Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลและการป้องกันโรคอหิวาตกโรค - Coggle Diagram
การพยาบาลและการป้องกันโรคอหิวาตกโรค
การพยาบาล
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย และสอบถามการขับถ่าย อุจจาระและปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะขาดน้ำ
ความตึงตัวและความยืดหยุ่นของผิวหนัง
อาการอ่อนเพลีย
ระดับความรู้สึกตัว
ความชุ่มชื้นของริมฝีปาก
สัญญาณชีพ
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย เพื่อประเมินภาวะสมดุลของสารน้ำ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา เพื่อปรับสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายให้กลับคืนสู่ภาวะปกติและแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดและโปแทสเซียมต่ำ
ในกรณีที่มีอาการท้องร่วงไม่รุนแรง ให้สารเกลือแร่ทางปาก
ในกรณีที่มีอาการท้องร่วงรุนแรง มีอาการช็อค ควรให้สารน้ำที่มีส่วนประกอบของ Bicarbonateทางหลอดเลือดดำ
Ringer’s lactate
Acetate solution
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อลดระยะอาการของโรคและระยะการแพร่กระจายเชื้อให้สั้นลง (บางรายกลายเป็นพาหะต่อไปอีกหลายเดือน)
แยกผู้ป่วยออกจากคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อ เนื่องจากเชื้อ V.cholerae สามารถติดต่อระหว่างบุคคลสู่บุคคลโดยตรง
การป้องกัน
จัดให้มีการสุขาภิบาลในเรื่องการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลอย่างถูกต้อง
ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่ แนะนำให้ใช้ภาชนะปกปิดอาหารและน้ำ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจากแมลงวันและควรล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
การให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรค
ในขณะที่มีการระบาดสามารถป้องกันได้เพียง ร้อยละ 50 และมีอายุสั้นเพียง 3-6 เดือน สำหรับวัคซีนชนิดกินที่ให้ภูมิคุ้มกันสูงต่อเชื้ออหิวาต์สายพันธุ์ o1 ได้หลายเดือน มี 2 ชนิด
ชนิดแรกวัคซีนเชื้อเป็นกินครั้งเดียว (สายพันธุ์ CVD 103-HgR) ; Vaxchora vaccine
ชนิดที่สองเป็นเชื้อตายแล้วประกอบด้วยเชื้ออหิวาห์ตายแล้วกับ cholera toxin ชนิด B-subunit กิน 2 ครั้ง ; Dukoral vaccine, Shanchol
การป้องกันการระบาดในสถานเลี้ยงเด็กเล็ก
รักษาความสะอาดสถานที่ข้าวของเครื่องใช้ เจ้าหน้าที่ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
หากมีเด็กที่มีอาการอุจจาระร่วงให้แยกเด็กที่มีอาการและระมัดระวังการปนเปื้อนจากอุจจาระของเด็กที่มีอาการ
เด็กที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยควรได้รับการสังเกตอาการอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในห้องเลี้ยงเด็กและป้องกันการติดเชื้อต้องมีการสอบสวนโรคเพื่อให้ทราบปัจจัยเสี่ยงและวิธีการแพร่โรค
การทำลายเชื้อมีการใช้ความร้อน กรดคาร์บอนิกหรือสารทำลายเชื้อตัวอื่นๆ เพื่อกำจัดอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วยและฆ่าเชื้อในของเครื่องใช้ต่างๆ