Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก -…
บทที่ 12
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบประสาท
กล้ามเนื้อ และกระดูก
1.การพยาบาลเด็กที่มีอาการชัก
1.1 ชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)
สาเหตุ
พันธุกรรม ชักจากไข้สูงสามารถถ่ายทอดผ่านยีน (genes) ได้ โดยพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่ชักจากไข้สูงมีประวัติครอบครัวเคยชักจากไข้สูงมาก่อน ร้อยละ 20 พบในพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน ร้อยละ 35–69 พบในคู่แฝดแท้(monozygotic twins) และร้อยละ 14–20 พบในคู่แฝดเทียม(dizygotic twins)
2.การติดเชื้อ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อในระบบหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด คอหอยอักเสบ หลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่กระเพาะอาหารและล าไส้อักเสบเฉียบพลัน และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยพบเชื้อไวรัสมากกว่าแบคทีเรียเชื้อไวรัสที่พบบ่อย
การได้รับวัคซีน เด็กที่ได้รับวัคซีนมักจะมีไข้ใน1 –2 วันแรก ซึ่งท าให้ชักจากไข้สูงได้ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า วัคซีนรวม 5 โรค ได้แก่ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (DTaP–IPV–Hib) เป็นสาเหตุที่ท าให้เด็กชักจากไข้สูงได้ 8
ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การคลอดก่อนก าหนด การได้รับยากลุ่ม corticosteroids หลังคลอด มารดามีประวัติสูบบุหรี่และ/หรือดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ การขาดธาตุเหล็กและสังกะสี เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
มีอาการน าก่อนชัก เช่น อุณหภูมิกายสูงกว่า38 องศาเซลเซียสตัวร้อน หน้าแดงมึนงง สับสน กระสับกระส่าย ร้องกวน เป็นต้น
อาการชัก ได้แก่ เกร็งกระตุก ตาเหลือกค้างปากเขียว น้ำลายฟูมปาก หายใจลำบาก และหมดสติ โดยเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่เริ่มมีอาการไข้
ลักษณะอาการชักแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชักจากไข้สูงแบบธรรมดา (simple febrile convulsion) และชักจากไข้สูงแบบซับซ้อน (complex febrile convulsion)
การพยาบาล
ขณะเด็กชัก
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดหันหน้าตะแคงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยส าลักพวกเสมหะน้ ามูก น้ าลาย
2.ให้ออกซิเจนเพราะอาจมีการหยุดหายใจชั่วขณะ
3.ประเมินระดับความรู้สึกตัว วัดสัญญาณชีพ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
4.ขณะที่เด็กชักควรป้องกันการเกิดอุบัติเหตุให้กับเด็ก
หลังจากหยุดชัก
อธิบายการดูแลเด็กเพื่อป้องกันไข้สูง โดยเมื่อเด็กเริ่มตัวอุ่นๆหรือมีไข้ต่ำๆให้รีบเช็ดตัวลดไข้(Tepid sponge ) ด้วยน้ำอุ่นทันที แต่ถ้าไข้สูง (38องศาเซลเซียส) รีบให้ยาลดไข้ แล้วจึงเช็ดตัวลดไข้
2.เมื่ออยู่ที่บ้านเมื่อและมีอาการชัก แนะนำให้เปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยการตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ห้ามนำสิ่งของเข้าไปใส่ในปากเด็ก และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
1.2 โรคลมชักหรือโรคลมบ้าหมู (Epilepsy)
ความหมายโรคลมชัก หมายถึง อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ า ๆ อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไปโดยไม่สัมพันธ์กับการมีไข้
อาการและอาการแสดง
1.Generalized Seizure เกิดจากความผิดปกติของสมองที่ปล่อยกระแสประสาทแพร่กระจายไปทั่วสมองทั้ง 2 ซีก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภาวะรู้สติจนไม่รู้สึกตัว
2.Partial Seizure เกิดจากซีกใดซีกหนึ่งของสมอง ทำให้มีลักษณะการชักเฉพาะที่แล้วอาจแพร่กระจายเป็นการชักทั้งตัวได้
