Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน, องค์ประกอบ…
การบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
แหล่งเรียนรู้มีความสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างมาก เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริง แหล่งเรียนรู้จะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ คือ บุคคล สถานที่ ธรรมชาติ ภูมิปัญญาการประกอบอาชีพ เป็นต้น ซึ่งแหล่งเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้เอง นับเป็นขุมทรัพย์มหาศาลของความรู้ที่มีอยู่ แหล่งการเรียนรู้เหล่านั้น มีทั้งที่อยู่ในโรงเรียนและอยู่ในชุมชน
สรุปได้ว่า แหล่งเรียนรู้ หมายถึง สถานที่หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอนที่มีรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและเสริมสร้างประสบการณ์ในการดำรงชีวิต พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ
แหล่งการเรียนรู้ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ครู ปราชญ์ ผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักการศึกษา นักวิจัยผู้ประกอบการต่าง ๆ
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด สถานประกอบการต่าง ๆ ศาสนสถาน แปลงเกษตร สถานที่ทางธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ และสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สื่อทางคอมพิวเตอร์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
การบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาตามหลักการบริหาร 4 M's
แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีทั้งภายในและภายนอกเรียน ซึ่งการที่จะให้มีผลเชิงคุณภาพต่อผู้เรียนอย่างแท้จริงต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดี และการมีส่วนร่วมจากบุคลากรทุกฝ่าย
บุคลากร (Man) คือ ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่สำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ทุกคน นักเรียนทุกคน ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงาน/องค์การต่าง ๆ
งบประมาณ (Money) คือ การบริหารจัดการงบประมาณให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ามากที่สุด โดยแหล่งที่มาของงบประมาณ คือ เงินนอกงบประมาณและเงินงบประมาณ โดยใช้จ่ายตามระเบียบของทางราชการ
ทรัพยากร (Materials) คือ การบริหารจัดการทรัพยากรหรือแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยมีการจัดทำทะเบียนเพื่อสะดวกในการบริหารจัดการได้ครอบคลุมครบถ้วนและเกิดประโยชน์สูงสุดจัดได้ดังนี้ แหล่งเรียนรู้ของราชการ เอกชน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน โดยการพัฒนาของเดิมหรือสร้างใหม่ และจัดเก็บเป็นระบบโดยแยกเป็นสื่อธรรมชาติและสื่อเทคโนโลยี
การบริหารจัดการ (Management) คือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ/โครงการของสถานศึกษา โดยการตั้งทีมบริหารเพื่ออำนวยการและสนับสนุน การจัดตั้งทีมครู - นักเรียน เพื่อดำเนินการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดผลคุ้มค่า ยังยืน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เกิดประโยชน์กับผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทของผู้บริหารในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการสนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานที่เกิดจากการใช้แหล่งเรียนรู้
บทบาทด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ดูแล และประเมิน
การนำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือท้องถิ่นมาใช้ในสถานศึกษา
การนำแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือท้องถิ่นมาใช้ในสถานศึกษา ครูควรออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงหลักสูตรในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบ และศึกษาทะเบียนแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อเลือกให้ใช้แหล่งเรียนรู้ตามความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ/ตัวชี้วัด เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งยอมส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยให้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นได้คงอยู่คู่กับชุมชนและท้องถิ่นต่อไป
การนำแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
การนำแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ เพื่อให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างคุณลักษณะนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการ ตามความสนใจ และความถนัด และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยผู้สอนและผู้เรียนควรได้มีโอกาสช่วยกันออกแบบและพัฒนากิจกรรมที่จะได้ใช้การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน
องค์ประกอบ ระบบและกระบวนการ จัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อการบริหารและการเรียนรู้
องค์ประกอบของนวัตกรรม
จากประเด็นที่เป็นแก่นหลักสำคัญของคำนิยาม องค์ประกอบที่เป็นมิติสำคัญของนวัตกรรม มีอยู่ 3 ประการ คือ
ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้
ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้น ๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้
การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ การทำซ้ำ เป็นต้น
กระบวนการของนวัตกรรม
กระบวนการของนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ หลายประการ
การค้นหา (Searching)
เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
การเลือกสรร (Selecting)
เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
การนำไปปฏิบัติ (Implementing)
เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก 4 ประการ ดังนี้
ขั้นตอนของนวัตกรรม
การคิดค้น (Invention) เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม
การพัฒนา (Development) เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข
ขั้นนำไปใช้จริง (Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม
ขั้นเผยแพร่ (Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการจำหน่าย
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) คือ การนำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผลเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษา
การบริหารสถานศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์และยุคของการปฏิรูปการศึกษาและการกระจายอำนาจทางการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ระดับสถานศึกษา ส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้ความสามารถและอำนาจในการตัดสินใจ และต้องมีภาวะผู้นำ มีความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ
ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีเครื่องมือในการบริหารจัดการ นวัตกรรม เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการบริหารสถานศึกษาไปสู่เป้าหมาย การบริหารสถานศึกษาแนวใหม่จึงจำเป็นต้องนำนวัตกรรม มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรม เพื่อจะได้เห็นความสำคัญและความสัมพันธ์กับการบริหารสถานศึกษาต่อไป
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) เป็นรูปแบบและแนวคิดการบริหารที่ต้องการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง หรือจากเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรง ทำให้สถานศึกษามีอำนาจและความรับผิดชอบในการบริหารตนเองในลักษณะเชิงเบ็ดเสร็จ มีความคล่องตัวและอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจสั่งการเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในทุกด้านที่เกี่ยวกับภารกิจทั้งในด้านวิชาการและหลักสูตร การเงินและการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management)
เป็นการบริหารโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์หรือความสัมฤทธิ์ผลเป็นหลักใช้ระบบการประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัดเป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นและแสดงผลงานต่อสาธารณะ
การประกันคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษา
คุณลักษณะของการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานว่ามีความสอดคล้องกับที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้มารับบริการอันได้แก่ นักเรียน และผู้ปกครอง อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของสังคมที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมากกับตัวผู้เรียนและครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา มีวิธีการสอน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อชวยในการเรียนการสอนมากขึ้น ลดปัญหาการขาดแคลนครูและมีการประสานความร่วมมือระหว่างครูนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น มีการเรียนการสอนการนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน ชวยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่างมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาให้สมัยใหม่ การทันต่อเหตุการณ์ และช่วยในการวางแผนการทำงานของผู้บริหาร