Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการพยาบาลทารก เด็ก และวัยรุ่น การใช้กระบวนการพยาบาลในภาวะ …
หลักการพยาบาลทารก เด็ก และวัยรุ่น
การใช้กระบวนการพยาบาลในภาวะ สุขภาพดีและทุกระยะของการเจ็บป่วย
ความหมายของเด็กทางการแพทย์
เด็กแรกเกิดหรือทารกแรกเกิด (New born หรือ Neonate)
คือ เด็กตั้งแต่เกิดจนอายุ 28 วัน หรือ 1 เดือน
เด็กอ่อน หรือ เด็กทารก (Infant)
คือ เด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี
เด็กเตาะแตะ (Toddler)
คือ ช่วง 1-3 ปี
เด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กเล็ก (Preschool age)
คือ ช่วงอายุ 3-5 ปี
เด็กวัยเรียน (School age)
คือ ช่วงอายุ 6-8 ปี
เด็กโต ซึ่งเรียกว่า วัยก่อนวัยรุ่น (Preadolescence)
คือ ช่วงอายุ 9-14 ปี
เด็กวัยรุ่น หรือ วัยรุ่น (Adolescence)
คือ ช่วงอายุ 13-19 ปี
ทฤษฏีเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
เน้นให้เห็นความสำคัญด้านแรงผลักดันทางเพศ เกี่ยวกับปัญหาทางด้านจิตใจ ที่อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมของเด็ก
ฟรอยด์ได้แบ่งโครงสร้างทางจิตออกเป็น 3 ส่วน
อิด (Id)
เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา วันดานดิบของมยุษย์
อีโก้ (Ego)
ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id อาศัยกฏเกณฑ์ โดยมีเหตุและผล
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego)
จิตส่วนที่พัฒนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา แสดงออกในลักษณะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ขั้นที่ 1 Oral State
วัยทารก 0-18 เดือน
เด็กจะมีความสุขความพึงพอใจอยู่ที่ช่องปาก เริ่มตั้งแต่เกิด
เป็นวัยที่ความพึงพอใจเกิดจากการดูดนมแม่ นมขวด และดูดนิ้ว
ถ้าเด็กหิวแต่แม่ไม่ให้นมเลยหรือให้นมแต่ไม่พอทำให้เด็กไม่ได้รับการตอบสนองที่ปากอย่างเหมาะสม เด็กจะมีลักษณะนิสัยOrial Fixation ในวัยอื่นต่อไป เช่น ดูดนิ้วมือ อมหรือเคี้ยวสิ่งของเสมอ
ขั้นที่ 2 Anal State
อายุประมาณ 18 เดือน - 3 ปี
เด็กจะมีความสุชความพอใจทางทวารหนัก
เกิดจากพ่อแม่มักจะหัดให้เด็กใช้กระโถนและต้องขับถ่ายเป็นเวลาเป็นความต้องการของผู้ฝึกแต่ไม่ตรงกันกับความต้องการของเด็ก เด็กจะมีลักษณะนิสัย Anal Fixation ในวัยอื่นต่อไป เช่น เจ้าระเบียบ เจ้าสะอาดมากเกินไป ก้าวร้าว
ชั้นที่ 3 Phallic State
อายุประมาณ 3-5 ปี
เด็กมีความสุขความพอใจอยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ มักจะ
ลูบคล้ำหรือจับอวัยวะเพศของตนเองเล่น
หากไม่ได้รับการตอบสนองในการจับอวัยวะเพศของตนเองแล้ว เด็กจะมีนิสัย Phallic Fixation ในขั้นต่อไป เช่น มีความวิตกกังวลเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และในวัยนี้เด็กผู้ชายมีปมเอ็ดดิปุส (Oedipus Complex) ส่วนเด็กหญิงมีปมอีเล็คตรา (Electra Complex)
ชั้นที่ 4 Latency State
อายุประมาณ 6-12 ปี
เด็กมีความสุขความพอใจในการเล่น สมมุติบทบาท
เป็น พ่อ แม่ ลูก
หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองก็จะมี Latency Fixation ในวัยต่อไปคือไม่กล้าจะแต่งงานมีชีวิตครอบครัว กลัวความล้มเหลวในชีวิตสมรส
ชั้นที่ 5 Genetal Stage
อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
เด็กจะมีความพอใจและความต้องการตอบสนองจากเพศตรงข้าม ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่