2.Partial Seizure เกิดจากซีกใดซีกหนึ่งของสมอง ทำให้มีลักษณะการชักเฉพาะที่แล้วอาจแพร่กระจายเป็นการชักทั้งตัวได้
สาเหตุ
1.โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic epilepsy) มักจะมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ตรวจคลื่นสมองด้วยไฟฟ้า
2.โรคลมชักที่ทราบสาเหตุ (Organic epilepsy) เป็นผลเนื่องจากสมองได้รับบาดเจ็บหรือเลือดออกเนื่องจากการคลอด หรือสมองถูกท าลายจากสาเหตุต่าง ๆ หลังคลอด
การพยาบาล
ขณะที่เด็กชัก1.1 ต้องทำทางเดินหายในให้โล่งและให้ออกซิเจนเพราะเด็กอาจพร่องออกซิเจนจากทางเดินหายใจมีการอุดกลั้นได้
2.ควรป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแก่เด็กในระหว่างชัก เช่น
2.1ไม่ผูกยึดเด็กอาจทำให้เด็กกระดูกหักได้ 2.2 ระวังเด็กตกเตียง
ทางด้านจิตใจไม่ควรให้เด็กเกิดความกังวล และควรหลีกเลี่ยงการกระตุ้นที่ท าให้เด็กเกิดความกังวล
4.คำแนะนำเมื่ออยู่ที่บ้านสำหรับเด็กโรคลมชัก บิดามารดาและผู้ดูแลเด็ก
4.1 รับประทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอและตรงเวลา
4.2 ส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมตามปกติ แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอันตรายเช่น การขี่จักรยาน 2 ล้อ การว่ายน้ำ การดำน้ำ
4.3หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการชัก เช่น การอดอาหาร การออกกำลังกายมากเกินไป การหยุดยากันชักชักกะทันหัน อาการง่วงนอน การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
4.4 อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงอันตรายของการชัก ความสำคัญในการรักษาอาการชัก และสังเกตอาการของผลข้างเคียงของยา เช่น การมีผื่น อาการง่วงซึม
4.5ในเด็กวัยรุ่นที่รับประทานยากันชักควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เนื่องจากผลของยากันชัก อาจทำให้เด็กที่เกิดมามีความพิการแต่กำเนิดได้ เช่น เพดานโหว่
4.6ไม่ปล่อยเด็กไว้ในอ่างอาบน้ำตามลำพัง หรือเด็กที่อาบน้ำเองได้ควรแนะนำให้อาบน้ำด้วยการใช้ฝักบัวหรือตักน้ำอาบน้ำ
4.7 ควรใส่เสื้อชูชีพทุกครั้งที่นั่งเรือ พายเรือ
4.8 ไม่ควรให้เด็กอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการพลัดตก เช่น ปีนต้นไม้ การเล่นเครื่องเล่นที่ต้องปีนป่ายสูงๆ เพราะอาจเกิดอาการชักขณะเล่นจนตกลงจากที่สูงได้
4.9 ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นหรือยืนข้าง ๆเตาไฟ เครื่องจักรที่กำลังทำงาน หรือสระน้ำ
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะความดันในช่องกะโหลกศีรษะสูง
2.1 ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองหมายถึง ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid : CSF)มากผิดปกติภายในโพรงของกะโหลกศีรษะ (Ventricle)และ subarachnoid space
สาเหตุ
ความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลัง อาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของ arachnoid
การสร้างน้ำไขสันหลังมากผิดปกติ ซึ่งพบน้อยมาก เช่น มีเนื้องอกที่ Choroid plexus (Choroid plexus papilloma) ที่ท าหน้าที่สร้างน้ำไขสันหลัง
การอุดกั้นทางผ่านของน้ำไขสันหลัง โดยอาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น มีการตีบ
อาการและอาการแสดง
1.ศีรษะโต เส้นรอบวงศีรษะเพิ่มมากขึ้นผิดปกติเมื่อเทียบกับขนาดปกติ
2.ในเด็กเล็กที่กระหม่อมหน้ายังไม่ปิดจะคล าพบกระหม่อมหน้าโป่งตึงกว่าปกติ คลำได้รอยประสานของกระดูกกะโหลกศีรษะ หน้าผากกว้าง กระหม่อมไม่ปิดตามวัย
3.หนังศีรษะบางและมองเห็นหลอดเลือดดำบริเวณในหน้าหรือศีรษะชัดเจนและโป่งตึงกว่าปกติ
4.ตาทั้ง 2 ข้างกลอกลงล่าง กลอกขึ้นบนไม่ได้ ทำให้ตาขาวเหรือตาดำมากกว่าปกติ
