Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม - Coggle Diagram
ทฤษฎีพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม
การเรียนรู้หมายถึง การเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมอย่างถาวรซึ่งเกิดมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนทางอวัยวะ ทางสติปัญญา ทางสังคมหรือทางอารมณ์ก็ได้
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก การวางเงื่อนไขปฏิกิริยาสะท้อนหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้การสนองตอบนั้นจะต้องมี
สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข การสนองตอบที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข การสนองตอบที่ต้องวางเงื่อนไข
ตัวอย่าง เช่น เด็ก 1 คนถูกตี โดยครูสอนคณิตศาสตร์ เกิดความเจ็บปวด จึงเกลียดครูคนนั้นหรือเกลียดวิชาที่ครูคนนั้นสอน
การเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกพัฒนาโดยนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย Ivan P. Pavlov Pavlov ได้สังเกตเห็นว่าสุนัขของเขานั้นมีอาการน้ําลายไหล เมื่อได้ยินเสียงเดิน
ของเขา นอกเหนือจากการเห็นอาหารแล้วน้ําลายไหล เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับทางจิต และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น การวางเงื่อนไขปฏิกิริยาสะท้อน
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา พัฒนาโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อB.F.Skinner การตอบสนองในแบบของการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นเป็นไปโดยเจ้า
ตัวควบคุมการตอบสนองโดยตรงไม่ได้ส่วนการตอบสนองในแบบการวางเงื่อนไข หรือเมื่อกระทําแล้วเราถูกลงโทษการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบ
การกระทําอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า InstrumentalLearning การตอบสนองต่อเงื่อนไขแบบนี้เราต้องมีการกระทําต่อสิ่งแวดล้อม กฎของการวางเงื่อนไขแบบการกระทําจะอธิบายถึงการดัดพฤติกรรมและการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) โดยการใช้ผลของการกระทําที่จะได้รับการเสริมแรงหรือได้รับการลงโทษตามมา
การเสริมแรงคือการทําให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น ผลกรรมที่ทําให้พฤติกรรมมีความถี่เพิ่มขึ้นเรียกว่า ตัวเสริมแรงตัวเสริมแรงที่ใช้กันอยู่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ด้วยกันคือ ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ และ ตัวเส ริม แรงทุติยภูมิ ผู้ที่เริ่มทําการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเสริมแรงคือ ธอร์นไดค์(Thorndike) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ธอร์นไดค์พบกฎบางประการเกี่ยวกับการเรียนรู้กฎหนึ่ง คือ กฎแห่งผลงานของธอร์นไดค์ ที่รู้จักกันดีคือ การทดลองเกี่ยวกับแมวในกรงปริศนา
การเสริมแรง สามารถดําเนินการได้ใน 2 ลักษณะด้วยกันคือ
การเสริมแรงทางบวก คือ การเสริมแรงที่มีผลทําให้
พฤติกรรมที่ได้รับการเสริมแรงนั้นมีความถี่เพิ่มขึ้น เช่น ทำงานเสร็จแล้วได้รับค่าจ้าง ทำงานเป็นพฤติกรรมที่กำหนดเงินค่าจ้างเป็นตัวเสริมแรงบวก
การเสริมแรงทางลบ คือ การทําให้ความถี่ของ
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการที่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวนั้นสามารถถอดถอนจากสิ่งเร้าที่ ไม่พึงประสงค์ออกไปได้สิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์จะเป็นตัวเสริมแรงทางลบได้ต่อเมื่อพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อถอดถอนสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์นั้นเพิ่มขึ้น เช่น นักเรียนที่ตอบคำถามครูถูกจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำรายงานมาส่ง เป็นต้น
จากการศึกษาของ Skinner พบว่า การเสริมแรงแบบอุบัติเหตุนั้นก่อให้เกิด
พฤติกรรมที่แปลก ๆ กับนกพิราบของเขานั่นคือเมื่อนกพิราบได้เรียนรู้เงื่อนไขการเสริมแรงแล้ว
เกิดบังเอิญที่นกพิราบแสดงพฤติกรรมบางอย่าง
