Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาของตา หู คอ จมูก ปาก - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาของตา หู คอ จมูก ปาก
ตา
เลือดออกในช่องหน้าลูกตา (Hypema)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
: เลือดออกในช่องม่านตา มักเกิดจากแรงกระแทกบริเวณตาโดยตรง
ประเมินภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ : ตามัว ปวดตา
ตรวจร่างกาย : มีเลือดออกในช่องม่านตา
การรักษา
: นอนพักแบบ absolute bed rest ศีรษะสูง30 องศา ปิด eye shield ครอบตาไม่ปิดeyepad
การใช้ยา
:ให้ 1% Atropine หยอดตา 3-4 ครังต่อวัน ถ้าความดันลูกตาสูง 20 มิลลิเมตรปรอท ให้ 0.5% Timolo1 2 เวลาต่อวัน ลดการสร้างน้ําในลูกตา
ปัญหาและการพยาบาล
: ปวดตาเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ = ดูแลให้ยาลดความดันลูกตา
ต้อเนื้อ (Pterygium)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
: เยื่อบุตาเสื่อม กลายเป็นเนื้อสีแดงรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าสู่ตาดํา เกิดจากแสงอัลตราไวโอเลต สิ่งระคายเคืองตา เช่น ลม ฝุ่น พบมากในกรรมกร เกษตรกร
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
: ให้ประวัติตามัว ปวดตา พบเนื้อสีแดงรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าลูกตา
การรักษา
: ผ่าตัด กรณีมองเห็นลดลง
การใช้ยา
: ยาหยอดและยาป้าย
ปัญหาและการพยาบาล
: เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากตามัว = สวมแว่นตาป้องกันแสงแดด ฝุ่นละออง
ต้อกระจก (Cataract)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ต้อหิน ม่านตาอักเสบเรื้อรัง หลังผ่าตัดตา
ยาบางชนิดและแสงแดดจัด ๆ
ตั้งแต่กำเนิด จากมารดาเป็นหัดเยอรมัน ใน6สัปดาห์ของการตั้งครรภ์อุบัติเหตุ
เสื่อมสภาพตามอายุ
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกาย : เลนส์ตาขุ่น องเห็นลดลง
ตรวจพิเศษ : ประเมินการทำงานของประสาทตาด้วยเลเซอร์
ซักประวัติ : ตามัวมากขึ้นตอนกลางวันหรือที่แสงสว่างมาก กลางคืนมองเห็นชัดขึ้น เห็นแสงไฟเป้นสีรุ้งกระจายรอบดวงไฟ
การรักษา
ผ่าตัดเอาต้อกระจกออกแล้วฝั่งเลนส์แก้วตาตาเทียมในลูกตา
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
เลือดออกในช่องตา
เกิดต้อกระจกซ้ำ
จอประสาทตาหหลุดลอก
ติดเชื้อในลูกตา
ปัญหาและการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในช่องหน้าตาจากการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดที่ไม่ถูกต้อง : ไม่สะบัดหน้าแรงๆ ถ้าไอให้หายใจเข้าลึกๆ อ้าปากกว้าง
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในลูกตาเนื่องจากปฏิบัติตัวไม่ถูกตัว : นอนหยายให้ผู้อื่นสระ แนะนำเรื่องการเช็ดตาอย่างสะอาด
วิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติ : ให้ข้อมูลการเตรียมตัว เลี่ยงการนอนตะแคงด้านผ่าตัด
ต้อหิน (Glaucoma)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
: เส้นประสาทกดทับจากการคั่งของน้ำภายในลูกตา ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เส้นใยประสาทตาถูกทำลาย ทำให้สูญเสียการมองเห็น ตาบอด
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
: ปวดตามาก ตาแดง ลานสายตาแคบ ตามัวอย่างรวดเร็ว มองเห็นสี้งรอบดวงไฟตอนกลางคืน ปวดหัว คลื่นไส้ ตรวจร่างกายพบ กระจกตาขุ่นมัว รูม่านตาขยาย ความดันลูกตาสูง จอประสาทตาถูกทำลาย