หากเด็กไม่ได้รับความสนใจและความรู้เรื่องเพศอย่างเหมาะสมแล้วจะทำให้เด็กประสบปัญหาเรื่องเพศเป็นอย่างมาก
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของอีริคสัน
เน้นความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ
พัฒนาการบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ระยะทารก (Infancy period)
อายุ 0-2 ปี : ขั้นไว้วางใจและไม่ไว้วางใจผู้อื่น (Trust vs Mistrust)
ขั้นที่ 2 วัยเริ่มต้น (Toddler period)
อายุ 2-3 ปี : ขั้นที่มีความเป็นอิสระกับความละอายและสงสัย (Autonomy vs Shame and doubt)
ขั้นที่ 3 ระยะก่อนไปโรงเรียน (Preschool period)
อายุ 3-6 ปี: ขั้นมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด
(Initiative vs Guilt)
ขั้นที่ 4 ระยะเข้าโรงเรียน (School period)
อายุ 6-12 ปี: ขั้นเอาการเอางานกับความมีปมด้อย
(Industry vs Inferiority)
ขั้นที่ 5 ระยะวัยรุ่น (Adolescent period)
อายุ 12-20 ปี: ขั้นการเข้าใจอัตลักษณะของตนเองกับไม่
เข้าใจตนเอง (Identity vs role confusion)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้นพัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ
ขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์แบ่งออกเป็น 4 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor stage)
อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี
เป็นวัยที่เด็กจะเริ่มเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของร่างกายเพื่อตอบสนองสิ่งแวดล้อม เช่น การจับ การดูด การมองและการฟัง
ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดแบบมีเหตุผล (preoperational stage)
อยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี
เด็กจะเริ่มเรียนรู้และ เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆพัฒนาการทางภาษาสามารถพูดเป็นประโยค ใช้คำพูดอธิบายวัตถุที่เห็น
ขั้นที่ 3 ขั้นการคิดแบบมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (concrete operational stage)
อยู่ในช่วงอายุ 7-11 ปี
สามารถใช้เหตุผลในการ
ตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ขั้นที่ 4 ขั้นการคิดแบบมีเหตุผลเชิงนามธรรม (formal operational stage)
อายุตั้งแต่ 11 ปี
จนถึงวัยผู้ใหญ่
เด็กจะเริ่มคิดได้แบบผู้ใหญ่ สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ได้เป็นตัวของตัวเอง ต้องการความเป็นอิสระรู้จักการใช้เหตุผลของตนในการทำความเข้าใจและตัดสินสิ่งต่าง ๆ และคิดย้อนกลับไปมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
โคห์ลเบิร์กได้สรุปทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคล ออกเป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 ระดับก่อนเกณฑ์ทางสังคม (Pre - conventional Level)
ช่วงอายุ 4-7 ปี
ขั้นของการลงโทษและเชื่อฟัง + ขั้นแสวงหารางวัล
ระดับที่ 2 ระดับแสดงจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ของสังคม (Conventional Level)
ช่วงอายุ 7-11 ปี
ขั้นทำตามเพื่อเพื่อนและสิ่งที่สังคมยอมรับ + ขั้นกฎเกณฑ์และระเบียบ
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ทาง สังคม (Post-conventional Level)
ช่วงอายุ 12 ปีขึ้นไป
ขั้นทำตามสัญญา + ขั้นอุดมคติสากล
ปฏิกิริยาต่อการเจ็บป่วยระยะเรื้อรัง
โรคเรื้อรัง (Chronicdisease)
โรคที่เมื่อเริ่มเกิดอาการหรืออาจไม่มีอาการแต่อาการจะค่อยรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมือไม่ได้รับการรักษาการมักเกิดต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป
ปฏิกิริยาของเด็กที่มีต่อการ
เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์
มีท่าทีต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์ของตนเอง
มีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น กลัวตาย ทำให้ทุพพลภาพของร่างกายทำให้เสียโฉม ปฏิเสธ ไม่รักร่างกายของตนเอง
เศร้าโศก เสียใจ สูญเสียภาพลักษณ์
การดูแล
ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงความรู้สึกและปรับตัวพยาบาลจะต้องอธิบายให้บิดามารดาเข้าใจ ปฏิกิริยาที่เด็กแสดงออกและช่วยให้เด็กและ ครอบครัวปรับตัวยอมรับภาพลักษณ์ของตนเองในแง่ดี เพื่อจะได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย,ใกล้ตาย
เป็นระยะที่ได้รับการวินิจฉัยการเจ็บป่วยถึงขั้นสูญเสียชีวิตภายใต้การรักษาด้วยยา การดูแลอย่างใกล้ชิด และพยากรณ์โรคว่าสามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน หรือน้อยกว่า
การรับรู้เกี่ยวกับความตายของเด็กแต่ละช่วงวัย
เด็กแรกเกิด - 2 ขวบ
ไม่เข้าใจเรื่องของความตาย
อายุ 3-6 ปี
คิดว่าตายและจะกลับมาได้อีกคิดว่าเป็นการถูกลงโทษด้วยการให้มีการตายเกิดขึ้น
อายุ 6-9 ปี
เริ่มเข้าใจว่าความตายคือการสิ้นสุดของชีวิต
แต่ยังเข้าใจไม่ถูกต้องทั้งหมด
อายุ 9-12 ปี
หมกมุ่นหรือสนใจอยู่กับการเจ็บป่วยทางกายที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ตายได้ กังวลกับผลที่จะเกิดขึ้นจากการตายของคนในครอบครัว
วัยรุ่น
เข้าใจและรับรู้ความเป็นจริงเกี่ยวกับความตายได้อย่างผู้ใหญ่ รับรู้ว่าความตายว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ หลีกเลี่ยงไม่ได้
การดูแลผู้ป่วยเด็ก
จัดให้อยู่ในมุมที่เงียบสงบ
ดูแลให้ได้รับความสุขสบายให้มากที่สุดหรือทุกข์ทรมานน้อยที่สุด
ให้ครอบครัวได้อยู่กับผู้ป่วย
ปฏิบัติกิจตามความเชื่อ
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการใดๆ ที่ไม่จำเป็นและอาจท่อให้เกิดความเจ็บปวดผู้ป่วยเด็ก
แนวคิดหลัก Family - centered care
การให้เกียรติและการเคารพ
(Dignity and Respect)
รับฟังมุมมองและทางเลือก ของผู้ป่วยและครอบครัว
การแลกเปลี่ยนข้อมูล
(Information sharing)
ติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างครบถ้วนและ
ไม่มีอคติ เพื่อให้เห็นพ้องกันและเกิดประโยชน์
การมีส่วนร่วม
(Participation)
กระตุ้นและให้การสนับสนุนผู้ป่วยและครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและตัดสินใจในสิ่งที่เลือก
ความร่วมมือกัน
(Collaboration)
การออกแบบการให้บริการสุขภาพ
การให้การดูแลทางด้านสุขภาพ
Effective Helpgiving Practices
Technical quality
Helpgiver traits
Participatory involvement
ประโยชน์
ครอบครัวเกิดความมั่นใจ มีศักยภาพในการดูแลเด็ก
ค่าใช้จ่ายในการดูแลลดลง
การพึ่งพาของครอบครัวต่อบุคลากรทีมสุขภาพลดลง
เด็ก คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ที่ต้องได้รับสิทธิคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
สิทธิการมีชีวิตอยู่รอด (Right of Survival)
เริ่มตั้งแต่เมื่อแรกเกิด เด็กๆมีสิทธิที่จะมีชีวิตรอด ได้รับการจดทะเบียนเกิด มีสิทธิที่จะมีชื่อ ได้สัญชาติ และได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน
สิทธิในการได้รับการคุ้มครอง (Right of Protection)
