Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพของระบบผิวหนัง - Coggle Diagram
การประเมินภาวะสุขภาพของระบบผิวหนัง
การซักประวัติ
อาการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป ตำแหน่งที่เริ่มเป็น
ระยะเวลาที่เป็น เป็นมานานกี่วัน ช่วงไหนที่ทำให้เกิดอาการมากที่สุด
อาการที่เกิดร่วมด้วย
ประวัติการสัมผัสยา สารเคมี และสิ่งกระตุ้นต่างๆ
ประวัติการแพ้ยา ภูมิแพ้ และโรคประจำตัว
อาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี ที่อาจทำให้แพ้
การตรวจรางกาย
ลักษณะของสีผิว (color)
1.ลักษณะของสีผิวที่ผิดปกติ
สีผิวซีด สังเกตไดที่บริเวณใบหนา เยื่อบุตา (Conjunctiva) ปาก เล็บแสดงถึงการไหลเวียนของโลหิต
สีขาวเผือก บริเวณผิวหนังทั่วไป เกิดจากการขาดเม็ดสี
สีเหลือง เฉพาะบริเวณฝามือและฝาเทา
สีเหลือง บริเวณตาขาว เยื่อบุตาง ๆ และผิวหนังทั่วไป
สีน้ำตาล ผิวหนังที่เป็นสีน้ำตาลทั่วรางกาย แสดงว่าเป็นกรรมพันธุแต่ถ้าผิวหนัง สีน้ำตาลเฉพาะบางส่วน อาจเกิดจากถูกแสงแดดเป็นเวลานาน
สีเขียวคล้ำบริเวณริมฝีปากและเล็บ แสดงว่าบริเวณนั้นได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
สีแดง บริเวณใบหน้าอกส่วนบน หรือบริเวณที่มีการอักเสบ
เม็ดผื่นและตุ่ม (Skin lesion) ดูลักษณะรอยโรค (Lesion) แบ่งออกเป็น 3 แบบ
2.1 Primary lesion เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiologic change) ของโรค
โดยตรง ได้แก่
Macule เป็นผื่นที่เกิดขึ้นเป็นจุดๆ มีการเปลี่ยนสี
Patch มีลักษณะเหมือน Macule
Papule เป็นตุ่มนูนขึ้นมาบนผิวหนัง
Nodule เป็นตุ่มนูนขึ้นมาบนผิวหนังและลึกลงไปใต้ผิวหนังชั้น Dermis มากกว่า Papule
Tumor เป็นก้อนเนื้องอกนูนขึ้นมาบนผิวหนัง
Wheal เป็นการบวมของผิวหนังชั้นตื้นเฉพาะที่
Vesicle เป็นตุ่มน้ำใส มีสารน้ำ (serous fluid) ขังอยู่ภายใน
Bullae หรือ Bleb เป็นตุ่มใสมีของเหลวอยู่ภายในขนาดใหญ่
Pustule ตุ่มที่มีหนองอยู่ภายใน
2.2 Secondary Lesion คือรอยโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจาก Primary lesion อาจเป็นผลโดยตรง
จากการเกา การติดเชื้อหรือจากภาวะอื่นๆ
Erosion เป็นรอยลอกเป็นแผลตื้น ๆ
Ulcer เป็นแผลลึกที่ชั้นเอพิเดอร์มีสและเดอร์มีสถูกท าลาย เช่น แผลเรื้อรัง แผลกดทับ
Fissure เป็นรอยแตกผิวหนังถึงชั้นเดอร์มีส เกิดจากผิวแห้ง
Crust เป็นซีรั่ม หนอง หรือเลือด
Scale เป็นขุยหรือแผลสะเก็ดบางๆ ของชั้นเอพิเดอร์มีส
Scar รอยแผลที่เกิดจากการแทนที่ของเนื้อเยื่อที่ตาย
Keloid เป็นแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่เด่นนูนอยู่เหนือบริเวณที่เคยมีแผลนั้น
2.3 Special lesion คือรอยโรคที่มีโครงสราง หรือการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะพิเศษ
Cyst เป็นถุงน้ำหรือถุงของเหลวใต้ชั้นหนังแท้และชั้นไขมัน
Comedone การอุดตันของไขมันและเคอราติน
Petechiae เป็นจุดเล็กๆ สีแดงที่ผิวหนัง
Ecchymosis เป็นรอยจ้ำเลือด
Spider angioma หรือ Spider nervi มีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ยื่นออกมารอบๆ
Cherry angioma รูปร่างกลมบางครั้งนูน
อุณหภูมิของผิวหนัง (Temperature) ตรวจสอบความ
อุ่น ร้อน เย็น
ความชุ่มชื้น (moisture) คลำว่าผิวหนังแหงหรือชุมชื้น
ลักษณะผิว (Skin texture) เป็นความรู้สึกในการคล าผิวหนังเมื่อสัมผัสกับผิวหนังจะพบวา ลักษณะผิวหนัง
ออนนุม หยาบ ละเอียด เรียบ เหี่ยวย่น
การตรวจผมและขน
