Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน - Coggle Diagram
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน
3.ลักษณะของทฤษฎีสัมพันธภาพ
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน มีความเชื่อว่า บุคคลถูกกระตุ้นเพื่อไปสู่เป้าหมาย ประการ
เป้าหมายเพื่อไปสู่ความพึงพอใจ (satisfaction) ซึ่งเน้นความต้องการทางสรีรวิทยา เช่น ความหิว การนอนหลับพักผ่อน และความต้องการทางเพศ
หลักการทางสรีระวิทยา
หลักของการคงอยู่
สิ่งมีชีวิตไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นในชีวิตได้
ทารกก่อนคลอดจะต้องมีสิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดาที่ถูกต้องเหมาะสมจึงจะมีชีวิตและเจริญเติบโตได้
หลักของการทำหน้าที่
การทำหน้าที่ของร่างกายและกิจกรรมทางสรีรวิทยามีผลต่อกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่บุคคลมีต่อสิ่งแวดล้อม
หลักการจัดระบบ
มนุษย์มีการจัดระบบตัวเองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การจัดระบบจะช่วยให้การทำหน้าที่บุคคลเป็นไปได้ตามพัฒนาการของระบบความเป็นตนเอง ถือว่าเป็นระบบโครงสร้างของประสบการณ์ซึ่งจะใช้เป็นเกราะป้องกันความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น
เป้าหมายเพื่อไปสู่ความมั่นคง (Security) เป็นความต้องการเพื่อความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ต้องการการยอมรับสังคม ซึ่งเกิดจากการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลจะได้รับความอบอุ่นเพราะมีเพื่อน เป็นต้น
ความต้องการทั้ง 2 ด้านนี้ มีความสัมพันธ์กัน ถ้าบุคคลได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอทั้ง 2 ด้าน บุคคลก็จะไม่เกิดความวิตกกังวล เป็นการส่งเสริมความทั่งคงของตนเองซึ่งในที่สุดจะหล่อหลอมเป็นรับบแห่งตน (self- system)
1.ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
Interpersonal theory
แฮรี สแตค ซัลลิเเวน
(Harry Stack Sullivan: 1892-1949)
จิตแพทย์ชาวอเมริกัน พัฒนาทฤษฎีโดยเริ่มต้นจากแนวคิดของฟรอยด์
ซัลลิแวนมีความคับข้องใจเกี่ยวกับการจัดการในสิ่งที่มองเห็นและกระบวนการทางจิตใจภายในตัวบุคคล จึงหันมาสนใจกระบวนการระหว่างบุคคล
(Interpersonal process)
นิยามคำว่าบุคลิกภาพว่า
"เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ในการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล"
(Halter, 2014)
มีความเชื่อว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความสำคัญกว่าสิ่งที่อยู่ภายในใจ
บุคคลที่มีสุขภาพดี จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และความเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากการขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
(McGuinness, 2001 อ้างถึงใน ศุกร์ใจ เจริญสุข, 2557)
5.ขั้นตอนพัฒนาการของซัลลิแวน
ขั้นตอนที4 ระยะแรกรุ่น
ระยะที่บุคคลรู้จักและความเห็นตนเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความสนิทสนมกับเพื่อนโดยเฉพาะกับเพื่อนวัยเดียวกัน ได้แก่ ความรักใคร่ผูกพัน การเปิดเผยความลับแก่กันและกัน การมีความเชื่อถือไว้วางใจ นิยมยกย่องซึ่งกันและกัน และการร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
ขั้นตอนที่5 ระยะวัยรุ่นตอนต้น
ระยะนี้เด็กมีความสนใจเรื่องเพศและความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามทั้งในกิจกรรมประจำวันตามความเป็นจริงและตามที่นึกฝันเอาเอง ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม
ขั้นตอนที่ 6 ระยะวัยรุ่นตอนปลาย
เป็นช่วงที่บุคคลสามารถเลือกทำกิจกรรมทางเพศตามที่ตนพอใจมากกว่าในวัยที่ผ่านมา
รู้จักคบหาสมาคมกับผู้อื่นอย่างผูกมัดมั่นคงยิ่งขึ้น
รู้จักรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง
ขั้นตอนที่7 ระยะวัยผู้ใหญ่
ถ้าบุคคลมีพัฒนาการดเนินมาดีโดยตลอดทั้ง6ขั้น ผู้นั้นก็จะมีวุฒิภาวะ มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นอย่างดี ความเป็นผู้ใหญ่ของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น สามารถแก้ไขความบกพร่องของบุคลิกภาพซึ่งเกิดในช่วงวัยเด็กได้
ขั้นตอนที่ 3 ระยะก่อนวัยรุ่น
ระยะก่อนวัยรุ่น เป็นระยะเด็กเข้าโรงเรียนประถม ชีวิตทางสังคมของเด็กจะกว้างออกไปอีก
ขั้นตอนที่ 2 ระยะเด็ก
ระยะวัยเด็ก เป็นช่วงเวลาที่เด็กรู้จักนึกคิดและสื่อสารด้วยระบบสัญลักษณ์ (Symbolic period) ซึ่งมักเป็นภาษาถ้อยคำ ความสามารถทางภาษา ขยายความคิดและความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ขั้นตอนที่ 1 ระยะทารกแรกเกิด
