Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่, นางสาวจีรดา แก้วยศกุล เลขที่26, นางสาวศุภสุตา…
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
ละครพูด
ความหมาย ละครพูดเริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ละครพูดแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
- ละครพูดล้วนๆ
- ละครพูดแบบร้อยกรอง
- ละครพูดสลับลำ
การแต่งกาย
- ละครพูดล้วนๆ แต่งกายตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตัวละคร
- ละครพูดแบบร้อยกรอง แต่งให้เหมาะสมถูกต้องตามบุคคลิกของตัวละคร และยุคสมัยที่บ่งบอกไว้ในบทละคร
- ละครพูดสลับลำ การแต่งกายเหมือนละครพูดล้วนๆ หรือแต่งกายตามเนื้อเรื่อง
การแสดง
- ละครพูดล้วนๆการแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดใช้ท่าทางแบบสามัญชนประกอบการพูดที่เป็นธรรมชาติ
- ละครพูดแบบร้อยกรองการแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดที่เป็นคำประพันธ์ชนิดคำกลอน คำฉันท์ คำโคลง
- ละครพูดสลับลำยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียวบทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความย้ำความ
ผู้แสดง
- ละครพูดล้วนๆ ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วนต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วนต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้
- ละครพูดแบบร้อยกรอง ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิงมีบุคคลิกและการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่บ่งไว้ในบทละคร น้ำเสียงแจ่มใสชัดเจนดี เสียงกังวาน พูดฉะฉาน ไหวพริบดี
- ละครพูดสลับลำ ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิงเหมือนละครพูดแบบร้อยกรอง
เรื่องที่แสดง
- ละครพูดล้วนๆ เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรือง"โพงพาง" เมื่อ พ.ศ. 2463 เรื่องต่อมาคือ "เจ้าข้าสารวัด" ทั้งสองเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ละครพูดแบบร้อยกรอง จําแนกตามลักษณะคำประพันธ์ดังนี้คือละครพูดคํากลอนจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นเรื่องเวนิชวาณิชพระร่วงละครพูดคำฉันท์ ได้แก่ เรื่องมัทนะพาธาแล้วยังมีละครพูดคําฉันท์อีกเรื่องหนึ่งที่นิยมนำมาแสดงคือเรื่องสามัคคีเภทของนายชิตบุรทัตละครพูดค่าโคลง ได้แก่ เรื่องสี่นาฬิกาขออัฉราพรรณ
- ละครพูดสลับลำ ละครพูดสลับลำ ได้แก่ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่ ซึ่งเป็นของนายบัว ทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องแทรก โดยใช้พระนามแฝงว่า "ศรีอยุธยา" และทรงแสดงเป็นหลวงเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. 2449
บุคคลสำคัญ รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเป็นจำนวนมาก ทั้งบทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ และบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลหรือแปลงงานจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศ วัตถุประสงค์ในการพระราชนิพน์บทละครพูด นอกจากจะใช้สำหรับเล่นละครและใช้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว หน้าที่สำคัญของงานบทละครพูดที่ทรงพระราชนิพนธ์คือ การถ่ายทอดแนวพระราชดำริของพระองค์ผ่านตัวละคร เพื่อสื่อสารต่อผู้อ่านหรือผู้ชม
ละครสังคีต
ความหมาย คำว่า "สังคีต" หมายถึง การรวมเอาการ ฟ้อนรำ และการละคร พร้อมทั้งดนตรีทางขับร้อง และดนตรีทางเครื่องด้วย
ละครสังคีตหมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้
การแสดง มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่องด้วยบทร้อง การพูดเป็นเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้องและบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