ความสะอาด ตรวจดูวาผมและหนังศีรษะสะอาด
สีของผมและขน
จำนวนและการกระจายของผม
ลักษณะของเส้นผม
การตรวจเล็บ
โดยต้องสังเกตสีของเล็บ รูปร่างและขนาดของเล็บ รอยโรคบริเวณรอบๆเล็บ
Spoon nail คือ ลักษณะที่มุมขอบลางเล็บและโคนเล็บน้อยกวา160 องศา
Beau’s lines คือลักษณะเล็บเป็นร่องๆ
Paronychia เป็นการอักเสบของผิวหนังรอบๆ
Clubbing finger หรือนิ้วปุ้ม
การตรวจศีรษะและคอ (Head and neck)
การตรวจศีรษะ
ใช้เทคนิคการดูและการคลำ ดูรูปร่างและขนาดของศีรษะ
การตรวจใบหน้า
ใช้เทคนิคการดูและการคลำ สังเกตความสมมาตรของใบหน้า การเคลื่อนไหวต่างๆบน
ใบหน้า และตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า
การตรวจตา
ตรวจตำแหน่งตา ลูกตา และบริเวณรอบดวงตา
ตรวจความใสของกระจกตา (Cornea)
การตรวจตาขาวและเยื่อบุลูกตา (sclera and conjunctiva)
ตรวจความสามารถในการมองเห็น (visual acuity)
ตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตา
ตรวจลานสายตา (visual field)
ตรวจปฏิกิริยาของรูม่านตา (pupils)
การตรวจจมูกและโพรงอากาศ
ดูจมูกว่าบิดเบี้ยว หรือไม่ ดูปีกจมูกว่าอักเสบบวมแดงหรือไม่ สังเกตดูเยื่อบุจมูกว่าบวมแดง มีสิ่งคัดหลั่ง
ผิดปกติหรือไม่
ใช้นิ้วมือคลำบริเวณสันจมูก ปีกจมูกและบริเวณข้างเคียง
การตรวจหู
การดู: ขนาดและระดับใบหูทั้งสองข้าง ปกติจะอยู่ระดับเดียวกับตา
การคลำ : ผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วคลำใบหูเพื่อประเมินว่ามีก้อน กดเจ็บหรือไม่
การทดสอบการได้ยิน (Hearing test)
การทดสอบการกระซิบ (Whispering test) พยาบาลยืนห่างจากผู้รับบริการ 2 ฟุต
การทดสอบการได้ยินเสียงผ่านอากาศและกระดูก แบ่งเป็น 2 วิธี
1) Weber test ทดสอบโดยเคาะซ่อมเสียงให้สั่น แล้วนำปลายด้ามจับของซ่อมเสียงไปวางที่กึ่งกลาง
ศีรษะหรือหน้าผากของผู้รับบริการ
2) Rinne' s test โดยให้ผู้รับบริการปิดหูข้างหนึ่ง (ข้างที่ไม่ต้องการตรวจ) ใช้ซ่อมเสียงขนาด 256
หรือ 512 ครั้ง/วินาที เคาะให้สั่นแล้วใช้โคนซ่อมเสียงวางบริเวณ Mastoid process
การตรวจปากและช่องปาก
ริมฝีปาก
เยื่อบุปาก
เหงือกและฟัน
เพดานปาก
ลิ้น
ทอลซิล และผนังคอ
การตรวจคอ
ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid โดยให้ผู้รับบริการก้มหน้าจนคางชิดอก เอียงศีรษะหัน
หน้าซ้ายและขวา การดูกล้ามเนื้อ trapezius
การตรวจหลอดลมคอ (trachea)
ใช้นิ้วชี้วางที่ต าแหน่ง supra sternal notch แล้วลากเป็นแนวตรงสังเกตว่าลากได้ตามแนวตรง หรือเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ ปกติจะลากได้ตามแนวตรง
การตรวจต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
ดูลักษณะความเท่าเทียมกันของทั้งสองข้าง ดูก้อนนูนที่ผิดปกติ
การตรวจต่อมน้ำเหลือง (Lymphnode)
ตรวจหาขนาด ความยืดหยุ่น การยึดติดกับเนื้อเยื่อ การอักเสบ และผิวหนังที่ปกคลุม
การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับระบบผิวหนัง
Patch test เป็นการทดสอบสาเหตุของการเกิด Contact dermatitis
Potassium hydroxide (KOH) examination เป็นการตรวจรอยโรคที่มีขุย (Scale)
Tzanck test เป็นการตรวจสอบโรคที่เป็น Vesicle และสารคัดหลั่ง (Discharge)
Wood’s lamp examination เป็นการฉายหลอดแสงอุลตร้าไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 365 mn (UVA)
Biopsy เป็นการตัดชิ้นส่วนของผิวหนังที่สงสัยว่าเป็นโรคแล้วส่งชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