5.ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน จากการดึงรั้งของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 6 ร่วมกับภาวะจอรับภาพบวม รูม่านตาหดตัวช้าเมื่อถูกแสงสว่าง และมีขนาดไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง
6.อาการแสดงของความดันในกะโหลกศีรษะสูง (signs of increase intracranial pressure) เช่น ปวดศีรษะมาก
2.2 (Head injury)
ความหมายการบาดเจ็บที่เกิดจากแรงที่เข้ามากระทบต่อศีรษะและร่างกายแล้วก่อให้เกิดความบาดเจ็บต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ และ สมอง กับเส้นประสาทสมอง
สาเหตุ
1.อุบัติเหตุจราจร
2.ตกจากที่สูง
3.ถูกทำร้ายร่างกาย
4.ถูกแรงกระแทกอื่นๆ
อาการและอาการแสดง
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย (Mild or minor head injury) GCS=13-15
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลาง (Moderate head injury)GCS = 9-12
การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง (Severe head injury) GCS<8
การพยาบาล
จัดท่านอนศีรษะสูงประมาณ 30 –45 องศา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งมีการระบายอากาศที่ดีหรือให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
สังเกตอาการปวดศีรษะที่รุนแรงเพิ่มขึ้น อาการอาเจียนอ่อนแรงมากกระสับกระส่าย
จัดศีรษะผู้ป่วยให้อยู่ในแนวตรง ไม่เอียงหรือพับงอ
2.3 เนื้องอกสมอง (Brain tumor)
ความหมายเนื้องอกสมอง คือ ภาวะที่เซลล์สมองมีการแบ่งตัวผิดปกติ ทำให้เซลล์สมองมีการเจริญเติบโตเป็นก้อนเนื้องอกในกะโหลกศีรษะ
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดทางพันธุกรรม หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น ได้รับรังสี การที่ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากการโทรศัพท์มือถือ, การได้รับสารเคมีบางชนิดพยาธิสรีรภาพ
อาการและอาการแสดง
อาการจะขึ้นอยู่กับต าแหน่งของการเกิดเนื้องอก ขนาดและอัตราการเจริญเติบโตของเนื้องอกที่กดเบียดเนื้อสมอง อายุผู้ป่วย ความสำคัญของตำแหน่งที่เกิดเนื้องอก โดยทั่วไปเด็กจะมีอาการของความดันในกะโหลก ได้แก่ ปวดศีรษะ คอแข็ง อาเจียนพุ่ง ชักซึม
การรักษา
1.การผ่าตัดเอาเนื้องอกออก
การใช้รังสีรักษา จะท าในรายที่มีเซลล์เนื้องอกหลุดเข้าไปในน้ำไขสันหลัง และแพร่กระจายกระจายไปเกิดเนื้องอกที่ไขสันหลัง แต่จะไม่พิจารณาทำในเด็กอายุน้อยกว่า 2-3 ปี
ยาเคมีบำบัด มักมีข้อจำกัด เพราะยาส่วนมากไม่สามารถผ่าน blood brain barrier ยาที่มักนิยมใช้คือ nitrosoureas, vincristin, methrotrexat
3.การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาติดเชื้อในระบบประสาท
3.1 เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
ความหมายเยื้อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) หมายถึง การติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมองเนื่องจากการมีเชื้อโรคมาเจริญเติบโตแบ่งตัวในบริเวณ Subarachnoid space เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง
อาการและอาการแสดง
1)อาการและอาการแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นในร่างกาย เช่น ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียนหรือท้องเสีย
2)อาการและอาการแสดงว่ามีการระคายเคืองที่เยื่อหุ้มสมอง
3)อาการและอาการแสดงที่บ่งถึงว่ามีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
3.1 ของเหลวคั่งในช่อง Subdural effusion
3.3ความดันในกะโหลกศีรษะสู
3.2 อาการชัก
สาเหตุ
2) การติดเชื้อลุกลามมาถึงโดยตรง โดยมีแหล่งติดเชื้ออยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับSubarachnoid Spaceได้แก่ การอักเสบเรื้อรังของหูชั้นกลางร่วมกับกระดูกมาสตอยด์อักเสบ
