Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดทฤษฎีหลักการพยาบาลทารก เด็ก และวัยรุ่น ในภาวะปกติและเจ็บป่วย -…
แนวคิดทฤษฎีหลักการพยาบาลทารก เด็ก และวัยรุ่น ในภาวะปกติและเจ็บป่วย
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
แบ่งโครงสร้างทางจิตออกเป็น 3 ส่วน
1.Id ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 2.Ego ตัวควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id 3.Superego มโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์
แบ่งเป็น 5 ขั้น 1.oral state ความพึงพอใจอยู่ที่ช่องปาก (0-18 เดือน) 2.Anal state ความสุขอยู่ที่ทวารหนัก (18 เดือน-3 ปี) 3.Phallic state ความพอใจอยู่ที่อวัยวะเพศ (3-5 ปี) 4.Latency state ความพอใจในการเล่น (6-12 ขวบ) 5.Genetal state ความต้องการเพศตรงข้าม (12 ปีขึ้นไป)
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของอีริคสัน
เน้นความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบที่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
พัฒนาบุคลิกออกเป็น 8 ขั้น 1.ทารก 2.วัยเริ่มต้น 3.ก่อนไปโรงเรียน 4.ระยะเข้าเรียน 5.ระยะวัยรุ่น 6.วัยทำงาน 7.วัยผู้ใหญ่ 8.วัยชรา
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ
แบ่งออกเป็น 4 ขั้น 1.ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (แรกเกิด-2 ปี) 2.ขั้นก่อนการคิดแบบมีเหตุผล (2-7 ปี) 3.ขั้นการคิดแบบมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (7-11 ปี) 4.ขั้นการคิดแบบมีเหตุผลเชิงนามธรรม (11 ปีขึ้นไป)
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
พัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลออกเป็น 3 ระดับ 1.ระดับก่อนเกณฑ์ทางสังคม 2.ระดับแสดงจริยธรรมตามกฎ 3.ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์
ปฏิกิริยาต่อการเจ็บป่วยระยะเรื้อรัง
โรคที่เมื่อเริ่มเกิดอาการ อาจไม่มีอาการแต่อาการจะค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาการมักเกิดต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป
การดูแล
ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงความรู้สึกและปรับตัว ต้องอธิบายให้บิดามารดาเข้าใจปฏิกิริยาที่เด็กแสดงออกและช่วยให้เด็กและคีอบครัวปรับตัวยอมรับภาพลักษณ์ของตนเองในแง่ดี
การเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ใกล้ตาย
เป็นระยะที่ได้รับการวินิจฉัยการเจ็บป่วยถึงขั้นสูญเสียชีวิตภายใต้การรักษาด้วยยา การดูแลอย่างใกล้ชิด และพยากรณ์โรคว่ามีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน หรือน้อยกว่า
การรับรู้เกี่ยวกับความตายของเด็กแต่ละวัย
เด็กแรกเกิด ไม่เข้าใจเรื่องการตาย
อายุ3-6 ปี คิดว่าตายและจะกลับมาได้อีก
อายุ6-9 ปี เริ่มเข้าใจว่าความตายคือการสิ้นสุดของชีวิต
อายุ9-12 ปี หมกมุ้นหรือสนใจอยู่กับการเจ็บป่วยทางกายที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ตายได้
วัยรุ่น เข้าใจและรับรู้ความเป็นจริงเกี่ยวกับความตายได้อย่างผู้ใหญ่
การดูแล
การช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับ ความสุขสบายเมื่อได้รับการหยุดการรักษาแล้วในวันสุดท้ายของชีวิต
การดูแลแบบครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดหลัก 1.การให้เกียรติและการเคารพ 2.การแลกเปลี่ยนข้อมูล 3.การมีส่วนร่วม 4.ความร่วมมือกัน
Effective Helpgiving 1.Technical quality 2.Helpgiver traits/attributions 3.Participatory involvement
สิทธิเด็ก 4 ด้าน 1.สิทธิการมีชีวิตอยู่รอด 2.สิทธิในการได้รับการคุ้มครอง 3.สิทธิในการพัฒนา 4.สิทธิในการมีส่วนร่วม
ความวิตกกังวลจากการพรากจาก 1.ระยะประท้วง 2.ระยะสิ้นหวัง 3.ระยะปฏิเสธ
Types of pain 1.Time approach 2.Mechanism approach
1.Neonatal Infant Pain Scale 2.CHEOPS 3.FLACC scale 4.Numeric rating scales 5.Face pain scale