Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบ - Coggle Diagram
Meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ความหมาย
โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง มีการอักเสบหรือติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง บริเวณส่วนที่เป็นเมมเบรนห่อหุ้มเนื้อสมองและไขสันหลัง ยังเป็นโรคที่มีอัตราการตายและความพิการทางสมองสูง พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเป็นหนอง ได้รับยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ ส่วนผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค ดูแลให้ได้รับยาต้านวัณโรคร่วมด้วย
วัดและบันทึกสัญญาณชีพอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินความผิดปกติ
ประเมินและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท เช่น ขนาดรูม่านตา ระดับความรู้สึกตัว การรับรู้บุคคล สถานที่ เวลา ความจำ และความสามารถในการทำตามคำสั่งอย่างน้อย ทุก 1 ชั่วโมง ในระยะแรก หลังจากนั้นเมื่ออาการเริ่มคงที่ให้ประเมินอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง หรือตามแผนการรักษา รวมทั้งสังเกตอาการชักเกร็ง อาการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ให้รายงานแพทย์ทราบ เพื่อให้การพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
จัดให้ผู้ป่วยนอนพักอยู่บนเตียง อากาศถ่ายเทสะดวก สิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่ควรทำให้เกิดเสียงดัง และไม่ควรรบกวนผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น โดยเตรียมอุปกรณ์ในการให้การพยาบาลพร้อมก่อนให้การพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยให้สะอาดโดยเฉพาะช่องปากเพื่อลดการติดเชื้อแทรกซ้อน
ช่วยแพทย์ในการเก็บสิ่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เลือด น้ำไขสันหลัง และติดตามผลการตรวจดังกล่าว เพื่อประเมินภาวะโรค การรักษา รวมทั้งการวางแผนในการรักษาและการพยาบาลต่อไป
สาเหตุ
ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ เชื้อรา
ปฏิกิริยาอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ได้แก่ เนื้องอก การบาดเจ็บ การได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว ปรอท
อาการและอาการแสดง
อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ
เด็กเล็ก อาการจะคล้ายกับการติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น ไข้ ซึม กระสับกระส่าย ไม่ยอมดูดนมหรือดูดนมได้น้อยลง อาเจียน ชัก
เด็กโต : มีอาการซึม สับสน ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อการกระตุ้น ชัก คอแข็ง
อาการที่แสดงถึงการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมองร่วมกับความผิดปกติในการทำงานของสมอง ได้แก่ ปวดบริเวณต้นคอ ปวดศีรษะมาก ซึม อาการจะแย่ลงจนหมดสติ
ตรวจร่างกาย
พบอาการคอแข็ง Stiffness of neck ปวดตึงที่ขา Kernig's sign ปวดตึงที่หลัง Brudzinski's sign ให้ผล Positive
การรักษา
การรักษาเฉพาะโดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อโรคที่พบในการตรวจน้ำไขสันหลัง
การรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่....
ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้สูง
ให้ยานอนหลับเพื่อลดอาการกระสับกระส่าย
ให้ยากันชักในรายที่มีอาการชักเกร็ง
ให้ยาลดอาการบวมของสมองในผู้ป่วยที่มีสมองบวม เช่น ม่านตาขยาย หัวใจเต้นช้า ซึมลง
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาภาวะสมดุลน้ำและอีเล็คโตรลัยด์
ให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจ
การรักษาภาวะแทรกซ้อน
โดยการผ่าตัด เจาะหรือดูดออกในผู้ป่วยที่เป็นฝีหรือมีของเหลวคั่ง
การพยาบาลและการดูแล
ประเมิน Neurological sign / สัญญาณชีพ
ประเมินอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง
ประเมินอาการแสดงถึงการมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ได้แก่ ซึมลง ระดับการรู้สติลดลง อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจลดลง ความดันโลหิตสูงขึ้น Pulse pressure กว้างขึ้น กระหม่อมโป่งตึง เส้นรอบศรีษะขยาย รูม่านตาขยายโตไม่เท่ากัน ร้องเสียงแหลม ปวดศีรษะ อาเจียน
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง และดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลป้องกันการเกิด IICP
ดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
อาการ
Bacteria
มีไข้ ซึม กระหม่อมหน้าโป่ง
Stiffness of neck
Kernig's sign
Brudzinki's sign
CFS ขุ่น
Neutrophil 70-100%
TB
มีไข้ต่ำๆ
อ่อนเพลีย
น้ำหนักลด
เบื่ออาหาร
ปวดหัวรุนแรง N/V
Stiffness of neck
CSF ใส
Glucose ต่ำมาก
Virus
มีไข้
ปวดหลัง
กลัวแสง
ผื่นแดง
ท้องเสีย
อ้างอิง
ผศ.(พิเศษ) พญ. อภิญญ์เพ็ญ สาระยา วสันติวงศ์.วันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ.วันที่ 24 เมษายน 2564.สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565, จาก
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ/
นพ.ภูชิต สุขพัลลภรัตน์,
รศ.พญ.พรภัทร ธรรมสโรช.หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.รายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ Cerebral venous thrombosis in a patient .วันที่ 24 เมษายน 2564.สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565, จาก
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ/