Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว (Peplau's Interpersonal…
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว
(Peplau's Interpersonal Relations Theory)
แนวคิดหลักทฤษฎี
จิตพลวัตรทางการพยาบาล Psychodynamic nursing
เป้นความสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย โดยพยาบาลเข้าใจตนเองและผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจปัยหาตนเอง แก้ปัญหาได้ เกิดการพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกัน
บทบาทของพยาบาล
1.Resource Person
ผู้ให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงปัญหาของตน
2.Counselor
ผู้ให้คำปรึกษาโดยรับฟังความคิดเห็น ความรู้สึก และช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
3.Teacher
ผู้ให้ข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องการและเสนอแนะสิ่งที่ผู้ป่วยต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
4.Leader
ผู้ที่กำหนดทิศทางของสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดให้ดำเนินไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
5.Surrogate
เป็นผู้ทดแทนบุคคลอื่นให้ผู้ป่วย
ระยะของสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการ
1. Introduction of Orientation Phase
(ระยะเริ่มต้นสร้างสัมพันธภาพหรือปฐมนิเทศ)
ผู้ป่วยเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของตน
ผู้ป่วย ญาติ และพยาบาลตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับความช่วยเหลือและบริการที่ต้องการจากทีมสุขภาพ (Collaborative process)
ผู้ป่วย ญาติ และพยาบาลวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับความช่วยเหลือและบริการที่ต้องการ
ผู้ป่วย ญาติ และพยาบาลร่วมกันค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย
ประเมินสภาพ (Assessment)
: เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรวบรวมปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ
2. Identification phase (ระยะระบุปัญหา)
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing diagnosis) และการวางแผนการพยาบาล (Planning)
: คือการนำข้อมูลที่ได้มากำหนดและลำดับปัญหาสุขภาพและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล แล้วนำมาวางแผนให้การพยาบาลสอดคล้องกับปัญหา และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
ผู้ป่วยเข้าใจปัญหา ความช่วยเหลือ และบริการที่ต้องการโดยผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อผู้ที่สามารถช่วยเขาแก้ปัญหา ได้ 3 รูปแบบ คือ Interdependence , Independence , Dependence
3. Exploitation phase (ระยะดำเนินการแก้ปัญหา)
ผู้ป่วยเรียนรู้ถึงบริการที่มีอยู่สำหรับเขารวมถึงช่องทางต่างๆที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ผู้ป่วยใช้ประโยชน์จากแหล่งช่วยเหลือและบริการที่มี
การปฎิบัติการพยาบาล (Implementation)
: พยาบาลและผู้รับบริการต่างเคารพซึ่งกันและกันในความเป็นปัจเจกบุคคลและทั้งสองฝ่ายต่างเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันและร่วมมือกัน
พยาบาลช่วยผู้ป่วยให้สามารถพึ่งตนเองในการปฏิบัติให้ถึงเป้าหมายค่อยๆลดการใช้ประโยชน์จากแหล่งช่วยเหลือลง
4. Resolution phase (ระยะสรุปผล)
ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยได้รับการตอบสนองผ่าน Collaborative efforts ของผู้ป่วยและพยาบาล
ผู้ป่วยและพยาบาลเกิดการพัฒนาและเติบโตขึ้น
การประเมินผล (Evaluation)
: ประเมินผลและรับทราบผลของการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล
ผู้ป่วยและพยาบาลยุติสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การบำบัดรักษา บทบาทของพยาบาล
สัมพันธภาพนี้เป็นทั้งเครื่องมือและการบำบัด
พยาบาลใช้สัมพันธภาพในการติดต่อ ค้นหา และทำความเข้าใจผู้รับบริการ
ทฤษฎีการพยาบาลของเพลบพลาว ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพรพหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ
การบำบัดพยาบาลใช้สัมพันธภาพทำให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจตนเอง ยอมรับ ตนเองและนำศักยภาพออกมาใช้ในการดูแลตนเอง
ส่งเสริมให้พยาบาลและผู้รับบริการตระหนักถึงความสามารถและคุณค่าของตนเอง
เป็นแนวคิดที่จะช่วยให้ระบบการพยาบาลเป็นระบบของการตอบสนองแบบสองทาง
ทำให้เกิดความร่วมมือและทัศนคติที่ดีต่อบริการทางสุขภาพ
ความเชื่อเบื้องต้น เชื่อว่า บุคคล ประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน เมื่อมีภาวะคุกคามทางจิตใจ จะส่งผลต่อสัมพัธภาพที่มีต่อบุคคลอื่น
การอธิบายสาเหตุของพฤติกรรมที่ผิดปกติ
หากบุคคลสามารถประกอบกิจกรรมหลักในแต่ละช่วงพัฒนาการได้สำเร็จ ศักยภาพทางกายก็จะถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ มีการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นอย่างเหมาะสม นำไปสู่
ชีวิตที่มีคุณค่าและมีความหมาย
หากกิจกรรมหลักในช่วงวัยใดไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม ก็จะติดไปถึงวัยผู้ใหญ่ซึ่งจะเป็ นอุปสรรคต่อการปรับตัวของบุคคล ทำให้บุคคลเกิดปัญหาในการเข้าใจตนเองและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ประวัติและการพัฒนาทฤษฎี
พัฒนาการของทฤษฏี
การพัฒนาทฤษฎี ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่าง บุคคลของแฮรี่ สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan) มาอธิบายในการสังกตการกระทำของการ พยาบาล เพื่อให้พยาบาลเข้าใจและเห็น คุณค่าของการกระทำของมนุษย์ (Peplau, 1952)
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพบพลาว (Peplau's Theory of Interpersonal
Relations) พัฒนาขึ้นโดยฮิลด์การ์ด เพบพลาว (Hildegard E. Peplau)
สรุป
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของเพลบพลาว ได้กล่าวถึงระยะสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยประกอบด้วยระยะเริ่มต้น ระยะดำเนินการ และระยาสรุปผล วึ่งก่อให้เกิดเคารพความแตกต่างของแต่ละบุคคล และนำไปสู่ความช่วยเหลือบุคคลที่เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีความต้องการในการดุแลสุขภาพ