Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 หลักการพื้นฐาน ลักษณะ และขอบเขตของการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต -…
บทที่ 1 หลักการพื้นฐาน ลักษณะ และขอบเขตของการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตสากล
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติโรคทั้งหลายรวมถึงโรคจิตเกิดจากวิญญาณของภูตผีปีศาจเข้ามาสิงสู่หรือโรคจิตเกิดจากการกระทำในสิ่งต้องห้าม (Taboo) ทำผิดบาป หรือไม่ทาตามกฎศาสนา การดูแลผู้ป่วยในยุคนั้นจะเป็นการลงโทษ เฆี่ยนตีขับไล่วิญญาณหรือสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปโดยใช้วิธีการที่เร้นลับหรือปฏิบัติตามพิธีกรรม
ยุคกรีกและโรมัน
Plato
นักปราชญ์ชาวกรีก มีความเชื่อว่าร่างกายและจิตใจแยกจากกันไม่ได้เมื่อเกิดการเจ็บป่วยจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน
Aristotle
นักปราชญ์และแพทย์ชาวกรีก มีความคิดเห็นว่าปฏิกิริยาทางจิตนั้นเป็นการแสดงออกของคนทั้งคน ไม่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งมุ่งเน้นการดูแลที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic care)
Hippocrates
แพทย์ชาวกรีกซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทย์” เป็นคนแรกที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยทางจิตไม่ได้เกิดจากภูตผีปีศาจ แต่เชื่อว่าพฤติกรรมที่ผิดปกติมาจากความผิดปกติของการทำหน้าที่ของอวัยวะในระบบต่างๆ การขาดสมดุลของของเหลวในร่างกาย
ยุคกลาง
ยุคนี้คนกลับไปมีความเชื่อเดิมว่าโรคจิตเกิดจากภูตผีหรืออำนาจแม่มด เชื่อเวทย์มนต์คาถาลางสังหรณ์บูชาพระเจ้า ผี เป็นต้น การรักษาเชื่อว่าวิญญาณนักบุญจะช่วยให้หายได้การดูแลผู้ป่วยโดยการกักขัง เฆี่ยน ทุบตีไม่ให้อาหารกินต่อมาในปลายยุคกลาง วิวัฒนาการทางจิตเวชศาสตร์ดีขึ้นมีการสร้างสถานดูแลผู้ป่วยโรคจิต เรียกว่า“อะไซลัม” (Asylum) และต่อมาได้มีการสร้างโรงพยาบาลโรคจิตขึ้น โดยทำบรรยากาศที่สงบ การรักษาด้วยยา เครื่องหอม อาหาร และดนตรี
ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตเวชศาสตร์
ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ถึงศตวรรษที่ 20 เป็นยุคที่มีการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ผู้ป่วยจิตเวชได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคที่เริ่มใช้เหตุผลสติปัญญา การคิดรู้มาอธิบาย ในยุคนี้มีบุคคลและเหตุการณ์สำคัญ และนักทฤษฎีจิตเวชเกิดขึ้นอย่างมากในยุคนี้ เช่น ฟิลิป พิเนล (Phillippe Pinel) ,คลิฟฟอร์ด เบียร์ส (Clifford Beers) ,ซิกมันด์ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ,แฮรี่ สแตก ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan)
ยุคฟื้นฟู
ยุคนี้มีการมองสาเหตุของการเจ็บป่วยทางจิตโดยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น การดูแลผู้ป่วยใช้เจตคติที่ดีแสดงออกด้วยความมีเมตตากรุณา เข้าใจผู้ป่วย แต่ก็ยังมีความเชื่อว่าเกิดจากการกระทาของภูตผีปีศาจอยู่บ้าง การดูแลยังใช้วิธีการกักขังและล่ามโซ่เพื่อป้องกันผู้ป่วยทำร้ายผู้อื่น
วิวัฒนาการของจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตในประเทศไทย
อดีตคนไทยมีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากไสยศาสตร์เทวดา ผีสางนางไม้เป็นเหตุให้เจ็บป่วย ใช้
การเฆี่ยนตีเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีหรือชั่วร้ายออกจากผู้ป่วย การดูแลใช้การกักขัง การล่ามโซ่ หรือทารุณ