การรักษา
ลดความดันลูกตา ลดการสร้างน้ำในลูกตาและระบายน้ำออกจากลูกตา
รักษาด้วยเลเซอร์ (Trabeculoplasty) โดยทำทางระบายน้ำให้ใหม่ ทำรูเปิด ของม่านตาเพื่อเปิดทางระบายที่อุดตัน
ผ่าตัดลดการสร้าง aqueous humor
การใช้ยา
: ให้ยาลดความดันลูกตา
ปัญหาและการพยาบาล
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บจอประสาทตาเนื่องจากความดดันลูกตาสูง : ให้ยาลดความดัน หรือเพิ่มการระบายของน้ำออกจากลูกตา
สี่ยงต่อภาวะช่องม่านตาตื้นภายหลังผ่าตัด : ปิดตาข้างที่่ผ่าตัดแบบ moderate pressure
กระจกตาอักเสบ (Keratitis)
สาเหตุ
: แบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส เชื้อTreponemapallidum โรคหลอดเลือด ขาดวิตามินเอ โรคประสาทสมองคู่ที่5 ตาแห้ง
พยาธิสรีรภาพ
: บริเวณที่อักเสบบวม มีหนอง เนื้อเื่อกระจกตาตายและหลุดเป็นแผลกระจกตา
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : วัดสายตา ตรวจตาด้วยไฟฉายหรือslit lamp ดูการอักเสบลุกลามไปยังกระจกตา และมีหนองที่ช่องม่านตาหรือไม่
ใช้ fluorescein 2% หยดลงในช่องระหว่างเปลือกตาล่างด้านในกับเยื่อบุตาขาว ถ้ามีการถลอกหรือแผลที่กระจกตาจะติดสีเขียว
ซักประวัติ : ปวดตา น้ําตาไหล
การรักษา
กําจัดสาเหตุ เช่น ผงติดกระจกตาถุงน้ํําตาอักเสบ
จี้ขอบแผลไม่ให้ลุกลาม
ใช้เยื่อบุตาเทียม กรณีแผลลึก กว้าง
คลุมหรือเย็บเปลือกตา กรณีกระจกตาทะลุและม่านตาอุดปาก
หากเกิดแผลเป็นของกระจกตาทึบมาก จะผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
ถ้าการอักเสบลุกลามจะผ่าตัดควักลูกตาออก
การใช้ยา
อักเสบรุนแรง แผลลึก หรือม่านตาอักเสบต้องหยอดยาขยายม่านตา
แผลเกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา ให้หยอดยาต้านเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา
หยอดตาด้วยยา chloramphenicol, neomycin, polymycin หรือ sulphacetamide ทุก 1-2 ชั่วโมง
ใช้ยาสเตียรอยด์หยอดตา กรณีไวต่อสารหรือการอักเสบจากการแพ้
คอ
มะเร็งในช่องปาก
ประเมินภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย: ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต พบก้อนเนื้อที่อวัยวะในช่องปากและมีเลือดออกที่ก้อนเนื้อ
ตรวจพิเศษ : ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
ซักประวัติ: มีแผลเรื้อรังหรือมีก้อนที่อวัยวะในช่องปาก ปวด ชา เจ็บกราม กลืนลำบาก อ่อนเพลีย
การรักษา
: ผ่าตัด , รังสีรักษา , เคมีบำบัด , จี้ด้วยความเย็นจัด
สาเหตุและพญาธิสภาพ
: พบได้ทุกบริเวณของช่องปาก สาเหตุจากการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์และการระคายเคือง
ปัญหาและการพยาบาล
แผล flap อาจหายช้าเนื่องจากขาดเลือดมาเลี้ยง : สังเกตลักษณะของแผล flap ทุก 2 ชม. หลังผ่าตัด เป็นเวลา 2-3 วัน และต่อมาทุ 4 ชม. ดูแลไม่ให้มีการกดทับแผล flap โดยให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 15-45 องศา ลดบวมบริเวณคอและใบหน้ ไม่นอนทับข้างที่มีแผล ดูดน้ำลาย เลือด น้ำเหลือ ภายในช่องปากออกบ่อยๆ
ปวดเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการผ่าตัด : ให้ยาแก้ปวด ดูแลไม่ให้ท่อระบายให้มีการระบายปกติ ดูดน้ำลายด้วยแรงดันต่ำๆ