ได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ได้รับการคุ้มครองจากการค้ามนุษย์ การขายและการลักพาเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ การทำงานอันตราย หรือขัดขวางการศึกษา
สิทธิในการพัฒนา (Right of Development)
ต้องได้รับบริการพัฒนาปฐมวัย และได้รับ
การศึกษาอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาความสามารถทั้งด้าน
ร่างกายและจิตใจ
สิทธิในการมีส่วนร่วม (Right of Participation)
มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มตัว ทั้งการแสดง
ความคิดเห็นได้อย่างเสรี สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้แสดงความคิดเห็น
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเจ็บป่วยระยะเฉียบพลันและวิกฤติ
Separation anxiety
ระยะประท้วง (protest)
ระยะสิ้นหวัง (despair)
ระยะปฏิเสธ (denial)
Loss of control
Pain
Types of pain
Time approach
1.1 Acut pain
1.2 Chronic pain
Mechanism approach
2.1 Nociceptive pain
Somatic pain
Visceral pain
2.2 Neuropathic pain
Pain measurement tools
Neonatal Infant Pain Scale (NIPS)
อายุแรกเกิด - 1 ปี
คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 คะแนน
The Children's Hospital of Eastern Ontario PainScales (CHEOPS)
อายุ1-6 ปี
คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 8 คะแนน
Face, legs, activity, cry, sonsolability scale (FLACC scale)
อายุ1-6 ปี และความผิดปกติของสมอง
คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 คะแนน
Numneric rating scales (NRS)
อายุมากกว่า 6 ปี
คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 8 คะแนน
Face pain scale (FPS)
ไม่สามารถใช้เครื่องมืออื่นได้
มากกว่าหรือเท่ากับ 4 คะแนน
ภาวะเจ็บป่วยวิกฤตในเด็ก
ภาวะเจ็บป่วยในเด็กที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดและเหรือเกิดจากการกำเริบของโรคเรื้อรัง ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะในร่างกายมากกว่าหนึ่งระบบสูญเสียหน้าที่ให้เกิดดวามเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต
Critical Care Nursing
Critical Care environment
Critical Care nurse
Critical Care patient
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤต
ประเมินปัญหา วางแผนให้การพยาบาล และปฏิบัติการพยาบาลเขื่อแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและเป็นองค์รวม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยเด็กมีชีวิตรอด ร่างกายมีการทำงานเป็นปกติปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
ปฏิกิริยาของบิดามารดาต่อการเจ็บปวยของเด็ก
การปฏิเสธ และไม่เชื่อ ในระยะแรก
ความรู้สึกโกรธและโทษตัวเอง เมื่อรู้แน่ชัดว่าเด็กป่วยจริง
ความรู้สึกกลัว และวิตกกังวล
บทบาทของพยาบาลในการดูแลเด็กในภาวะวิกฤติ
การประเมินผู้ป่วย
การดูแลให้เกิดความสุขสบายด้านร่างกาย เชื่อส่งเสริมให้ระบบต่าง ๆของผู้ป่วยทำงานได้อย่างปกติ
การจัดการสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมภายในหอผู้ป่วยเชื่อไม่กระตุ้นให้เกิดความเครียดกับผู้ป่วย เช่น ความสะอาด แสง สึ เสียง
ดูแลเพื่อให้เกิดความสุขสบายด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ
ปฏิกิริยาของเด็กต่อการเจ็บป่วยภาวะวิกฤติ
วิตกกังวลเนื่องจากการแยกจาก
พฤติกรรมถดถอย
โกรธและก้าวร้าว
แยกตัว และสิ้นหวัง ปฏิเสธ
นอนหลับไม่เพียงพอ