พ.ศ. 2432 งานสุขภาพจิตและจิตเวชของประเทศไทย เริ่มขึ้นโดยพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้จัดตั้ง “โรงพยาบาลคนเสียจริต” ขึ้นที่ปากคลองสาน ปัจจุบัน คือ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา(หลังคาแดง) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทย
แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิต
สุขภาพจิต (Mental health) ตามพจนานุกรมการสาธารณสุขไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2559 หมายถึง สภาพที่ดีของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์มิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งภายในจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุขหรือสภาพชีวิตที่เป็นสุข
“จิตเวช” เป็นการกล่าวถึงปัญหาทางสุขภาพจิต หรือปัญหาของบุคคลที่แสดงออกทางความคิด อารมณ์หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติจนกระทั่งมีการเจ็บป่วยทางจิต (Mental illness or Mental disorder) สุขภาพจิตและจิตเวชจึงเป็นสภาวะทางจิตใจของบุคคลที่เริ่มตั้งแต่สภาวะปกติไปจนถึงการเจ็บป่วยทางจิต “สุขภาพจิต” และ “จิตเวช” (mental Health and Mental illness) จึงเป็นคาที่มักใช้ร่วมกัน
องค์ประกอบของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี/ผิดปกติและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิต
สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้ตามหลักพฤติกรรมศาสตร์
ปัจจัยทางสังคมนับว่ามีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของบุคคลมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีผลโดยตรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และความต้องการต่างๆ ของบุคคล เช่น การศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ศาสนาความเชื่อ การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ ภัยสงครามและภัยธรรมชาติ และมลภาวะสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ชีวภาพ
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
กายวิภาค สรีรวิทยาสมอง
พยาธิสภาพของสมอง
ชีวเคมีของร่างกายและสมอง
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
มักจะเน้นถึงการอบรมเลี้ยงดูวิธีต่างๆ ภายในครอบครัว เนื่องจากการอบรมเลี้ยงดูโดยวิธีที่สามารถทำให้บุคคลสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัวได้ ย่อมมีผลทำให้สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ดีด้วย ปัจจัยทางด้านจิตใจจึงประกอบด้วย การอบรมเลี้ยงดูโดยวิธีต่างๆ ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวของบุคคล
แนวคิดการสาเหตุเจ็บป่วยทางจิต
Case formulation
การเกิดโรคทางจิตเวช 4 ปัจจัย (4 P’s)
Predisposing factors คือ ปัจจัยเสี่ยงที่มีมาก่อนป่วย
Precipitating factors คือ ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ
Perpetuating factors คือ ปัจจัยที่เสริมให้อาการไม่หาย
Protective factors คือ ปัจจัยปกป้องให้บุคคลปรับตัว อย่างเหมาะสม
Stress diathesis model
Stress = ความกดดัน
Diathesis = ความเสี่ยงในการเกิดโรค ความอ่อนแอของตัวบุคคล ซึ่งเชื่อว่าผู้ป่วยนั้นมีแนวโน้มหรือจุดอ่อนบางอย่างอยู่แล้ว เมื่อพบกับสภาพกดดันบางประการทำให้เกิดอาการของโรค
หลักการพื้นฐานของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชคุณลักษณะของพยาบาลจิตเวช
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นงานที่เกี่ยวกับความคิดและอารมณ์ของผู้ป่วย เป็นงานที่ต้องใช้การสังเกต คำพูด ท่าทีและความสามารถในการติดต่อสร้างสัมพันธภาพพยาบาลจิตเวชจึงต้องมีคุณลักษณะซึ่งประกอบด้วยบุคลิกลักษณะประจำตัว มีความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลทั้งปกติและผิดปกติรวมทั้งทักษะอื่นๆ