ขาดสารอาหารเนื่องจากกลืนลำบาก/งดสารอาหารและน้ำทางปากหลังผ่าตัด : จัดหาอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น อาหารอ่อน ระมัดระวังการให้อาหารที่มากหรือเร็วเกิน อาจเกิดภาวะ dumping syndrome
ขาดความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองก่อนและหลังผ่าตัด และขณะได้รับรังสีรักษา : อธิบายเกี่ยวกับโรค การรักษา การผ่าตัด ลักษณะแผล
มะเร็งกล่องเสียง
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
: สาเหตุจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร่วมกับการสูบบุหรี่ สัมผัสฝุ่นละอองหรือสารเคมีที่ระคายเคืองต่อเยื่อบุกล่องเสียง ฝุ่นละออง หรือจากการอักเสบบ่อยๆ เมื่อกล่องเสียงระคายเคืองมีผลให้เสียงแหบ เมื่อก้อนมะเร็งใหญ่ขึ้นจะทำให้กลืนลำบาก มีกลิ่นปาก หายใจลำบาก
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ: สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ มีอาชีพที่สัมผัสกับสิ่งระคายเคืองกล่องเสียง ใช้เสียงบ่อย กล่องเสียงอักเสบบ่อยเจ็บคอ แน่นในคอ กลืนลำบาก เสียงแหบ น้ำหนักลด
ตรวจร่างกาย: ต่อมน้ำเหลืองโต ต่อมชัยรอยด์ตึงโป้ง กดเจ็บบริเวณกล่องเสียง คลำบริเวณโคนลิ้นได้ก้อนแข็ง
ปัญหาและการพยาบาล
การหายใจอาจไม่มีประสิทธิภาพจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ : ตรวจสอบระดับความรู้สึก ประเมินความสามารถในการหายใจทางท่อเจาะคอ ดูดเสมหะ ใน48 ชั่วโมงแรก จัดท่านอนศีรษะสูง 30-40 องศา กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างถูกวิธี
เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังผ่าตัด : ประเมินการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด สังเกตลักษณะของเลือดและจำนวนเลือดที่ออกจากแผล
วิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด : อธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัด เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามข้อสงสัย
แผลหายช้าเนื่องจากการติดเชื้อของแผลผ่าตัด : เปลี่ยนก๊อซปิดแผลตามความจำเป็น ให้ผู้ป่วยกลั้วปากและคอด้วยน้ำยาบ้วนปากบ่อยๆ เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อ
มีภาพลักษณ์ในทางลบเนื่องจากไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ถึงความต้องการของตนเองได้ : ให้การช่วยเหลือและให้กำลังใจ หาวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมให้ผู้ป่วย เช่น การเขียน การใช้ท่าทาง
ไม่สามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติจากการสูญเสียภาพลักษณ์ : ให้คำแนะนำในการดูแลท่อเจาะคอ
จมูก
ผนังกั้นจมูกคด (Deviated Nasal Septum)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
จมูกถูกกดกับกระดูกเชิงกรานมารดาตอนคลอด
มีการแตกหักของจมูก จนทำให้กระดูกคดงอผิดรูป
กระแทกจากอุบัติเหตุบริเวณจมูก
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ: แน่น คัดจมูก หายใจไม่สะดวก นอนกรน ปวดศีรษะ มีน้ำหนองไหลและเวียนศีรษะร่วมด้วย
การรักษา
: ผ่าตัด Septoplasty หรือ Sub Mucous Resection (SMR)
การใช้ยา
: ให้ยาลดอาการกัดแน่นจมูก ยาแก้ปวด SEPTOPLASTY
ปัญหาและการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะ hypovolemic shock
ใช้เครื่องพ่นความชื้น
ห้ามแคะจมูกหรือสั่งน้ำมูกแรงๆ
ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดและห้ามเลือด ใส่สำลีหรือ packing กดห้ามเลือดไว้อย่างน้อย 10 นาที