3) ได้รับเชื้อโดยตรงจากการปนเปื้อน (Direct contamination)จากมีอุบัติเหตุรุนแรง ท าให้กะโหลกศีรษะหรือกระดูกแตกที่บริเวณฐานของกะโหลกศีรษะ
1) การติดเชื้อผ่านทางกระแสเลือด โดยมีแหล่งเชื้ออยู่ที่ส่วนอื่นของร่างกาย เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร
การพยาบาล
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ให้ถูกหลัก 6R
การพยาบาลผู้ป่วยเจาะหลัง (LP)
3.2 สมองอักเสบ (Encephalitis)
การรักษา
โดยการให้ยาต่าง ๆ เช่น ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาลดอการชัก ถ้าเกิดจากเชื้อวัณโรครักษาเหมือนโรควัณโรคหรือในรายที่เป็นเชื้อไวรัสเริม ให้ยา acyclovir เป็นต้น
การพยาบาล
ดูแลให้ยาลดไข้ โดยการเช็ดตัวและให้ยาลดไข้เพราะถ้าไข้สูงมากอาจทำให้เสียชีวิตตาย
ดูแลให้ยาลดอาการบวมของสมอง เด็กจะมีอาการชัก ม่านตาขยาย และหมดสติ ยาที่ใช้ลดภาวะสมองบวมได้แก่ 20 % mannitol มักใช้ร่วมกับ dexamethasone ให้ทางหลอดเลือดดำ
ดูแลให้ยาระงับอาการชัก เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องให้เพื่อรักษาหรือป้องกันอาการชัก
ดูแลจัดท่านอนให้ทางเดินหายใจให้โล่ง
ระยะพักฟื้น บางรายอาจหายเป็นปกติ บางรายอาจมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่นความประพฤติเปลี่ยนแปลงไป เอะอะ อาจต้องให้ยานอนหลับ บางคนอาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
อาการและอาการแสดง
ไข้ มักสูงได้มาก ๆ ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ คอแข็ง
กระสับกระส่าย อารมณ์ผันแปร เพ้อคลั่ง อาละวาด มีอาการทางจิต
ชัก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Involuntary movement)
ซึมลง จนกระทั่งถึงขั้นโคม่า ภายใน 24 –72 ชั่วโมง
การหายใจไม่สม่ำเสมอ อาจหยุดเป็นช่วงๆ
สมองอักเสบ คือ การอักเสบของเนื้อสมอง บางครั้งการอักเสบของเนื้อสมองอาจมีการอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังเกิดร่วมด้วย
4.การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
4.1สมองพิการ (Cerebral Palsy: CP)
สาเหตุ
ระยะคลอด เป็นสาเหตุของสมองพิการได้ประมาณ 30% เช่น ได้รับอันตรายขณะคลอดสมองขาดออกซิเจน คลอดยาก คลอดนานหรือรกพันคอ
หลังคลอด เป็นสาเหตุของสมองพิการได้ประมาณ 5% เช่น การได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ เส้นเลือดที่สมองผิดปกติ ตัวเหลืองเมื่อแรกเกิด หรือการติดเชื้อที่สมอง
1.ระยะก่อนคลอด เป็นสาเหตุของสมองพิการได้ประมาณ 10% มารดาขาดสารอาหารมารดามีภาวะชัก หรือมารดาได้รับอุบัติเหตุหรือติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
มีพยาธิสภาพที่เส้นทางการส่งกระแสไฟฟ้าจากสมองไปกระดูกสันหลัง
มีพยาธิสภาพที่ Extrapyramidal Tract
2.1 พบมี Dyskinetic เด็กมีอาการยึกยือ ผิดปกติเฉพาะใบหน้า ขากรรไกรและริมฝีปาก ได้แก่ คอเอียงปากเบี้ยว (Athetoid) และ กล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonic)
2.2 พบมี Ataxia พบประมาณร้อยละ 5 พวกนี้มีพยาธิสภาพส่วนใหญ่ที่ซีรีเบลลัม ทำให้เด็กมีลักษณะของความสมดุลในการทรงตัวเสียไป
Cerebral Palsy หมายถึง ความบกพร่องของสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับท่าทาง การทรงตัว การเคลื่อนไหวและการประสานงานขอกล้ามเนื้อ
กิจกรรมการพยาบาล
จัดหาของเล่นที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการเคลื่อนไหว
ช่วยเด็กในการใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น อุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับเด็กที่จำเป็น
กระตุ้นเด็กนั่ง คลาน เดินตามวัยของเด็ก
ดูแลให้เด็กไปท ากายภาพบ าบัดเพื่อป้องกันความพิการอื่นๆ
ประเมินลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ให้ยาคลายกล้ามเนื้อในเด็กที่มีอาการเกร็งแข็งของกล้ามเนื้อตามแผนการรักษาสรุป