ระยะวัยทารกแรกเกิดจนถึงระยะที่ทารกสามารถฟังและพูดภาษาได้รู้เรื่อง พฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยปากเป็นพฤติกรรมที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตรอดยิ่งกว่าด้านอื่นๆ ทารกเริ่มมีการรับรู้การสัมผัสซึ่งมีผลทางบวกทางลบต่อบุคลิกภาพของเด็ก ในระยะนี้เด็กค่อยๆรู้จักสิ่งแวดล้อมรอบตัว และเริ่มรู้จักแยกแยะตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวทีละน้อย
2.แนวคิดหลักของทฤษฎีสัมพันธภาพ
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลผ่านการมีสัมพันธภาพและเป็นการลดความวิตกกังวล
ซัลลิแวน กล่าวว่า ความรู้สึกวิตกกังวลเป็นความรู้สึกเจ็บปวดจากความรู้สึกที่ไม่ได้รับความมั่นคง ปลอดภัย และความพึงพอใจทางสรีรวิทยา
แสดงออกได้ 3 ลักษณะ
1) ความวิตกกังกุลที่เริ่มมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เกิดจาก
ความวิตกกังวลของมารดาถ่ายทอดไปสู่บุตร
2) ความวิตกกังวลสามารถอธิบายและสังเกตได้ บุคคลที่อยู่ในภาวะวิตก
กังวล สามารถบอกได้ว่าเขารู้สึกอย่างไรและแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร
3) บุคคลพยายามที่จะดิ้นรนเพื่อขจัดความวิตกกังวลและเพิ่มความ
มั่นคงให้กับตนเอง ตัวอย่างเช่น เด็กพยายามเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงความวิตกกังวลที่เกิดจากการถูก
ลงโทษ)
4.ระบบแห่งตน
ภาพของบุคคลที่มีต่อตนเองสร้างขึ้นภายในขวบปีแรก เป็นเครื่องมือจัดการและหลีกเลี่ยงจากความวิตกกังวลรวมทั้งสร้างความมั่นคงปลอดภัยได้ ระบบแห่งตนพัฒนาในกระบวนการของการค้นหาความพึงพอใจทางร่างกาย ความต้องการทางด้านร่างกายและความปลอดภัย
ฉันดี Good me
เป็นการมองภาพตนเองว่าเป็นคนดี ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับความพึงพอใจ การยอมรับจากบุคคลสำคัญในชีวิต
ฉันเลว Bad me
เป็นการมองภาพตนเองว่าเป็นคนไม่ดี เป็นคนเลว ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากบุคคลสำคัญในชีวิต
ไม่ใช่ฉัน Not me
เป็นการปฏิเสธตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อความวิตกกังวลสูง เป็นเพราะปฏิสัมพันธ์ของมารดากับทารกนั้น เกิดเป็นครั้งเป็นคราว
6.โครงสร้างบุคลิกภาพเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
2.กระบวนการสร้างสัมพันธภาพบุคคล (Personification)
มโนภาพที่บุคคลวาดเป็นภาพตัวเอง เป็นภาพคนอื่นที่มีสัมพันธภาพกับตน โดยจะมีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความรู้สึกเจตคติและความคิดที่บุคคลมีขึ้นเนื่องจากได้รับประสบการณ์ทางด้านความพึงพอใจความวิตกกังวลและจะมีความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบุคคลที่เคยได้รับจากบุคคลอ้างอิงและสร้างภาพบุคคลตามประสบการณ์ที่ได้รับอันจะทำให้บุคคลมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและบุคคลอื่น
3.กระบวนการทางความคิด Cognitive processes)
Prototaxic
เป็นประสบการณ์เบื้องต้นซึ่งยังมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นความคิดระดับเด็กทารกซึ่งรับรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่จำเพาะจงดังนั้นทารกไม่สามารถคิดแบบสัมพันธภาพ ไม่เข้าใจความหมายของเวลาและสถานที่ไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมทารกมองเห็นผู้คนและเห็นอะไร ๆ ผ่านตาผ่านหูผ่านการสัมผัสรับรู้หลากหลาย แต่ไม่ตระหนักรู้จริงว่าสิ่งนั้นมีสาระสัญลักษณ์
Parataxic
เป็นการพัฒนาขึ้นจากขั้น Prototaxic ความคิดขั้นตอนนี้มีความเข้าใจสัมพันธภาพระหว่างสิ่งต่าง ๆ เป็นประสบการณ์ความคิดนึกและความฝันปน ๆ กันไปจริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่เป็นความคิดของเด็ก ๆ เด็กในวัยนี้จึงมีโลกทัศน์ส่วนตัวเขาเองสำหรับบางคนอาจเป็นประสบการณ์ฝังใจไปจนเติบใหญ่ความคิดฝันนี้อาจแสดงออกให้ปรากฏเมื่อบุคคลผู้นั้นมีความเจ็บป่วยมีอาการโรคประสาทโรคจิตมีความกังวลสูง
Syntaxic
ระยะนี้มีความสามารถใช้สัญลักษณ์ จึงสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้นสามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึกความเชื่อกับกับผู้คนรอบข้างได้ดีขึ้นเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของบุคคลที่เคยได้รับจากบุคคลอ้างอิงและสร้างภาพบุคคลตามประสบการณ์ที่ได้รับอันจะทำให้บุคคลมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและบุคคลอื่น
1.กระบวนการปรับเปลี่ยนพลังงาน (Dynamism)
พฤติกรรมที่เป็นความเคยชินในด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น ศูนย์กลางของระบบการปรับเปลี่ยนพลังงาน คือ ระบบตัวตน (Self system) เป็นกระบาวนการที่พัฒนามาจากวิธีป้องกันตนเอง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับผู้อื่นดำเนินไปอย่างราบรื่น