Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 - Coggle Diagram
มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561
มาตรฐานการศึกษาของชาติ
“มาตรฐานการศึกษาของชาติ” หมายถึง ขอกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์ของคนไทย เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งยึดเป็นกรอบสําหรับสร้างคนไทย 4.0 ที่แม้แตกต่างตามบริบทของท้องถิ่นและของสถานศึกษา แต่มีจุดหมายร่วมคือ “ธํารงความเป็นไทยและแข่งขันได้ในเวทีโลก”สามารถเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศทั้งในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติการเมือง ต่อไปได้
เป้าหมายของมาตรฐานการศึกษาของชาติ
เป้าหมายสําคัญของมาตรฐานการศึกษาของชาติในรูปของผลลัพธที่พึงประสงคของการศึกษาคือการให้อิสระสถานศึกษาในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและตามความถนัดของผู้เรียน ที่สอดรับกับกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ซึ่งกําหนดว่า สถานศึกษาเป็นผู้จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (การประเมินตนเอง) โดยการกําหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาใหเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา
หมายถึง คุณลักษณะของคนไทย 4.0 ที่ตอบสนองวิสัยทัศนการพัฒนาประเทศสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยคนไทย 4.0 จะต้อง ธํารงความเป็นไทยและแข่งขันได้ในเวทีโลก นั่นคือเป็นคนดี มีคุณธรรม ยึดค่านิยมร่วมของสังคมเป็นฐานในการพัฒนาตนใหเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะ ๓ ด้าน โดยเป็นคุณลักษณะขั้นต่ำดังต่อไปนี้
ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นผู้มีทักษะทางปัญญา ทักษะศตวรรษที่ ๒๑ ความฉลาดดิจิทัล ทักษะการคิดสรางสรรค์ ทักษะข้ามวัฒนธรรม สมรรถนะการบูรณาการข้ามศาสตร์
ผู้เรียนรู้ เป็นผู้มีความเพียร ใฝ่เรียนรู้ และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อก้าวทันโลกยุคดิจิทัลและโลกในอนาคต และมีสมรรถนะ ที่เกิดจากความรู้ ความรอบรู้ด้านต่าง ๆ
พลเมืองที่เขมแข็ง เป็นผู้มีความรักชาติ รักท้องถิ่น รู้ถูกผิด มีจิตสํานึกเป็นพลเมืองไทยและพลโลก มีจิตอาสา มีอุดมการณ์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติ บนหลักการประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียมเสมอภาค
ค่านิยมร่วมของสังคม (๔ ประการ)
๒ ความพอเพียง ผู้เรียนมีความสมดุลรอบดานทั้งความรู้ คุณธรรม และทักษะที่เกี่ยวของ
โดยคํานึงถึงความสมดุลทั้งประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน และสังคม
๓ วิถีประชาธิปไตย ผู้เรียนยึดมั่นในการมีส่วนร่วม การเคารพกติกา สิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบ การรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข
๑ ความเพียรอันบริสุทธิ์ ผู้เรียนมีความอดทน มุ่งมั่น ทําสิ่งใด ๆ ให้เกิดผลสําเร็จอย่างไม่ย่อท้อ ต่อความลําบาก เพื่อใหเกิดประโยชน์แก่ตนเอง ส่วนรวม ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
๔ ความเท่าเทียมเสมอภาค ผู้เรียนเคารพความแตกต่าง และให้ความสําคัญแก่ผู้อื่นโดยปราศจากอคติ แม้มีสถานภาพแตกต่างกันทางเศรษฐกิจ สังคม เชื้อชาติ ถิ่นที่อยู่ วัฒนธรรมและ
ความสามารถ
แนวทางการนํามาตรฐานสู่การปฏิบัติระดับสถานศึกษา
สถานศึกษาจัดการศึกษาโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การมีเครือข่าย
ความร่วมมือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้
3.สถานศึกษามีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาที่มีสมรรถนะ
ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับโลกยุคดิจิทัลและโลกอนาคต
สถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาสามารถจัดการศึกษาให้เหมาะสมตามอัตลักษณ์ของตนเอง สอดคลองกับสภาพบริบท และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน
สังคม และยุทธศาสตรการพัฒนาประเทศ
สถานศึกษาวางระบบการประกันคุณภาพการศึกษาด้านคุณภาพผู้บริหารและครูอาจารย์
ความเหมาะสมของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยี ทรัพยากรการเรียนรู้และการ
ประเมินการเรียนการสอน โดยมีการกํากับ ติดตาม และประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบ
ที่ตรวจสอบได