ริดสีดวงจมูก (Nasal polyp)
สาเหตุและสรีรภาพ
การอักเสบเรื้อรัง
ภูมิแพ้หรือได้รับการระคายเคืองเป็นเวลานานๆ
มีเนื้องอกของเยื่อบุจมูกและโพรงอากาศข้างจมูก
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ: คัน จาม กัดจมูก น้ำมูกไหล กัดแน่นจมูก ไอ ระคายคอหายใจทางปาก สูญเสียการรับกลิ่นรับรส
ตรวจร่างกาย: พบก้อนสีขาว เทา หรือเหลือง ผิวเรียบเป็นมัน อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้าง มีขั้วออกจากผนังด้านข้างของโพรงจมูก
การรักษา
: ผ่าตัด Nasal Polypectomy
การใช้ยา
ให้ยา prednisolone หลังผ่าตัด 1-2 สัปดาห์ นาน 5-7 วัน
ให้ยากลุ่ม steroid พ่นจมูกนาน 3 เดือน
ปัญหาและการพยาบาล
กิดความไม่สุขสบายจากความเจ็บปวดในการผ่าตัดช่องจมูก : ให้ได้รับยาแก้ปวด หลีกเลี่ยงยา Aspirin หรือกลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ steroid
เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการมีของเหลวค้างในช่องจมูก : สังเกตการมี discharge ไหลออกมามากขึ้น สี กลิ่นผิดปกติ แผลบวม ปวดแผล
เกิดภาวะการหายใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ : v/s ทุก 4 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำบ่อยๆ และกลั้วคอด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ
การมองเห็นเปลี่ยนไปเนื่องจากการผ่าตัดบริเวณจมูก : สังเกตความผิดปกติของการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อนตาบวมแดง สู้แสงไม่ได้ จาการผ่าตัดทำให้กระทบกระเทือน Optic nerve
เสี่ยงต่อภาวะการพร่องของสารน้ำและสารอาหารและการเสียเลือดออกทางช่องจมูก : v/s ทุก 4 ชั่วโมง ถ้าแรงดันโลหิตลดลงและอัตราชีพจร เพิ่มขึ้นแสดงถึงภาวะสูญเสียเลือด ตรวจสอบ hemoglobin และ hematocrit เพื่อประเมินภาวะสูญเสียเลือด
มะเร็งในช่องจมูกและไซนัส
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
: ได้รับสารที่ระคายเคือง พบในคนทำงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีฝุ่นละอองและสิ่งระคายเคือง
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : ตรวจตาพบลูกตาถูกดันออกมาและเห็นภาพซ้อน
ตรวจพิเศษ : CT scan
ซักประวัติ: คัดจมูกข้างที่เป็น มีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ หรือมีหนองไหล ฟันโยกหลุด ปวดฟันมาก แก้มบวมมากแก้มและฟันบนชา อ้าปากไม่ขึ้น ขากรรไกรแข็ง รับประทานอาหารไม่ได้
การรักษา
ผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา โดยการตัด maxillarv sinus
ควักลูกตาออก
ปัญหาและการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะการพร่องของสารน้ำและสารอาหาร : ตรวจการมีเลือดออกจากช่องจมูก ดูเลือดซึมที่แผล การมีเลือดไหลลงคอ ให้ยาป้องกันการอาเจียน ไม่ควรไอ จามแรงๆ หรือไอ จามแบบเปิดปาก เลี่ยงการออกกำลังกาย ยกของหนัก งดใช้ฟันปลอม
เกิดภาวะการหายใจที่ไม่มีประสิทธิภาพ : จัดท่านอนศีรษะสูง 40-45 องศา หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง และประคบร้อน
เกิดความไม่สุขสบายจากความเจ็บปวดในการผ่าตัดช่องจมูก : ประคบเย็นบริเวณจมูกภายใน 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการมีของเหลวค้างในช่องจมูก : ให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ
หู
หูชั้นนอกอักเสบ (External Otitis)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
: เกิดจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย การแคะหู และมักเกิดซ้ำๆในคนเป็นเบาหวาน เริ่มจากมีตุ่มแดง ต่อมาเป็นตุ่มหนองซึ่งจะแตกและมีหนองไหลออกมา
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : ช่องหูบวมแดง อาจบวมจนไม่เห็นเยื่อแก้วหู มีน้ำหรือหนองไหล ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต
ตรวจทาง้องปฏิบัติการ : ผล CBC มีภาวะติดเชื่อ ผล fasting blood sugar อาจพบนำตาลในเลือดสูง
ซักประวัติ : เจ็บหู หูอื้อ มีหนองไหลจากหู มีไข้ ปวดมากเมื่อขยับขากรรไกร
การรักษา
: ผ่าระบายหนองออก
การใช้ยา
: สำลีเช็ดทำความสะอาดหู หยอดยาและให้ยาปฏิชีวนะ
ปัญหาและการพยาบาล
บกพร่องในการได้ยิน :ใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดหู หยอดหูด้วยยาปฏิชีวนะ แนะนำให้ทานยาให้ครบ
ขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของหู : ไม่แคะหรือปั่นหู
ปวดหู : ให้ยาแก้ปวด
หูน้ำหนวก (Otitis media)
การรักษา
: ผ่าตัดเยื่อแก้วหู (Myringotomy)
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : เยื่อแก้วหูบวม แดง กดเจ็บบริเวณรอบหู มีหนองในหูชั้นกลาง บางรายมีเยื่อแก้วหูทะลุ ใบหน้าอัมพาต
ตรวจพิเศษ : ภาพรังสี พบเงาทึบของน้ำในช่องหู การได้ยินเสียไปแบบการนำเสียงเสีย conductive hearing looss
ซักประวัติ : ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนบ่อย หูอื้อ หนองไหลออกจากหู เป็นๆหายๆ มีเสียงในหู ปวดหู มีไข้ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน
การใช้ยา
การอักเสบของหูชั้นกลางบ่อยๆ จะได้รับยาชนิดรับประทาน เช่น amoxicillin, ampicillin, erythromycin, sulfonamide ยาฆ่าเชื้อชนิดหยอดหู
ให้ยาแก้ปวด ในรายที่ปวดหูมาก
การอักเสบของหูชั้นกลางจากโรคภูมิแพ้ ได้รับยา antihistamine และ decongestant ยาลดไข้ ยา steroid
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
มักพบในเด็ก ทำให้เกิดการอักเสบของหูชั้นกลาง
การติดเชื้อทางเดินหานใจส่วนต้น ทำให้เยื่อบุ Eustachian tube บวม หรือความดันในช่องหูเปลี่ยนแปลง
การอุดตันของ Eustachian tube เช่น เนื้องอก มะเร็งช่องคอโพรงจมูก
ปัญหาและการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดไม่ถูกต้อง : แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว และให้เคี้ยวด้านตรงข้ามกับด้านที่ผ่าตัดเคี้ยวด้านตรงข้ามกับด้านที่ผ่าตัด
วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด : แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อการผ่าตัด
เกิดการติดเชื้อของหูชั้นกลางซ้ำอีก : ระวังไม่ให้น้ำเข้าหู ห้ามแคะหู เมื่อมีน้ำหรือหนองไหลออกมาให้ใช้ลำลี สะอาดเช็ดล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนที่จะเช็รักษาความสะอาดปาก
เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุจากการทรงตัวไม่ดี : แนะนำให้ผู้ป่วยนอนพัก ระวังการเกิดอุบัติเหตุเมื่อลุกนั่งหรือเดิน
ปวดหูจากการที่มีของเหลวค้างอยู่ในหูชันกลาง : ให้ยาระงับอาการปวด
ขาดความรู้ในการปฏิบัติเมื่อกลับไปอยู่บ้าน : อย่าแคะหรือปั่น รับประทานหรือหยอดยาตามแพทย์สั่ง
แก้วหูทะลุ (Rupture tympanic membrane)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