เรื่องที่แสดง นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า " ละครสลับลำ " เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียกว่า " ละครพูดสลับลำ " เรื่องมิกาโดและวั่งตี่ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต"
-
การแต่งกาย แต่งตามสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามเนื้อเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
บุคคลสำคัญ ละครสังคีตเป็นละครที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆกัน
ละครเพลง
ความหมาย เป็นละครของเอกชนที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ละครที่มีชื่อเสียงนี้คือ "คณะจันทโรภาส" เป็นละครของนายจวงจันทน์ จันทร์คณา (พรานบูรณ์) สิ่งหนึ่งที่พรานบูรณ์ทำเป็นหลักคือ ปรับปรุงเพลงไทยเดิมที่มีทำนองร้องเอื้อน มาเป็นเพลงไทยสากลที่ไม่มีทำนองเอื้อน
การแสดง ผู้แสดง มักใช้ผู้แสดงทั้งผู้ชาย และผู้หญิง แสดงจริงตามบทบาทในเรื่อง การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยบทเพลงที่ปรับปรุงขึ้นใหม่จากเพลงไทยเดิมเป็นเพลงไทยสากล ใช้ท่าทางที่เป็นธรรมชาติประกอบบทร้อง ผู้แสดงจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการร้องเพลงเป็นอย่างดี
-
บุคคลสำคัญ จวงจันทร์ จันทร์คณา หรือ พรานบูรพ์ เกิดเมื่อวันที่29 มีนาคม พ.ศ. 2444 นักแต่งเพลงไทย เป็นคนแรกผู้ปฏิรูปรูปแบบเพลงไทย ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2519 อายุได้ 74 ปี
ผลงานประพันธ์เพลง เช่น จันทร์เจ้าขา นัดพบ กุหลาบร่วง
ละครรำ
ความหมาย คือ ศิลปการแสดงแบบใหม่ที่กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครร้องได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศ ละครร้องนั้นต้นกำเนิดมาจากการแสดงของชาวมลายู เรียกว่า "บังสาวัน" (Malay Opera) ได้เคยเล่นถวายรัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรครั้งแรกที่เมืองไทรบุรี และต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ
-
การแสดง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องเกริ่นเรื่องและ
ดำเนินเรื่อง ถ้าบทนั้นเป็นคำพูดของตัวละคร ผู้แสดงตัวนั้นจะต้องร้องเอง แต่ร้องเฉพาะที่เป็นถ้อยคำเท่านั้น ส่วนการเอื้อนลูกคู่จะเป็นผู้ร้องแทรกให้ เรื่องที่แสดง เป็นเรื่องของสามัญชน เช่น ตุ๊กตายอดรัก ขวดแก้วเจียระไน สาวเครือฟ้า
บุคคลสําคัญละครร้องของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นละครร้องแบบไม่มีลูกคู่ เป็นละครที่ได้รับอิทธิพลมาจากละครโอเปร่าโดยตรง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดัดแปลงมาเป็น ละครร้องแบบไทย โดยตัวละครจะดาเนินเรื่องด้วยการร้องล้วน ๆ ไม่มีบทเจรจาแทรกอยู่เลย ท่าทางที่ใช้และเครื่อง แต่งกายก็เป็นแบบสามัญชน
ละครเวที
ความหมาย ละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้นขึ้นจากการกล่าวคำบูชาเทพเจ้าไดโอนีซุส เทพเจ้าแห่งไวน์และความอุดมสมบูรณ์
จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
-
บุคคลสำคัญ รัดเกล้า อามระดิษ
มีผลงานละครเวทีถึง 15 เรื่องด้วยกัน เขาป็นนักร้อง Diva แนวหน้าของประเทศไทย และนักแสดงชาวไทย ด้านการร้องเพลง ด้านการแสดงในปี พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลภาพยนตร์ไทยชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง อุโมงค์ผาเมือง และในปี พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ละครวิทยุ
ความหมาย ละครวิทยุ เป็นการแสดงละครโดยใช้เสียงอย่างเดียว เมื่อไม่มีภาพ จึงต้องขึ้นอยู่กับบทสนทนาโต้ตอบ ดนตรีและเอฟเฟ็กซ์เสียงเพื่อช่วยให้ผู้ฟังจินตนาการถึงตัวละครและนิยายออก
บุคคลสำคัญ เสนีย์ บุษปะเกศเป็นนักเขียนเรื่องสั้น และนวนิยายที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังเป็นนักจัดรายการวิทยุ เกิดเมื่อ23 ธันวาคม พ.ศ.2466 ที่ตำบลวรจักร กรุงเทพ เป็นบุตรคนโตของขุนประมวลกสิภูมิ กับนางประทิน บุษปะเกศ
ผลงานการประพันธ์นวนิยาย
- ตะวันยอแสง
- ไพรกระเจิง
- รุ่งทิพย์
- ผู้ดีเถื่อน เป็นต้น
-
-
-
-
-
-