การแต่งพฤติกรรม การแต่งพฤติกรรมเป็นการให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมเป้าหมาย โดยการใช้วิธีการเสริมแรง
ต่อพฤติกรรมที่คาดคะเนว่าจะนําไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย ดังนั้นในกระบวนการแต่งพฤติกรรมจึงต้องประกอบด้วย 2
กระบวนการคือการจําแนกการเสริมแรง นั่นคือจะต้องให้อินทรีย์
เรียนรู้ว่าพฤติกรรมเฉพาะอย่างเท่านั้นจึงจะได้รับการเสริมแรง และพฤติกรรมที่คาดคะเนว่าจะนําไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย
การลงโทษคือ การให้ผลกรรมหลังจากแสดงพฤติกรรมทําให้พฤติกรรมนั้นลดลงหรือยุติลง
ซึ่งผลกรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่จําเป็นที่จะต้องเป็นสิ่งที่ไม่พึงพอใจหากแต่จะเป็นอะไรก็ได้ตามหลัง
พฤติกรรมนั้นแล้วทําให้พฤติกรรมนั้นลดลงหรือยุติลง ประกอบด้วย 3 เงื่อนไขดังต่อไปนี้คือ 1. มีพฤติกรรมเป้าหมายเกิดขึ้น
พฤติกรรมเป้าหมายนั้นจะต้องตามด้วยผลกรรมบางอย่าง3. โอกาสการเกิดพฤติกรรมเป้าหมายนั้นลดลง
ทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม การเรียนรู้โดยการสังเกตBandura มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ส่วนใหญ่ของคนเรานั้นเกิดขึ้นจากการสังเกตจากตัวแบบซึ่งจะแตกต่างจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ต้องอาศัยการลองผิดลองถูก หน้าที่ของตัวแบบ ออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ1. ทําหน้าที่สร้างพฤติกรรมใหม่ 2. ทําหน้าที่เสริมพฤติกรรมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น 3. ทําหน้าที่ยับยั้งการเกิดของพฤติกรรม
ตัวแบบนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 1. ตัวแบบที่เป็นบุคคลจริง ๆ คือตัวแบบที่บุคคลได้มีโอกาสสังเกตและ
ปฏิสัมพันธ์โดยตรง 2. ตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ เป็นตัวแบบที่เสนอผ่านสื่อต่าง ๆ
การเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบนี้Bandura ได้กล่าวว่าประกอบด้วย 4กระบวนการดังต่อไปนี้ 1. กระบวนการตั้งใจ 2. กระบวนการเก็บจํา 3. กระบวนการกระทํา 4. กระบวนการจูงใจ ตัวอย่าง เช่น การออกเสียง การขับรถยนต์
ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้เช่น โคลเลอร์ (Kohler) เจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมการหยั่งรู้ การเรียนรู้เกิดขึ้นพร้อมกับ
การหยั่งรู้การเรียนรู้การรู้คิดไม่จําเป็นต้องลองผิดลองถูกและไม่จําเป็นต้องเสริมแรงเหมือนกับการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขการกระทํา
การเรียนรู้แฝงเป็นการเรียนรู้ใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในขณะที่เกิด
การเรียนรู้มักจะเกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายมีแรงขับต่ําหรือไม่ได้รับรางวัล
การแก้ปัญหาโดยอาศัยการคิดการเข้าใจหรือการหยั่งรู้(Insight) จากการทดลองของโคลเลอร์ได้3 ประการ ได้แก่ 1. การแก้ปัญหาที่เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด 2. การค้นพบวิถีทางในการแก้ปัญหาแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับการวางรูปแบบของปัญหาการหยั่งรู้จะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้าส่วนสําคัญๆ ของปัญหาจัดอยู่ในลักษณะที่ช่วยให้นํามาสร้างความสัมพันธ์กันได้สะดวก 3. การหยั่งรู้ในสถานการณ์หนึ่ง สามารถนําไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้เพราะเป็นการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ต่าง ๆ กับการเข้าสู่เป้าหมาย
การเรียนรู้โดยใช้เครื่องหมาย ผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มการคิดการเข้าใจอีกผู้หนึ่ง คือ ทอลแมผู้ซึ่งทําการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของหนูที่จะไปสู่ปลายทางวงกตที่ซับซ้อน
เมื่อปี ค.ศ. 1932 ตามความคิดของเขาการที่หนูวิ่งผ่านไปสู่ปลายทางวงกตได้นั้นไม่ได้เกิดจากการที่หนูเรียนรู้วิธีการเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาที่เป็นไปตามลําดับ แต่เป็นการพัฒนาแผนที่ของทางวงกต
(Cognitive Map) ขึ้นมาในสมองของหนูและพยายามที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางให้ได้