ได้รับความกระทบกระเทือนทำให้มีการแตกของกระดูก temporal
สียงดังมากๆ หรือใช้ของมีคมแคะหู
ติดเชื้อในหูชั้นกลางและกระดูก mastoid
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : ใช้เครื่องส่องหู (Otoscope) พบมีการฉีกขาดของเยื่อแก้วหู มีก้อนเลือดหรือตำแหน่งที่มีเลือดออก
ซักประวัติ : ประวัติแคะหู สิ่งแปลกปลอมเข้าหู ถูกตบหู มีการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่หู ปวดในช่องหู มีเสียงดังในหู อาจมีเลือดออกจากหู เคยเป็นหวัดบ่อย มีหูอื้อ ฟังเสียงไม่ชัด เคยมีน้ำไหลออกจากช่องหู เป็นๆ หายๆ
การรักษา
เยื่อแก้วหูที่ฉีกขาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร จะปิดได้เอง ขนาดใหญ่จะผ่าตัด ปะเยื่อแก้วหู (Myringoplasty)
การใช้ยา
เยื่อแก้วหูทะลุจากการติดเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะรับประทานและหยอดหู
ปัญหาและการพยาบาล
มีความบกพร่องของการได้ยิน : ระยะแรกหลังผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู แนะนำผู้ป่วยห้ามไอ สั่งน้ำมูกหรือจามแรงๆ เลี่ยงการได้ยินเสียงที่ดังมาก ให้ยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด ระวังการเกิดอุบัติเหตุ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อของหูชั้นกลาง : แนะนำผู้ป่วยไม่ให้หยอดยาใดๆ เข้าไปในหู ไม้ให้น้ำเข้าหูและไม่ต้องล้างหู
เนื้องอกที่หู (Masses or Tumor of external ear)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
มักเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (benign type) บางรายพบเป็นชนิดร้ายแรงได้ (malignant cell) โดยมากพบบริเวณ ใบหู โดยเฉพาะในผู้ชายสูงอายุ
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ : ได้ยินลดลง มีเสียงดังในหู (T innitus) ชาที่ใบหน้า เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน
ตรวจร่างกาย : ทรงตัวไม่ได้ ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว corneal reflex ลดลง สูญเสียการได้ยินชนิดประสาทนำเสียงบกพร่อง
การรักษา
follow up ในผู้สูงอายุ
ผ่าตัด แต่มีผลกระทบต่อแขนงของเส้นประสาทคู่ที่ 8 ทำให้สูญเสียการได้ยินถาวรได้ รวมทั้งทำให้เกิด cerebrospinal fluid leak, meningitis และ cerebral edema ซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้
ฉายรังสี
กระดูกหูงอกที่ฐานและกระดูกโกลน (Otosclerosis)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกหูตั้งแต่วัยเด็ก พบในผู้หญิงมาก จากกรรมพันธุ์ 40-50% ทำให้การนำเสียงเข้าสู่หูชั้นในไม่ได้ ทำให้การได้ยินลดลงเรื่อยๆ
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : ใช้ส้อมเสียง พบการนำเสียงทางกระดูกดีกว่าการนำเสียงทางอากาศ ใช้ Rinne test ถ้าได้ยินบริเวณหลังหูได้ดีกว่า หน้าหูแสดงว่าการนำเสียงผ่านกระดูกดีกว่าการนำเสียงทางอากาศ
ตรวจพิเศษ: ใช้เครื่องมือตรวจการฟัง (Audiometer) พบการเปลี่ยนแปลงของกราฟการนำเสียงผ่านอากาศ ในขณะที่กราฟแสดงการนำเสียงผ่านกระดูกปกติ
ซักประวัติ : การได้ยินลดลง แต่จะได้ยินมากดีเมื่อเสียงดังมากๆ
การรักษา
ผ่าตัดตกแต่งกระดูกหู (Stapedectomy ในรายที่ไม่ได้ผ่าตัดจะใช้เครื่องช่วยฟัง
ปัญหาและการพยาบาล
ขาดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนขณะได้รับการรักษา : หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรนอนทับแผลผ่าตัด เมื่อไม่มีอาการเวียนศีรษะและเลือดออก ให้ลุกนั่งได้ หลังผ่าตัดควรให้อาหารอ่อน เคี้ยวอาหารด้านตรงข้ามข้างที่ผ่าตัด ไม่ให้น้ำเข้าหูหรือก้มมากๆ ห้ามขึ้นเครื่องบิน งดกิจกรรมที่ออกแรงมากๆ 2 สัปดาห์
ความผิดปกติในการได้ยิน
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
หูชั้นในอักเสบ การได้รับความกระทบกระเทือน จากการประกอบอาชีพซึ่งได้รับเสียงดังมากๆ
การเปลี่ยนแปลงของ auditory nerve ในผู้สูงอายุ
เกิดจากโรคของหูชั้นใน หรือจากการผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 ทำให้หูตึง สูญเสียการได้ยินจากหูชั้นใน อาจเป็นแต่กำเนิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ปัญหาและการพยาบาล
เกิดความบกพร่องของการได้ยิน : แนะนำการใช้เครื่องช่วยฟัง
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : เยื่อแก้วหูปกติ อาจพบมีการบวมแดงของหูชั้นกลางและเยื่อแก้วหู การนำเสียงทางกระดูกดีกว่าการนำเสียงทางอากาศ
ตรวจพิเศษ: พบการเปลี่ยนแปลงของกราฟการนำเสียงผ่านอากาศ ในขณะที่กราฟแสดงการนำเสียงผ่านกระดูกปกติ
ซักประวัติ : การได้ยินค่อยๆ ลดลง ได้ยินจะดีขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีเสียงดังมากๆ หูอื้อ เวียนศีรษะ ไม่มีอาการปวด
ขี้หูอุดตัน (Cerumen impaction or impacted cerumen)
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกาย : พบขี้หูอุดตัน
ตรวจพิเศษ : ผลการตรวจ Audiogram พบการได้ยินลดลง
ซักประวัติ : หูอื้อ ปวดหู กันในช่องหู ประวัติเยื่อแก้วหูทะลุ มีการติดเชื้อของช่องหูชั้นนอก
การรักษา
ในผู้ป่วยเบาหวาน ต้องใช้น้ำยาที่สะอาดปราศจากเชื้อ
ถ้ามีขี้หูอุดตันไม่มาก ใช้เครื่องมือช่วยในการนำออก
นำขี้หูออกโดยการล้างใช้เครื่องดูดแรงดันต่ำมากๆ เพื่อป้องกันเยื่อแก้วหูทะลุ
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
ภาวะการอุดตันเป็นสาเหตุของ อาการปวดหูได้ รู้สึกหูอื้อ และรับฟังเสียงได้ลดลง พบมากในผู้สูงอายุ
ปัญหาและการพยาบาล
เกิดภาวะเนื้อเยื่อบริเวณบาดแผลไม่ประสานกันเนื่องมาจากแรงกดจากเนื้อเยื่อที่ตายไป : สอนวิธีล้างหูและหยอดยา ทำความสะอาด ไม่ทำให้ช่องหูถลอกเป็นแผลจากการแคะขี้ เช็ดทำความสะอาดเพื่อป้องกันการทำลายผิวหนังในช่องหู
ความสามารถในการรับฟังเสียงบกพร่อง : ตรวจการได้ยิน (Audiometry) ตรวจเยื่อแก้วหู (Tympanometry) ที่อาจเป็นผลมาจากการอุดตันของช่องหู ใช้คำพูดที่ชัดเจน ไม่ควรตะโกน
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign bodies of external ear canal)
สาเหตุและพยาธิสรีรภาพ
แมลง วัตถุเล็กๆ หรือน้ำเข้าไปในหู ถ้าแมลงยังไม่ตาย จะบินชนแก้วหูทำให้ปวดและรำคาญอย่างมาก
ประเมิณภาวะสุขภาพ
ซักประวัติ : หูอื้อ ปวดหู มีเสียงแมลงดิ้นในหู
ตรวจร่างกาย : ในเด็กจะเห็นว่าเอามือมาจับใบหูบ่อยๆ ตรวจหูจะพบสิ่งแปลกปลอมในช่องหู
การรักษา
ถ้าน้ำเข้าหูให้หยอดน้ำเข้าไปในหูอีก แล้วดึงใบหูไปข้างหลังหรือกดดิ่งหน้าหู เพื่อให้น้ำที่ใส่เข้าไปใหม่ไปรวมกับน้ำที่ด้างอยู่ แล้วตะแคงหูเทน้ำออก
วัตถุเล็กๆ เข้าหูให้ใช้ ear forceps คีบออก
แมลงเข้าหูให้ใช้น้ำหยอดเข้าไปในหู แมลงจะลอยออกมากับน้ำ ถ้าเป็นแมลงที่กัด ควรใช้แอลกอฮอล์ 70% หยอดลงไปฆ่าให้แมลงตายเสียก่อนแล้วคีบออก