Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 หลักการพื้นฐาน ลักษณะและขอบเขตของการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต -…
บทที่ 1 หลักการพื้นฐาน ลักษณะและขอบเขตของการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต
วิวัฒนาการของการพยาบาล
สุขภาพจิตและจิตเวช
สากล
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เชื่อว่าโรคจิตเกิดจากวิญญาณมาสิงสู่หรือเกิดจากการกระทำต้องห้าม จะดูแลด้วยการเฆี่ยนตี
ยุคกรีกโรมัน มีความเชื่อคล้ายยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสติปัญญาความคิดของบุคคล
Hippocrates ได้รับยกย่องเป็น บิดาแห่งการแพทย์ เป็นคนแรกที่เชื่อว่าพฤติกรรมผิดปกติเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย
Plato เชื่อว่าร่างกายและจิตใจแยกกันไม่ได้ ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจเกิดจากการรู้สึกผิดชอบชั่วดี ดูแลโดยญาติ และทำกิจกรรม
Aristotle มุ่งเน้นการดูแลที่ครอบคลุม เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม
ยุคกลาง ยุคนี้กลับไปเชื่อตามเดิมว่าโรงทางจิตเกิดจากภูติผีหรืออำนาจแม่มด เชื่อว่านักบุญช่วยให้หายได้ ดูแลแบบทารุณ ในปลายยุคกลางมีการสร้างสถานดูแลโรคจิต
ยุคฟื้นฟู เริ่มมองหาสาเหตุของการเจ็บป่วยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีการเชื่อมเรื่องภูติผีปีศาจบ้าง ดูแลโดยกักขังล่ามโซ่ป้องกันทำร้ายผู้อื่น
ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตเวชศาสตร์ เป็นยุคที่มีการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์พิจารณา เริ่มใช้เหตุผลสติปัญญา ในยุคนี้มีบุคคลและเหตุการณ์สำคัญและนักทฤษฎีอย่างมาก
เช่น ฟิลิป พิเนล แพทย์ชาวฝรั่งเคสผู้ปลดโซ่ตรวน คือเปลี่ยนการดูแลแบบการกักขังล่ามโซ่ , คลิฟฟอร์ด เบียร์ส อดีตผู้ป่วยจิตเวชที่เขียนหนังสือ จิตซึ่งค้นพบตัวเอง
ประเทศไทย
ในอดีตมีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากไสยศาสตร์ ผีสางนางไม้ ดูแลแบบทารุณ
พ.ศ.2432 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดจัดตั้ง โรงพยาบาลคนเสียจริต ซึงเป็นโรงพยาบาลแห่งแรก มีบุคคลสำคัญ คือ ศจ.นพ.ฝน แสงสิงแก้ว ได้รับยกย่องเป็น บิดาของวงการสุขภาพจิตและจิตเวชของประเทศไทย มีบทบาทสำคัญคือ ส่งพยาบาลไปศึกษาการพยาบาลจิตเวช คือ นางจันทร์ปรุง รัตนากร เป็นพยาบาลจิตเวชครแรกและเป็นอาจารย์พยาบาลจิตเวชคนแรกของประเทศไทย
แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพจิต
สุขภาพจิต (Mental health) ตามพจนานุกรมการสาธารณสุขไทย หมายถึง สภาพที่ดีของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ ปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้
จิตเวช เป็นการกล่าวปัญหาทางสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่แสดงออกมาทางความคิด อารมณ์หรือพฤติกรรมจนมีการเจ็บป่วยเป้นสภาวะทางจิตใจของบุคคลตั้งแต่ปกติถึงการเจ็บป่วย
องค์ประกอบของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี/ผิดปกติ และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิต
ชีวภาพ
1.การถ่ายทอดทางพันธุกรรม บุตรที่มีพ่อแม่เป็นโรคจิตเภทเสี่ยงเป็นโรคจิตเภทมากกว่าบุตรที่พ่อแม่ปกติ
2.กายวิภาค สรีรวิทยาทางสมอง
3.พยาธิสภาพของสมอง
4.ชีวเคมีของร่างกายและสมอง นักวิจัยหลายท่าน เชื่อว่าโรคจิตเภทเกิดจากความผิดปกติทางสมอง
2.ปัจจัยทางด้านจิตใจ มักเน้นการอบรมเลี้ยงดู เนื่องจากการอบรมเลี้ยงดูส่งผลต่อการสร้างสัมพันธภาพ หากสัมพันธภาพในครอบครัวดี การสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นก็จะดีด้วย
3.สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้ตามหลักพฤติกรรมศาสตร์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และความต้องการ เช่น การศึกษา
แนวคิดสาเหตุการเจ็บป่วย
1.Stress diathesis model คือ ในสถานการณ์ที่มีความกดดันเท่ากัน แต่มีปัจจัยที่ส่งผลต่างกัน คนที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าก็เสี่ยงต่ออาการทางจิตมากกว่า
2.Case formulation
Predisposing factors ปัจจัยเสี่ยงที่มีมาก่อนป่วย
Precipitating factors ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ (ตัวกระตุ้นให้เกิดอาการเร็วขึ้น)
Perpetuating factors ปัจจัยเสริมให้อาการไม่หาย
Protective factors ปัจจัยปกป้องให้บุคคลปรับตัว (อาการจะหายเร็วหรือช้าขึ้นอยูกับปัจจัยนี้)
หลักการพื้นฐานของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชคุณลักษณะของพยาบาลจิตเวช
คุณลักษณะของพยาบาลจิตเวช
1.ตระหนักรู้หรือมีสติ
2.มีความรู้ เข้าใจทฤษฎีทางจิตเวช
3.ยอมรับพฤติกรรมผู้ป่วย
4.ความสม่ำเสมอ
5.ความจริงใจ
6.ความเป็นอิสระและเชื่อมั่นในตนเอง
7.ความอดทน
8.ความไว้วางใจ
9.เผชิญและปรับตัวกับปัญหาได้ดี
10.ควบคุมอารมณ์ได้ดี
11.รับรู้ความรู้สึกไว
มีความยืดหยุ่น
13.คิดสร้างสรรค์ มีเหตุผล
14.มีใจพร้อมช่วยเหลือ