระตุ้นภูมิได้แล้ว
หากวัคซีนรั่วซึมออกมาทั้งหมดเพราะปลายเข็มแทงทะลุออกมานอกผิววหนัง จะต้องฉีดซ้ำ เปลี่ยนตำแหน่งอีกข้างนึง กรณีเป็นแผลเป็น ควรเปลี่ยนข้าง
กรณีที่ประเมินการได้รับวัคซีน พบว่าไม่เป็นแผลเป็น ไม่ต้องฉีดซ้ำอีก ให้ตรวจดูในสมุดสีชมพู หรือหาไม่เจอก็ควรให้วัคซีน BCG ได้ทันที
หลังการฉีด BCG จะขึ้นเมื่อ 2-3 สัปดาห์ ให้ใช้น้ำต้มสุกทำความสะอาด
การนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้าฉีดเข้าใต้ผิวหนัง(Subcutaneous)
ใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป เพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง
เป็นวัคซีนที่ไม่มีสารดูดซับ (adjuvant)
เช่น วัคซีนรวมหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) เป็นต้น
เป็นการนำวัคซีนผ่านเข้าไปใน fatty tissue
เทคนิค
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ดึงผิวหนังขึ้นมา จะรู้ว่าจับส่วนชั้นไขมัน
แทงเข็มทำมุม 45 องศา และดันวัคซีนเข้าไป
เด็กเล็ก บริเวณให้วัคซีน คือ บริเวณหน้าขา
เมื่อเราผสมเรียบร้อย วัคซีนต้องใช้ให้หมด แม้จะดูดมากกว่า 0.5
การนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้าฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (Intramuscular)
ได้แก่ DTP, DTP-HB, DTP-HB-Hib, HBV, IPV, HPV, Influenza, Hib
ใช้เมื่อต้องการให้การดูดซึมของวัคซีนดี ใช้กับวัคซีนที่มีสารดูดซับ (adjuvant)
การฉีดอยู่ 2 ที่
บริเวณต้นแขน (Deltoid)
เป็นบริเวณที่มีการดูดซึมดีที่สุด เพราะไขมันไม่มาก เลือดเลี้ยงดีและแขนมีการเคลื่อนไหวทำให้การดูดซึมของยาดี
สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่
ใช้เข็มเบอร์ 25 ความยาว1 –1 นิ้วครึ่ง
ขึ้นกับความหนาของผิวหนังและชั้นไขมันของผู้รับวัคซีน
บริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าค่อนไปด้านนอก (Mid-anterolateral thigh) บริเวณกล้ามเนื้อ vastas lateralis
การฉีดบริเวณหน้าขามักนิยมฉีดในเด็กเล็ก เนื่องจากบริเวณต้นแขนยังมีกล้ามเนื้อน้อย
ซึ่งจะอยู่บริเวณต้นขาหน้าค่อนไปด้านนอก (Antero lateralis)
แบ่งบริเวณตั้งแต่ปุ่มกระดูกใหญ่ของกระดูกต้นขา (Greater tronchanter of femur) ถึง ปุ่มกระดูกบริเวณหัวเข่า (Lateral femoral condyle) เป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน
หากฉีดไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ จะทำให้เกิดการอักเสบเป็นไตแข็งเฉพาะที่ได้
ห้ามฉีดวัคซีนที่สะโพก
อาจฉีดเข้าชั้นไขมันใต้หนังลงลึกไม่ถึงกล้ามเนื้อ นอกจากนี้เลือดยังไปเลี้ยงสะโพกน้อยกว่าที่ต้นแขน
สะโพกมีการเคลื่อนไหวน้อย ทำให้วัคซีนดูดซึมได้ไม่ดี และจะมีผลให้การสร้างภูมิต้านทานไม่ดีด้วย
อาจทำให้เกิด Sciatic nerve injury ทำให้เกิดความพิการของขาแบบถาวรได้
เทคนิค
เช็ดแอลกอฮอล์ ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้กดบริเวณที่ฉีดให้ตึง
แทงเข็มทำมุม 90 องศา และดันวัคซีนเข้าไป
การฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อต้องพิจารณาขนาดความยาวของเข็มให้แน่ใจว่าเข้าถึงชั้นกล้ามเนื้อจริง ๆ
พิจารณาจะขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างของผู้รับวัคซีน
เมื่อฉีดวัคซีนเสร็จใช้สำลีแห้งกดบริเวณที่ฉีด
คำแนะนำภายหลังได้รับวัคซีน
สังเกตอาการเป็นเวลา 30 นาที
อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้
มีตุ่มหนองที่เกิดจากวัคซีน บีซีจี ที่ใช้ป้องกันวัณโรค
จะพบตุ่มหนอง หรือฝีหลังฉีด ประมาณ 2-3 สัปดาห์
ยุบหายเองได้ ไม่จำเป็นต้องใส่ยาหรือปิดแผล
รักษาตุ่มหนองให้สะอาดโดยใช้สำลีสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่ทำให้เย็นแล้ว เช็ดผิวหนังบริเวณรอบ ๆ ตุ่มหนองแล้วซับให้แห้ง ไม่ให้เจาะ บ่งตุ่มหนอง หรือทายาฆ่าเชื้อ
อาการปวด บวมแดง หรือมีก้อนแข็งบริเวณที่ฉีดวัคซีน
ให้ประคบเย็นบริเวณที่ฉีดวัคซีนในวันแรก หลัง 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวม
หากมีอาการปวดมาก ให้รับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล
อาการไข้
พบบ่อยหลังจากฉีดวัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ชนิด DTwP
หากมีไข้ควรให้รับประทานยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่น
อาการชัก
อาจเกิดจากไข้สูงมากเกินไป
อาการผื่น
อาจเกิดได้จากการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีนหรือตัวเชื้อที่อยู่ในวัคซีนโดยตรง
เช่น หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส
เชื้อเหล่านี้ทำให้เกิดไข้ออกผื่น การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อจึงสามารถทำให้เกิดผื่นคล้ายการติดโรคโดยธรรมชาติ
อาจขึ้นหลังจากฉีดไปแล้ว 5 – 10 วัน ร่วมกับอาการมีไข้ด้วย